20 ก.พ. 2019 เวลา 10:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิเคราะห์อัลกอริทึ่มของ Blockdit (ตอนที่3)
หลังจากที่ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้วถึง2ตอนตามลิงค์ด้านล่าง
มาถึงตอนที่3 ผมจะวิเคราะห์สิ่งที่ผมสังเกตเห็นจากการใช้งานแอป Blockdit ทุกวันต่อเนื่องมาตลอด3เดือนที่ผ่านมาทั้งในฐานะผู้เขียนและผู้อ่านครับ
ผมต้องขอออกตัวเช่นเคยว่าสิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตต่อไปนี้อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ถือว่าชวนคุยกันครับ
Blockdit มีอัลกอริทึ่มในการเปลี่ยนสถานะจากบทความ “ปกติ” เป็นบทความในหมวด “Following” และ “Popular” อย่างไร?
หากคุณเปิดแอป Blockdit ขึ้นมา แล้วกดไปที่เมนู “รูปบ้าน” ที่มุมล่างซ้ายของจอ คุณจะเห็นแถบ2แถบด้านบนที่ชื่อ “Following” กับ “Popular”
ถ้าคุณกดไปที่แถบที่ชื่อ “Following” แอปจะแสดงบทความของเพจและบล็อกส่วนตัวทั้งหมดที่คุณเคยกด “Follow” เอาไว้
แต่ทว่ามีบทความของเพจและบล็อกส่วนตัว “บางบทความ” ที่คุณไม่เคยกด “Follow” เอาไว้ แต่กลับมาโผล่ที่แถบ “Following” นี้ ภายใต้หัวข้อที่ชื่อว่า “Recommended Post” ด้วย ตรงนี้ผมไม่ทราบจริงๆว่าระบบใช้อัลกอริทึ่มอะไรคำนวณให้เพจหรือบล็อกส่วนตัวมาโผล่ที่หัวข้อนี้
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ บทความของเพจหรือบล็อกส่วนตัวที่มาปรากฏที่แถบ “Following” ภายใต้หัวข้อ “Recommended Post” นั้น กลับไปปรากฏอยู่ในแถบ “Popular” ด้วย ซึ่งผมมองว่าตรงนี้ค่อนข้างซ้ำซ้อน และน่าคิดว่า Blockdit มีเหตุผลอะไรในการทำแบบนี้
ทีนี้มาที่แถบ “Popular” บ้างครับ จากการสังเกต บทความที่มียอดไลค์เพียง10กว่าไลค์ก็สามารถมาอยู่ในหมวดนี้ได้ ผมคิดว่าระบบน่าจะคำนวณจากค่า Engagement ที่สูงระดับนึงถึงค่าที่ระบบกำหนดไว้เบื้องต้น ที่เกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆหลังจากผู้เขียนโพสบทความไปแล้ว
บทความที่แสดงอยู่ในแถบ “Popular” จะถูกแช่อยู่ในนั้นถาวรหรือไม่?
เท่าที่ผมลองเลื่อนย้อนหลังไปดูบทความเก่าๆที่อยู่ในแถบ “Popular” มาแล้วหลายวัน ดูเหมือนบทความที่แสดงอยู่ในแถบ “Popular” จะแช่อยู่ในนั้นถาวร แต่ลำดับในการเรียงบทความอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอัลกอริทึ่มที่ระบบเซ็ตไว้ ตอนแรกผมคิดว่ามันจะเรียงลำดับบทความตามวันที่โพสบทความ แต่กลับไม่ใช่ครับ
Edit. บทความที่อยู่ในแถบ Popular อาจถูกถอดได้ถ้าค่า Engagement ไม่สูงพอ
ทำไม Blockdit ตั้งค่าไม่ให้ผู้อ่านมองเห็นว่าใครเป็นคนกดไลค์บทความบ้าง แต่กลับให้เจ้าของบทความเองมองเห็นได้?
