30 เม.ย. 2019 เวลา 15:17 • สุขภาพ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
"ท้องเสีย"
1.ถ้าผู้ป่วยท้องเสียมา ต้องดูก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีอย่างน้อย 1 ข้อ จะต้องส่งต่อแพทย์พิจารณารักษาต่อไป
- ขาดน้ำรุนแรง เช่น มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ เป็นต้น
- มีการใช้ยาต้านจุลชีพมา 3 เดือนก่อนหน้านี้
- มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น อุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว เป็นต้น
แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงที่กล่าวมานี้เลย ก็สามารถให้ ORS หรือเกลือแร่ชนิดรักษาอาการขาดน้ำจากอาการท้องเสียแก่ผู้ป่วยได้เพื่อป้องกันการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย
2.เรามาดูว่ากรณีไหนที่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพบ้าง
2.1 อุจจาระมีเลือดปนร่วมกับมีไข้(>38 องศาเซลเซียส)
2.2 อุจจาระไม่มีเลือดปนร่วมกับอาการถ่ายบ่อย และเป็นนักท่องเที่ยว
2.3 อุจจาระไม่มีเลือดปนร่วมกับถ่ายบ่อยและมีไข้
"แผลสะอาด" คือ
- ไม่ได้สัมผัสกับสิ่งสกปรก
- ไม่ได้ถูกของมีคมแทงหรือบาด
- ไม่ได้ถูกสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กัด ข่วน
- ไม่ใช้แผลจากคนที่เป็นโรคเบาหวาน มะเร็ง
จะไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อ ให้รักษาความสะอาดของแผล คือใช้น้ำเกลือล้างบริเวณแผล ใช้พวกแอลกอฮอล์หรือเบตาดีนทาบริเวณรอบแผล ไม่ทาบริเวณแผล เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคืองแผลมากกว่าเดิม หลังจากนั้นปิดแผลให้สนิทด้วย
"คออักเสบ"
สำหรับโรคคออักเสบ อับดับแรกเราจะต้องนับคะแนนตามแบบประเมินกันก่อนเพื่อพิจารณาใช้ยาน้านจุลชีพ โดยอาการที่ต้องนับคะแนนจะมีดังต่อไปนี้
- ไข้ (>38 องศาเซลเซียส) >> 1 คะแนน
- ต่อมน้ำเหลืองบวมหรือกดเจ็บ >> 1 คะแนน
- ต่อมทอนซิลบวมหรือเป็นหนอง >> 1 คะแนน
- ไม่มีอาการไอ >> 1 คะแนน
- อายุระหว่าง 1-13 ปี >> 1 คะแนน
- <45ปี >> -1 คะแนน
โดยจะสรุปได้ว่า
0-1 คะแนน >> ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ
2-3 คะแนน >> ควรพิจารณาตามความเหมาะสม*
มากกว่าเท่ากับ 4 คะแนน >> ต้องได้รับยาต้านจุลชีพ
*หากผู้ป่วยได้คะแนนจากต่อมทอลซิลบวมหรือมีหนอง อาจให้ยาต้านจุลชีพ
ยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการคออักเสบ นอกเหนือจากการใช้ยาเชื้อ
- แคปซูลฟ้าทะลายโจร
- ยาอมที่มีส่วนผสมของซิงค์ อม ทุกๆครึ่งชั่วโมง
- ยาอมที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บคอ
- ยาพาราเซตามอล
- ยาibuprofen
- ยาพ่นสำหรับบรรเทาอาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ
#เพิ่มเติม
การดูว่าควรใช้ยาต้านจุลชีพหรือไม่ทำได้ที่บ้านง่ายๆทั่วไปก็คือใช้ไฟฉายหรือไฟโทรศัพท์ส่องไปที่คอแล้วดูในกระจกว่า มีฝ้าขาวเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าต้องได้รับยาต้านจุลชีพ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล http://www.pharmacy.psu.ac.th/th/rdu.html
จัดทำโดย
 นสภ. สุพิชญา สมเพ็ชร
นสภ. ศรันย์​ กิริยา
นิสิตฝึกงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
โฆษณา