17 มี.ค. 2019 เวลา 02:22 • สุขภาพ
"ทำไมกินหวานที่มาจากน้ำตาลถึงไม่ดีต่อสุขภาพ"
1.น้ำตาลทราย(ซูโครส),(table sugar) ซูโครส 1 โมเลกุลประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลได้แก่กลูโคสและฟรุคโตส
กลูโคสนั้นเป็นน้ำตาลโมเลกุลที่ได้จากแป้ง เช่น มันฝรั่ง ในทุกๆ เซลล์ของร่างกายสามารถสร้างกลูโคสและกลูโคสยังถูกพบในทุกๆ เซลล์อีกด้วย อาจสรุปได้ว่า กลูโคสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ในขณะที่ฟรุกโตสไม่ใช่!! มนุษย์ไม่สามารถได้ผลิตฟรุกโตส
กระบวนการเผาผลาญกลูโคสและฟรุกโตสนั้นมีความแตกต่างกันมาก กุญแจสำคัญที่ทำให้ตระหนักถึงการบริโภคฟรุกโตสก็คือ ทุกเซลล์ของร่างกายสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ แต่ "ตับ" กลับเป็นอวัยวะเดียวของร่างกายที่จะสามารถนำฟรุกโตสไปใช้ได้และใช้ได้ในปริมาณที่จำกัดอีกด้วย เมื่อคนหันไปบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงและยังมีปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสสูงด้วย ส่งผลให้ตับต้องทำงานหนักในการเผาผลาญฟรุกโตสให้หมดและเปลี่ยนฟรุกโตสที่เหลือให้กลายเป็นไขมัน
2.น้ำตาลไม่มีแม้กระทั่งวิตามินหรือเกลือแร่ น้ำตาลเป็นแค่เครื่องปรุงอย่างหนึ่่งที่ใช้ในการประกอบอาหารหรือปรุงรสเท่านั้น การเติมน้ำตาลเพิ่มลงในอาหารจึงมีประโยชน์เพียงแค่เพิ่มพลังงานที่ร่างกายจะได้รับไม่ได้เป็นการเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นต่ำร่างกาย
3. น้ำตาลเป็นสาเหตุของภาวะไขมันพอกตับ เมื่อเราบริโภทน้ำตาลจำนวนมาก ฟรุกโตสเหล่านั้นจะถูกส่งไปที่ตับ ,ในคนปกติที่ออกกำลังกายตับมีปริมาณของไกลโคเจนต่ำหลังจากผ่านการออกกำลังกายมา น้ำตาลฟรุกโตสเหล่านั้นจะถูกใช้ในการสร้างไกลโคเจนกลับคืนมา
อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากไม่ได้บริโภคฟรุกโตสหลังจากออกกำลังกายแต่ในตับก็ยังสามารถสร้างไกลโคเจนมาเติมเต็มได้และเมื่อตับเต็บไปด้วยไกลโคเจนแล้ว น้ำตาลฟรุกโตสที่เหลืออยู่ในตับจึงต้องถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไขมัน ซึ่งไขมันส่วนหนึ่งจะถูกส่งออกไปยังภายนอกเซลล์ และอีกส่วนหนึ่งจะถูกสะสมไว้ที่ตับ การที่มีการสะสมไขมันไว้ที่ตับเรื่อยๆ จะนำไปสู่โรคภาวะไขมันพอกตับชนิด non-alcoholic fatty liver disease อีกทั้งยังทำให้ไขมันไปจับตัวรอบอวัยวะต่างๆ และอาจนำไปสู่โรคหัวใจในที่สุด
4. น้ำตาลส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
น้ำตาลฟรุกโตสที่ได้จากน้ำตาลหลังจากถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไขมันแล้วจะถูกส่งออกจากตับและส่วนมากจะถูกส่งออกในรูปของ Very Low Denstiry Lipoprotein (VLDL) ซึ่งไขมันชนิดนี้เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกเปลี่ยนเป็นคลอเลสเตอรอลชนิด LDL (คลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) มีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น จากการได้รับพลังงาน 25% จากน้ำตาลฟรักโตสส่งผลให้ไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) อันเป็นก้าวแรกของการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภทที่สอง และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
5. น้ำตาลก่อให้เกิดภาวะต่อต้านอินซูลิน:หน้าที่หลักของอินซูลินในร่างกายของเราก็คือ การพากลูโคสในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาล ตับอ่อนจะทำหน้าที่ผลิตอินซูลินโดยอัตโนมัติ แล้วหลังจากนั้นอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมาจะไปจับกับน้ำตาลและนำพาน้ำตาลไปหล่อเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย
เมื่อร่างกายได้รับพรุตโตสในปริมาณมากเกินไปเซลล์มีแนวโน้มที่จะดื้อต่ออินซูลิน เมื่อเซลล์เริ่มดื้อต่ออินซูลิน ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินให้มากขึ้นเพื่อลดกลูโคสจำนวนมากในเลือด ป้องกันอันตรายจากการมีกลูโคสในเลือดสูงจนเสียสมดุลซึ่งจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นจะทำให้ เบต้าเซลล์ในตับอ่อนถูกทำลายและสูญเสียความสามารถในการผลิตอินซูลินให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการเป็นสาเหตุให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งประชาชนมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ และเมื่อร่างกายได้รับอินซูลินมากขึ้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งอีกด้วย
6. น้ำตาลเพิ่มความเสี่ยงของโรค
เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวานประเภทที่ 1, โรคอ้วน, โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (inflammatory bowel diseases), โรคอ้วน, โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune disease) และโรคมะเร็งทั้งหลาย
7. น้ำตาลไม่ได้ทำให้อิ่ม ในบริเวณของสมองมีส่วนหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ไฮโปทาลามัส สมองส่วนไฮโปทาลามัสมีบทบาทสำคัญในกลไกการควบคุมสมดุลของอาหารและพลังงานในร่างกาย การกระตุ้นการทำงานของ MC4R ด้วย α – Melanocyte stimulating hormone (α - MSH) จะทำให้เกิดการสังเคราะห์ฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม ผลคือลดความอยากอาหารหรือทำให้รู้สึกอิ่ม และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสเป็นองค์ประกอบจะรู้สึกอิ่มช้า
8. น้ำตาลทำให้เกิดอาการเสพติด
เมื่อเรากินน้ำตาล สมองจะตอบสนองด้วยการหลังฮอร์โมนแห่งความสุขที่รู้จักกันในชื่อของ โดปามีน และผลของโดปามีนทำให้เกิดอาการเสพติดได้เหมือนกับโคเคน
9. น้ำตาลทำให้เกิดภาวะดื้อต่อเลปติน
เลปติน( Leptin) เป็นฮออร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สะสมไขมัน ซึ่งหลังจากสร้างแล้วก็จะไปออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหิวและอิ่ม เมื่อมีไขมันมากขึ้น ปริมาณของเลปตินก็จะถูกสร้างมากขึ้น แต่ถ้าปริมาณของไขมันน้อยลงเลปตินก็จะถูกสร้างน้อยลง ปริมาณของเลปตินมากขึ้น การเผาผลาญก็จะเพิ่มมากขึ้นและควบคุมให้รับประทานน้อยลง
น้ำตาลฟรุกโตสจะไปยับยั้งการส่งสัญญาณเลปตินในสมอง จึงเป็นสาเหตุให้สมองเข้าใจผิดคิดว่ายังไม่มีการสะสมไขมัน จึงสั่งให้เรากินต่อไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งในยามที่เราเครียด วิตกกังวล อ่อนล้า ก็จะส่งผลให้เรากินมากขึ้นเช่นกัน
โฆษณา