ด้วยความเคยชินกับการเล่น facebook ผมสามารถมองเห็นได้เลยว่าใครบ้างเป็นคนกดไลค์โพสแต่ละโพสใน facebook
แต่ Blockdit กลับออกแบบเรื่องนี้ในมุมมองที่ต่างกัน ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการรักษา “ความเป็นส่วนตัว” ของผู้อ่านแต่ละท่านไม่ให้โลกรู้ว่าท่านชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไร หรือในอีกมุมอาจจะคิดได้ไหมว่าอาจมีคนไม่ประสงค์ดีที่คอยแอบติดตามท่านผู้อ่านบางท่านอยู่ด้วยเหตุผลนานับประการ
เนื่องจากผู้อ่านบางท่านใช้ชื่อและนามสกุลจริงเป็น "ชื่อผู้ใช้งาน" ทาง Blockdit จึงออกแบบระบบแบบนี้มาป้องกันเอาไว้ใช่หรือไม่
ทำไม Blockdit ถึงไม่ให้ผู้เขียนบทความมองเห็นว่าใครบ้างที่กดไลค์ความคิดเห็นใต้บทความของผู้เขียนเอง?
ตรงนี้ผมไม่ค่อยเข้าใจ เพราะตรรกะมันดูย้อนแย้งกับคำถามก่อนหน้านี้ที่ระบบยอมให้ผู้เขียนเห็นว่าใครบ้างที่กดไลค์บทความของผู้เขียนเอง แต่กลับไม่ให้ผู้เขียนเห็นว่าใครกดไลค์ความคิดเห็นใต้บทความของผู้เขียน ผมนึกเหตุผลไม่ออกจริงๆครับ
ทำไม Blockdit ยอมให้ผู้เขียนกดไลค์บทความของตัวเอง รวมถึงกดไลค์ให้ความคิดเห็นใต้บทความของตัวเองได้?
ถ้าจะเทียบกับ facebook ตรรกะของเรื่องนี้ใน Blockdit ก็เหมือนกัน จริงๆเรื่องนี้ผมก็เคยคิดถึงเหตุผลนะว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราจะกดไลค์ให้โพสที่ตัวเองโพสบ้าง อาจเป็นการให้กำลังใจตัวเองอะไรแบบนี้หรือเปล่า แต่ถ้าเป็นใน facebook บางทีมันดูตลกที่เราจะไปกดไลค์โพสของตัวเอง (ในขณะที่คนอื่นมองเห็นว่าเราคลิกไลค์โพสของตัวเอง) บางทีอาจมีเหตุผลอื่นๆที่น่าสนใจก็ได้ครับ
อย่างไรก็ตาม การอนุญาตให้ผู้เขียนกดไลค์บทความของตัวเองได้นั้น อาจเป็นวิธีการสร้างกำลังใจอย่างหนึ่งให้ตัวผู้เขียนเอง ซึ่งถ้าผู้เขียน1คน มีโปรไฟล์ 2 อันที่เป็น “บล็อกส่วนตัว” กับ “เพจ” เท่ากับว่าผู้เขียนมี 2ไลค์อยู่ในกระเป๋าตั้งแต่เริ่มโพสบทความนั้นๆแล้ว ผมก็ไม่ทราบว่ามีเหตุผลอะไรที่ Blockdit อนุญาตให้ผู้เขียนทำแบบนี้ได้ครับ
นอกจากนี้ การอนุญาตให้ผู้เขียนกดไลค์ความคิดเห็นใต้บทความของผู้เขียนเอง อาจทำให้ผู้เขียนสามารถ “Manipulate” หรือ “ควบคุม” โทนของความคิดเห็นใต้บทความของผู้เขียนได้ เช่น ถ้าความคิดเห็นใต้บทความของผู้เขียนนั้น มีผู้อ่านหลายคนมาโพสทั้งในลักษณะที่ “เห็นด้วย” และ “ไม่เห็นด้วย” กับบทความของผู้เขียน
ผู้เขียนสามารถใช้ไลค์ที่มีอยู่ในมือ (2ไลค์) ไปไล่กดไลค์ให้บทความที่ “เห็นด้วย” กับตัวเองทั้งหมด ทำให้โทนของการแสดงความคิดเห็นนั้นเกิดความลำเอียงขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบทความที่อยู่ในหมวด “Opinion”
แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ คิดยังไงกับเรื่องนี้?
มาถึงตอนนี้ ผมขอตัวลาไปก่อน ไว้ว่างๆจะมาเขียนต่อครับ
สุดท้ายนี้ ฝากกด “Follow” เพจ หรือกด “Like” หรือกด “Share” บทความนี้เพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความดีๆ ต่อไปด้วยครับ
ติดตาม​ Netflix Addict จากช่องทางอื่นและแวะมาพูดคุยกันได้ที่​ Facebook: https://www.facebook.com/netflixaddict1
โฆษณา