21 เม.ย. 2019 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
สวัสดีครับ วันนี้มาพบกับการใช้ function countif
ในการนำเสนอครั้งนี้ ผมจะใช้คำศัพท์เทคนิคของ excel มากขึ้นนะครับ เพื่อให้ทุกคนได้คุ้นเคย เผื่อไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่นจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
เริ่มเลยครับ โครงสร้างของสูตร countif มี 2 อย่างครับ หรือเรียกว่า 2 argument (อาร์กิวเมนต์) คือ
1. range หมายถึง ช่วงข้อมูลที่จะใช้ค้นหา
2. criteria หมายถึง เงื่อนไขที่เราต้องการค้นหา
ความสามารถของ countif คือ การนับจำนวน cell ในช่วงข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขที่เราต้องการ
ตัวอย่างแรกครับ
จากตัวอย่าง ผมสมมติรายการผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลมาจำนวน 10 รายการ หรือก็คือ 10 cell โดยมีรายการที่ซ้ำกัน (ผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย i ตาลายเหลือเกินเวลาจะนับแต่ละครั้ง)
สมมติว่าผมต้องการจะนับว่ามีคำว่า iPhone ทั้งหมดกี่รายการใน 10 รายการ หรือก็คือใน 10 cell นี้ (หลายคนถ้าติดตามโพสต์ก่อนเกี่ยวกับ sumif คงพอจะทราบแนวคิดแล้ว แต่ถ้ายังไม่ทราบเรามาเริ่มกันเลยครับ ตามภาพด้านล่าง)
จะเห็นว่าเมื่อใช้สูตร countif เพื่อนับ cell ที่มีคำว่า iPhone จะนับได้ทั้งหมด 4 รายการ หรือก็คือ 4 cell โดยอธิบายได้ดังนี้ครับ
1. argument แรก คือ range หรือ ช่วงข้อมูลที่ใช้สำหรับอ้างอิงในการค้นหาคำ โดยมี 10 cell คือ range A1:A10
2. argument ที่ 2 คือ criteria หรือ เงื่อนไขที่กำหนดให้สูตรค้นหาในช่วงข้อมูล ซึ่งตามภาพข้างบนกำหนดเป็น cell A8 ซึ่งมีค่าใน cell คือคำว่า "iPhone"
=ดังนั้นตามสูตรอาจอ่านได้ว่า ให้นับจำนวน cell ในช่วงข้อมูล A1:A10 ที่มีค่าเท่ากับ A8 หรือคำว่า "iPhone"
หลักการเช่นเดียวกันกับ sumif ครับ ถ้าเราเปลี่ยน argument ที่ 2 จาก cell A8 เป็นคำว่า "iPhone" ผลลัพธ์ย่อมออกมาเหมือนเดิมครับตามภาพด้านล่าง
*** ข้อสังเกตที่สำคัญ อย่าลืมใส่เครื่องหมายอัญประกาศ (" ")นะครับ หาก criteria ของเราไม่ใช่ตัวเลข ไม่งั้นสูตรจะไม่สามารถหาค่าได้ครับ ดังภาพข้างล่าง
ในภาษาอังกฤษจะมีตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ใช่ไหมครับ ถ้าเกิดว่าเราพิมพ์ตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ไม่ตรงตามข้อมูลในช่วงข้อมูลที่ต้องการจะค้นหา ผลลัพธ์จะออกมาเหมือนเดิมรึเปล่า คำตอบอยู่ในภาพข้างล่างครับ
จะเห็นว่าผมได้ลองเปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ ทั้งใน cell A2 A6 A8 และใน argument ที่ 2 แต่ผลลัพธ์ยังคงเดิม แสดงว่าตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ไม่มีผลต่อการค้นหาคำครับ
และแน่นอนครับหลักการนี้นำไปใช้กับ sumif ได้เช่นกัน
ลองดูกรณีเป็นตัวเลขบางครับ
จะเห็นว่าหากเป็นตัวเลข ผมไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ(" ") ในเลข 10 สูตร countif ยังสามารถทำงานได้ครับ
หรือจะให้ countif นับสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเลขหรือตัวอักษรก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ แต่อย่าลืมต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ(" ") นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดช่วงข้อมูล (range) เพื่อค้นหาได้มากกว่า 1 คอลัมน์ครับ โดยภาพข้างล่างกำหนด ให้หาเครื่องหมาย "\\\\" ใน คอลัมน์ A และ B ครับ
วันนี้ผมขอจบเรื่อง countif แค่นี้ก่อนนะครับ ไม่ยากใช่ไหมครับ
ครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องอะไรรอติดตามกันนะครับ
ปล.ฝากกดไลค์กดติดตามกดแชร์ให้กำลังใจด้วยนะครับ
โฆษณา