7 มี.ค. 2019 เวลา 02:02 • ธุรกิจ
วัฏจักร ของ ธุรกิจสายการบิน
กรณีศึกษา จากสายการบิน United Airlines ประกาศล้มละลาย เนื่องจากเกิดภาวะหนี้สินจนล้นพ้น และจบลงด้วยการ Take over โดย Continental Airlines ที่เป็นสายการบินคู่แข่ง ที่เล็กกว่า!
สัจธรรมของโลก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คงไม่ได้ใช้แค่กับชีวิตมนุษย์ แต่คือกับทุกสรรพสิ่ง บนโลกนี้ แม้แต่ธุรกิจ ที่ยังต้องมีวงจรของตัวเองที่หนีไม่พ้น ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม รวมถึง "ธุรกิจการบิน" ด้วยเช่นกัน
เหตุเกิดจากข่าวการ รวบหุ้น หรือการเพิ่มทุนหุ้นของนกแอร์ที่ไม่เป็นดังหวัง จึงทำให้นกแอร์อยู่ในภาวะวิกฤตอย่างแท้จริง
แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกของโลกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะแม้แต่สายการบินใหญ่ยักษ์อันดับต้นๆของโลก ก็ยังคงไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรธุรกิจ ตามหลักของสัจจะธรรม
กรณีศึกษา จากสายการบิน United Airlines ที่ถูกเข้าซื้อกิจการ ด้วยการการบินที่เล็กกว่าอย่าง Continental Airlines
หนึ่งใน Logo และสัญลักษณ์เก่า ในยุคแรกของสายการบิน ก่อนถูก Take over.
ฟังดูอาจเป็นไปได้ยากในครั้งแรก เพราะสายการบิน Continental Airlines แรกเริ่มเดิมทีเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ในขณะที่ United Airlines เป็นสายการบินที่ใหญ่ เป็นอันดับ 2 ของอเมริกาในขณะนั้น
แต่คำว่าหนี้สิน ก็คงไม่ได้ทำให้ธุรกิจจะสามารถไปต่อได้ แม้ว่าบริษัทจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม สุดท้ายบริษัทที่เล็กกว่า แต่การบริหารจัดการได้ดีกว่า...นี่แหละคือผู้รอดชีวิตที่แท้จริง
ธุรกิจสายการบินในอเมริกา ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย..
การเดินทางในอเมริกาเป็นตลาดที่ใหญ่มากแบบที่เราคาดเดาไม่ถึง แม้กระทั่ง United Airlines ยังยกให้การบินภายในประเทศ( Domestic) เป็น 1 เขตการบินใหญ่ (Entity)
สายการบินอเมริกันจะใช้ระบบ HUB
HUB คือเซ็นเตอร์ในภูมิภาคนั้นๆ หรืออาจเรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยนเครื่อง เพื่อบินเข้าเมืองย่อยๆ หรือเมืองเล็กในภูมิภาคนั้น
ยกตัวอย่างเช่น หากอยากจะเดินทางไปที่เมือง Yuma ใน Arizona ต้องบินเข้าไปที่ San Francisco ก่อน ซึ่งก็คือหนึ่งใน HUB ใหญ่ของสายการบิน ซึ่งหากมาถึงที่นี่ได้ แปลว่าจะไปถึง Yuma ได้โดยไม่ยาก
กล่าวง่ายๆคือ จะไม่มีไฟล์ทตรงสำหรับ Yuma ดังนั้นต้องไปต่อเครื่องที่ HUB หรือหัวเมืองใหญ่ของสายการบินเท่านั้น
ซึ่งแต่ละ HUB จะมีเส้นทางการบิน ที่ทำให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายสายการบิน United Airlines ที่เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 1931 ก็ได้ถูกเข้าซื้อกิจการ หรือการเทคโอเวอร์ อย่างเป็นทางการ ในปี 2010 โดยสายการบิน Continential Airlines
Logo สัญลักษณ์ของสายการบินในปัจจุบัน ที่เปลี่ยนหลังจากถูก Take over.
โดยที่ยังทำการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
และยังมีการขยาย HUB เพิ่ม จากเดิมที่มี 4 HUB โดยเป็นของ United Airlines เดิม และผนวกกับอีก 3 HUB ของ Continental Airlines ที่มีอยู่แล้ว จนกลายเป็น 7 HUB ในปัจจุบัน
"ซื้อมาเพื่อฆ่า" กรณีเคสศึกษาของสายการบิน
และเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้มีความคล้าย กับสิ่งที่เกิดขึ้น กับ Delta Air lines และ Northwest Airlines
แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ Delta Air lines ผู้ที่ต้องการเข้าซื้อกิจการ เป็นแบรนด์ที่ใหญ่กว่า
สายการบิน Northwest airlines ที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
สายการบิน Delta Air lines ในปัจจุบัน
ซึ่งหลังจากที่ Northwest Airlines ได้เกิดวิกฤตปัญหาทางด้านการเงิน จึงถูกซื้อกิจการโดย Delta ในปี 2008
หลังจากนั้น Delta ได้ยกเลิกแบรนด์ Northwest เพื่อตัดคู่แข่งทางการค้า จึงทำให้เป็นการคล้ายกับการรวมแบรนด์ ที่ยังคงเก็บเพียงรูทบินไว้เท่านั้น..
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงเป็นเรื่องปกติ ของวงจรธุรกิจ แต่สุดท้ายแล้วสำหรับ นกแอร์ จะเป็นเช่นไร จะรุ่ง หรือร่วง หรือถูกปล่อยให้หายใจรวยริน รุ่งริ่ง แบบนี้ต่อไป ก็คงต้องมาลุ้นกันต่อ..
เพราะความแน่นอน ก็คือความไม่แน่นอน..
Have a safe flight✈
#แอร์ป้าห้าดาว
Reference
โฆษณา