23 พ.ค. 2019 เวลา 14:09 • ประวัติศาสตร์
ถ้าคุณเป็นเธอ จะทำอย่างไร
ถ้าคุณเป็นเขา จะทำอย่างไร
เรื่องจริงที่เคยบอกจะเล่า..หยิบ จากตู้หนังสือที่บ้าน ซื้อไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ.2533) ด้วยสะดุดภาพ หน้าปก เพราะคุ้นตาไม่ลืม พร้อมสะดุดชื่อหน้าปกอีก แค้นนี้ ต้องอโหสิ ..มันเกี่ยวกับภาพหน้าปกอย่างไร
แค้นนี้ ..ต้องอโหสิ
พอเปิดอ่านดูคร่าวๆ ชอบมาก แต่ละเรื่องโหดมาก น่าแค้นฝังหุ่นมากกว่า จะให้อภัยได้ อ่านแล้วอยากอ่านต่อ เลยซื้อไว้ เพื่อแบ่งให้คนที่อยากอ่าน ได้อ่านด้วย ก็มีเพื่อนๆยืมไปอ่าน หลังจาก แอดมิน โปรโมตหนังสือของตัวเองยกใหญ่ กว่าจะได้คืนกลับมาอยู่ในตู้หนังสือก็เป็นปีเลย
วันนี้จะแบ่งปันสักเรื่องหนึ่งก่อน ยกเรื่องจากหน้าปกมาเลย เพราะเราสะดุดภาพนี้ก่อน ..ความทรงจำต่อภาพกลับมา เพราะเกิดทันเห็นภาพนี้...ย้อนไปในปี 1972 หรือ ปี พ.ศ.2515 โน้น แอดยังเรียนประถม
ภาพที่ได้รางวัล ถ่ายโดย Nick Ut เป็นปกหนังสืออีกปก . หนังสือมีสองปก น่าพิมพ์ครั้ง แรก
ภาพเด็กหญิงวัยใกล้เคียงกับเรา เปลือยเปล่า ล่อนจ้อน วิ่งหนีระเบิด ตามตัวมีไฟลวก สีหน้าตกใจ เจ็บปวด แขนของเธอ อ้าออกกว้าง วิ่งไปหาช่างภาพ พร้อมคนอื่นๆ ภาพนี้ ลงหน้า1 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ผู้ใหญ่คุยกันถึง สงครามเวียดนาม แอดก็ไม่รู้เรื่องอะไรมาก รู้แต่สะเทือนใจกันทั่วโลก
ระเบิด นาปาล์ม รุนแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าถ้ารอด ไม่พิการ ก็ทรมานจากพิษบาดแผล ไฟลวก เนื้อหลุดออกเป็นชิ้นๆ ผิวไหม้จนเปื่อยทั้งตัว นั่นแหละที่ ฟาน ทิ คิม ฝุก หนูน้อยแห่งนาปาล์ม (สมญานามเธอ)โดน
เธอต้องยอมถอดเสื้อผ้าที่ติดไฟออก วิ่งล่อนจ้อนหนีตาย และไม่ใช่แค่เธอคนเดียวที่ตกเป็นเหยื่ออันหฤโหด เพียงแต่ภาพจับเธอไว้ได้ จนดังทั่วโลก
ได้แต่คิด ถ้าเป็นเราละ จะทำยังไง รู้สึกอิน อาจเพราะอายุไม่ต่างกันมาก
หนูน้อย คิม ฝุก รักษาตัวอยู่ 14 เดือน ทิ้งร่องรอยบาดแผลไว้เต็มแผ่นหลัง และส่วนอื่นๆ บาดแผลกายลึกและบาดแผลใจก็ลึกด้วย
แอดได้ใส่ชื่อช่างภาพไว้ด้วยในภาพ
ภาพที่ไม่ลืมนี้ คนเกิดทัน คงจำได้กัน ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีถัดมา คือปี 2516 ซึ่งเป็นรางวัลของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้นักข่าว ช่างภาพ ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมทุกแขนง และผู้จับภาพที่โลกไม่ลืมนี้คือ ช่างภาพชาวเวียดนาม ชื่อว่า นิค อุ๊ต Nick Ut สังกัดสำนักข่าวAP เขาเองมีส่วยช่วย คิม ฝุก และชาวบ้านในการส่งตัวให้หมอรักษา ร่วมกับทหารเวียดนามและนักข่าวคนอื่น เขาแวะเวียนเยี่ยมคิม ฝุก บ่อยๆระหว่างการรักษาตัว
