24 ก.พ. 2019 เวลา 14:06 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศึกษา #คบซ้อน, #หนุ่มเนื้อหอมกับท้าวทองกีบม้า,เจ้าพระยาวิชัยเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอล) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
1)ชาติกำเนิด และโชคชะตา,
-คอนสแตนติน ฟอลคอนเกิดที่หมู่บ้านคัสโตด บนเกาะเชฟโลเนียร ชื่อกรีก คือ Gerakis จากครอบครัวที่เป็นเจ้าของร้านขายข้าวแกงเล็กๆ พออายุ ๑๐ ขวบก็อาศัยเรือกำปั่นชาวอังกฤษไปอยู่ที่เกาะอังกฤษด้วย จนอายุ ๒๐ จึงมาทำงานกับยอร์ช ไวท์ ในตำแหน่งรับใช้ในเรือสำเภาที่ค้าขายแถวอ่าวเปอร์เซีย อีก ๕ ปีต่อมาจึงเข้ามาเป็นผู้จัดการห้างของยอร์ช ไวท์ในกรุงศรีอยุธยา
1.1) รักแรก-และรักต่อๆมา,
มีข้อสันนิษฐานในเรื่องชายรักชาย
-เกร็ดเพิ่มเติม#1 ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 18 นักเดินเรือชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงเด็กชายคอยติดตามรับใช้ส่วนตัว ทำงานประจำห้องพักกัปตัน เวลานอนก็นอนด้วยกัน เวลากินเด็กจะรับประทานเศษอาหารหลงเหลือในจานเจ้านาย และห้วงยามนักเดินเรืออารมณ์เปล่าเปลี่ยว ปรารถนา ภายหลังรอนแรมว้าเหว่กลางท้องทะเลยาวนานจนเหินห่างรสรักจากภรรยาบนชายฝั่ง ชนชาติกรีกและโรมัน ให้ทัศนะอันปกติกับเรื่องชายรักชาย เหล่านี้ มาช้านาน
-เกร็ดเพิ่มเติม#2 ถ้อยคำเล่าลือกรณีเมื่อบาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด (Guy Tachard) หวนย้อนสู่สยามพร้อมคณะราชทูตจากฝรั่งเศสชุด 2 ในปีพุทธศักราช 2230 (คริสต์ศักราช 1687),ตาชาร์ดได้นำเด็กหนุ่มชาวฝรั่งเศสมากำนัลออกญาวิชาเยนทร์ด้วย พร้อมบรรทุกเครื่องดนตรีฝรั่งมาหลายชิ้น โดยเฉพาะฮาร์ปซิคอร์ดที่ตั้งใจเอามาฝากมารี กีมาร์ภรรยาฟอลคอน ,เด็กหนุ่มนักดนตรีชาวฝรั่งเศสคนที่ว่านี้ พอช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้กลายเป็นคีตกวีเลื่องชื่อ เขาคืออ็องเดร การ์ดินัล เดส์ตูชส์ (André Cardinal Destouches) ผู้ประพันธ์ผลงานเพลงประกอบบัลเล่ต์โอเปร่าชิ้นเอกอุอย่าง Les élémens,อองเดร อยู่กับฟอลคอน สองปี ก่อนจะกลับฝรั่งเศส
1.2)หนุ่มเนื้อหอม และการคบซ้อน
เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา ท่านราชทูตก็พาฟอลคอนไปพบเจ้าพระยาพระคลัง และกล่าวสรรเสริญ ฟอลคอนมากมาย หลังจากนั้นฟอลคอนก็ฝากตัวรับใช้เจ้าพระยาพระคลังจนเป็นคนโปรดที่รักใคร่สนิทสนม และสนับสนุนให้เขาเข้าทำงานในกรมพระคลังสินค้า ซึ่งฟอลคอนก็ทำงานได้ดีจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับ จนเมื่อเจ้าพระยาพระคลังถึงแก่พิราไลย ฟอลคอนซึ่งเป็นพระวิชเยนทร์ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯขึ้นเป็น เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ว่าราชการพระคลัง และ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ รวมทั้งเมืองตะนาวศรี ฟอลคอนได้กีดกันบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและฮอลันดาที่ผูกขาดการค้าในสยาม เปิดทางให้บริษัทของฝรั่งเศสเข้ามาจนเป็นตัวหลัก ขณะเดียวกันก็ทำการค้าของตัวเองแทรกอยู่ด้วย จนร่ำรวยมั่งคั่ง
2)เกร็ดเพิ่มเติม
2.1) ความรักและความสเน่หา
-เกร็ดเพิ่มเติม#3 รักกับนางสนมเชื้อสายมอญ ที่ได้รับพระราชทานจาก กรมหลวงโยธาเทพ (พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์) เพื่อผูกมิตร,และในภายหลังยังมีนางสนมอื่นๆอีก
-เกร็ดเพิ่มเติม#3 ภายหลังสมรสกับมารี กีมาร์ หรือทองกีบม้าวัย 16 ปี จึงได้ส่งนางสนมเชื้อสายมอญนางนั้นไปอยู่ที่พิษณุโลก, ฟอลคอนมีบุตรชายกับนางทองกีบม้าด้วยกัน 2 คน
2.3)เกร็ดอื่นๆ
-หลังการตายของคอนสแตนติน ฟอลคอน อดีตคนรับใช้ในสำเภาสินค้า เป็นที่เปิดเผยว่า เขาถือหุ้นอยู่ในบริษัทอิสต์อินเดียของฝรั่งเศส ที่ผูกขาดการค้าในสยามแทนอังกฤษถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เงินสดเข้าหุ้น ๓ แสนฟรังก์ หลังจากที่เขาแก้ไขสัญญาให้บริษัทฝรั่งเศสค้าขายได้ทั่วราชอาณาจักร โดยไม่ต้องเสียภาษีทั้งขาเข้าขาออก และผูกขาดการซื้อดีบุกที่เมืองถลาง
-ถ้าเขาพาลูกเมียหนีออกจากเมืองไทยตามคำเรียกร้องของเมียตอนสถานการณ์ไม่สู้ดีในปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เขาก็จะได้เสวยสุขอยู่ในฝรั่งเศสจากผลงานที่ทำมา แต่ฟอลคอนทะเยอทะยานสูงกว่านั้น และเชื่อในกำลังของนายพลเดฟาซที่ซ่อนเจตนาจะยึดครองสยาม เจ้าพระยาฝรั่งหนึ่งเดียวของกรุงศรีอยุธยา จึงต้องจบชีวิตที่หลักประหารหลังการเข้ายึดอำนาจของพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ
ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2231
-ท้าวทองกีบม้า เสียชีวิตในภายหลัง เมื่ออายุ 66 ปี ในปี พ.ศ.2275 ในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ
-สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ได้กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือฉบับที่แปลข้อเขียนของยอร์ช ไวท์นี้ไว้ว่า
“...อันประวัติของวิชเยนทรมีปรากฏหลายความ ถ้าพวกบาทหลวงแต่งมักจะสรรเสริญว่าวิชเยนทร์เป็นคนซื่อตรงฉลาดเฉลียว ถ้าพวกพ่อค้านายทหารแต่ง มักจะติเตียนว่าเป็นคนโกงปอกปลิ้น แต่สังเกตดูเข้าใจว่าจะกล่าวเกินไปด้วยกัน จะเชื่อฟังว่าจริงแท้ทีเดียวไม่ได้ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย...”
ร้อยเรียงข้อมูล-Tonmon
24/2/2019
โฆษณา