สิ่งที่ดีคือ ภาพนี้เองทำให้เกิดการต่อต้านสงครามในวงกว้าง ชาวอเมริกันเองก็กดดันรัฐบาล จนสงครามนี้ยุติจริงจังได้ในปี 2518 (นานจัง) จริงๆแล้ว ฟาน ทิ คิม ฝุก จะโกรธทุกครั้งที่เห็นภาพเธอเผยแพร่ทั่วโลก เธออับอาย และเจ็บปวด กับภาพความทรงจำนั้นอยู่ แต่ต่อมาเธอยินยอม และยินดีหากภาพนี้กลายเป็นตัวกระตุ้นคนทั่วโลกหันมาแสวงหาและผลักดันให้เกิดสันติภาพในวงกว้าง
หลังโดนระเบิด เธอได้รับการรักษา และดูแล ควบคุม จัดการชีวิต โดยรัฐบาลคอมมินิสต์ ไม่ได้มีอิสระมาก แต่ได้เรียนหนังสือ และสอบแพทย์ได้ ได้ทุนไปเรียนที่คิวบา จนพบรักกับสามีชาวเวียดนาม ต่อมา ทั้งสอง ก็พากันหนีไปพบเจ้าหน้าที่ลี้ภัย จนได้หลี้ภัยไปอยู่โต รอนโต แคนาดา ใช้ชีวิตอย่างสงบ ไม่อยากกลับไปเวียดนามอีก เธอได้รับการรักษาทางผิวหนังต่อฟรีที่รัฐไมอามี สหรัฐ เธอได้ช่วยงานสังคมชุมชนและประเทศ โดยเฉพาะทำหน้าที่ทางด้านสันติภาพยาวนาน จนรัฐบาลแคนาดามอบรางวัลทรงเกียรติให้เธอเมื่อปี2560นี้เอง
ภาพจากMGR Online
เล่าสรุปส่วนของ ผู้ถูกกระทำไปแล้ว
กลับมาอีกมุมหนึ่ง มุมของ คนกระทำ สาหัสไม่เบา แต่สาหัสทางความรู้สึก
ภาพที่โลกไม่ลืมนี้ ภาพนั้น เขาคนนี้ก็ไม่เคยลืม เช่นกัน
มันตอกย้ำเขา หลังกลับบ้าน เขาแบกความรู้สึกผิด ยาวนานหลายปี เขาอยากพบเธอเพื่อขอโทษ แต่เวียดนามไม่ต้อนรับทหารที่ทิ้งระเบิดใส่บ้านเมืองเขา เขาไม่ทราบเรื่องของเธออีก เขาไม่สามารถอภัยตัวเองได้ ลึกๆของจิตใจ รู้สึกผิดกับเหตุการ์ณครั้งนั้น นับ24 ปี
แล้ววันนั้นก็มาถึง เขาไม่คาดคิดว่าจะเจอเธอเลย
เขากับเพื่อนอดีตทหารผ่านศึกสงครามเวียดนามที่ต้องการเป็นอิสระจากความรู้สึกผิดเช่นกัน ..ก็ได้ไปร่วมงานรำลึกวันทหารผ่านศึก ปี 1996 (2539)ที่สุสานทหารสงครามเวียดนาม วอชิงตัน ดี.ซี. คิม ฝุก เดินทางจากโตรอนโต เธอถูกเชิญโดยทางการสหรัฐฯ เธอมาวางพวงมาลา เและกล่าวสุนทรพจน์ พวกเขาก็ยืนฟังด้วยความสนใจ จนรู้ว่าเธอคือ เด็กผู้หญิงคนนั้น
ตอนหนึ่งเธอกล่าวว่า "เธอไม่รู้สึกขมขื่นอีกต่อไป แม้ว่าเธอยังทนทุกข์กับบาดแผลที่ไหม้อยู่ เธออยากให้ทุกคนรู้ว่า เบื้องหลังภาพของเธอ ยังมีคนที่ทนทุกข์ทรมานยิ่งกว่าเธออีกมากมายนับพันชีวิต เพียงแต่ไม่มีใครถ่ายภาพพวกเขาไว้ "
คิม ฝุก ยังกล่าวต่ออีกว่า เธอยกโทษให้ทุกคนที่ทิ้งระเบิดหมู่บ้านเธอในวันนั้นแล้ว เธอไม่อาจเปลี่ยนอดีตได้ แต่เธอปรารถนาที่จะสร้าง สันติภาพให้เกิดขึ้น เมื่อจอห์นได้ฟังเธอพูด เขาพยายามดึงความสนใจจากเธอและเข้าใกล้เธอเพื่อจะบอกความจริง ก่อนที่รปภ.จะกันเธอออกไป เขาก็ได้บอกเธอว่าเขาคือคนที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านเธอ
คิม จึงหยุด และเข้ามาหาเขา เธอเห็นความกังวลมาก ความทุกข์บนใบหน้าของเขาชัดเจน เธอจึงอ้าแขนออกและกอดเขาไว้ เขาพูดซ้ำๆ ว่า " ขอโทษ ผมเสียใจ ๆ " คิม ก็ตอบเขา อ่อนโยน ว่า "ไม่เป็นไรๆ ฉันยกโทษ ให้คุณ"
ในวันนั้น เขาและเธอ พบกันสองครั้ง
คิมก็ย้ำ ว่า เธอ ให้อภัยเขาแล้ว จริงๆให้เขาสบายใจได้
เขารู้สึกโล่งใจ ความรู้สึกผิดปลดปล่อย ได้พบกับสันติสุขที่หายไปยาวนานถึง 24 ปี ( จากปี 2515-2539) เขายกโทษให้ตัวเองได้แล้ว เขาไม่เจ็บกับมันอีก
แม้ทั้งสองคนยังจดจำเรื่องราวได้ แต่ได้ผลักอดีตไว้เบื้องหลัง จึงไม่เจ็บปวดอีกต่อไป เดินหน้าต่อ แต่แปลกคนที่ทำได้ก่อน คือคน ถูกกระทำ..
เมื่อคุณให้อภัย
คุณไม่ได้เปลี่ยนอดีต
แต่คุณเปลี่ยนอนาคต
เปลี่ยนอนาคต ที่ไม่ต้องจม อยู่กับอดีต
ขอลงภาพซ้ำประกอบค่ะ
เขาและเธอกลายเป็นเพื่อนกัน และมีโอกาสพบกันบ่อยๆ ในเวลาต่อมา
จากหนังสือ แค้นนี้ ต้องอโหสิ
"หากเราไม่ได้รับการยกโทษ ไม่ได้รับการปลดปล่อยจากผลของสิ่งเลวร้ายที่เราทำลงไป ความสามารถที่จะทำอะไรต่ออะไรก็คงจะถูกจำกัด อยู่กับการกระทำที่เราไม่อาจหนีพ้นไปได้ เราคงเป็นเหยื่อของเหตุการ์ณนั้นตลอดไป เปรียบเหมือนเด็กฝึกงานของแม่มดที่ไม่มีฤทธิ์ทำลายคำสาบ"
ฮันนาห์ อะเรนต์ ได้กล่าวไว้
จอห์น พลัมเมอร์ เขา พบสันติสุขในใจอีกครั้ง
1.เพราะพลังของการให้อภัยของคนที่เขาทำร้าย คิม เป็นตัวแทน ของเหยื่อทุกคน ในวันที่ 8 มิถุนายน 2515 ได้ให้อภัยเขาและเพื่อนๆ
2. เขารู้สึกรับการอภัย จึงให้อภัยตัวเองได้(สักที) แม้จะนานไปหน่อย
ภายหลังจอหน์ พลัมเมอร์ เป็นศิษยาภิบาล ที่
คริสตจักรเมธอดิส ในเมืองสงบแห่งหนึ่ง ของรัฐจอร์เจีย
ฝากไว้จากMomNoi
23/5/19
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ขอบคุณที่กดไลค์ แสดงความเห็น และกดแชร์ให้เสมอ นี่คือกำลังใจค่ะ ขอบคุณค่ะ 💕
อ่านเรื่องของคิมเพิ่มเติมได้ลิงค์นี้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา