Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลุงแมน
•
ติดตาม
29 พ.ค. 2019 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
อาณาจักร CP (ตอนที่ 9)
ยกเลิกธุรกิจแบบครอบครัว
.
บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆโดยคุณธนินท์คิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนจากกิจการครอบครัวไปสู่องค์กรที่บริหารโดยบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ เพราะผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการบริหารธุรกิจ ในไม่ช้าก็อาจจะตามการพัฒนาของโลกธุรกิจไม่ทัน
ถึงแม้ว่าญาติพี่น้องทุกๆคนจะร่วมมือร่วมใจกันสร้างบริษัทจนเติบใหญ่ แต่คุณพ่อคุณธนินท์ก็ยังคงเป็นห่วงว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในครอบครัว จึงขอให้ลูกๆ แยกออกไปอยู่ต่างหากหลังจากที่แต่งงานแล้ว โดยไม่อนุญาตให้อาศัยอยู่ในบ้าน
คุณพ่อคุณธนินท์เคยกล่าวว่า “ไม่ว่าพี่น้องจะปรองดองกันมากเท่าไหร่ เมื่อแต่งงานและมีครอบครัวเป็นของตัวเองแล้ว อาจจะมีปากเสียงกันได้ ถ้าอยู่ในชายคาเดียวกัน”
จากนั้นคุณธนินท์จึงตัดสินใจยกเลิกระบบบริหารงานแบบครอบครัว โดยให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดีกว่าเดิมและบรรดาพี่สาวจะได้พักผ่อนและขอให้พี่สาวออกจากงานที่บริษัท
แต่ความลำบากใจที่สุดคือการบอกกับพี่สะใภ้คนโตซึ่งเป็นภรรยาคุณจรัญซึ่งเป็นประธานบริษัทและผู้ก่อตั้งธุรกิจอาหารสัตว์โดยขอให้พี่สะใภ้ลาออกจากงาน แต่เพื่อความเจริญเติบโตในวันข้างหน้าของบริษัทจึงจำเป็นต้องตัดสินใจแบบนั้น
และคุณธนินท์ยังได้ตั้งกฎขึ้นมาอีกข้อหนึ่งคือ ไม่ให้ลูกหลานของตระกูลเข้ามาบริหารธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท รวมถึงลูกชายของคุณธนินท์ก็ไม่มีสิทธิ์ด้วย
ที่ทำแบบนั้นเพราะนึกถึงพนักงานที่จะเข้ามาร่วมกันบริหารบริษัท จะรู้สึกว่าตัวเองคงไม่มีโอกาสในการเติบโตก้าวหน้า ไม่มีอนาคต เพราะถ้ามีคนในครอบครัวมีตำแหน่งบริหารกันหมดพวกเขาเหล่านั้นคงไม่มีโอกาสเติบโตได้
เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในการบริหารคุณธนินท์ได้ให้ผู้ถือหุ้นกับการบริหารแยกออกจากกัน โดยผู้บริหารมีหน้าที่สร้างผลกำไรให้แก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นก็ได้ผลตอบแทนที่มาจากกำไร
หลักการบริหารของคุณธนินท์คือให้สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้น โดยตัวเองอยู่ในฐานะผู้บริหาร และไม่ได้ครอบครองหุ้นไว้แต่เพียงผู้เดียว
คุณธนินท์กล่าวว่า"ถ้าผมถือหุ้นทั้งหมดเพียงผู้เดียว ไม่เพียงแต่จะมีปัญหากับญาติพี่น้อง แต่ยังจะถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อีกด้วย"
ต่อมาคุณจรัญซึ่งเป็นพี่ชายคนโตและประธานบริษัทได้แต่งตั้งให้คุณธนินท์ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์จุดนี้ทำให้คุณธนินท์ได้เข้ามารับช่วงการบริหารธุรกิจอย่างเต็มตัวด้วยวัยเพียง 30 ปี
ธุรกิจครอบครัวที่เราเห็นในหลายๆบริษัทมักมีปัญหาให้เห็นกันบ่อยๆ เป็นข่าวมาแล้วมากมายรวมถึงที่ไม่เป็นข่าวก็เยอะ อาจจะมีสาเหตุมาจากหลายประการ
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความคิดที่แตกต่างกันของคนในครอบครัวแต่ละรุ่นแต่ละวัย ซึ่งปัญหานี้เริ่มจะมีให้เห็นบ่อยๆในหลายองค์กร
เพราะคนในครอบครัวมีทั้งรุ่นเก่าที่เป็นรุ่นบุกเบิกที่ยังต้องการให้ธุรกิจดำเนินไปตามแบบที่ตนเองสร้างมากับคนรุ่นใหม่มีประสบการณ์ใหม่ๆหรือเคยเป็นผู้บริหารบริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพมาก่อน ทำให้มุมมองในการทำธุรกิจเปลี่ยนไปอยากจะทำอะไรที่ให้ทันกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
การจัดสรรผลประโยชน์ของคนในครอบครัวนี่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับธุรกิจแบบครอบครัวเพราะมีเรื่อง เงินๆทองๆเข้ามาเกี่ยวข้อง
ธุรกิจครอบครัวหลายรายมีปัญหาในการเลือกทายาทที่จะเป็นผู้นำ ยิ่งถ้าหากมีทายาทหลายคน และจำเป็นต้องเลือกคนใดคนหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้นำในการบริหาร ในบางครั้งอาจจะเลือกผู้นำผิดตัว เพราะผู้บริหารใช้อารมณ์ ความรู้สึก และความอาวุโส ในการตัดสิน มากกว่าที่จะมองหาบุคคล ที่มีความสามารถมาบริหาร
ขณะที่ในปัจจุบันมีธุรกิจครอบครัวจำนวนไม่น้อยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการดึงผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกมาทำหน้าที่เป็น พี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาให้กับทายาทตัวจริง ที่จะขึ้นมาสืบทอดธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยลดความขัดแย้งได้บ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัญหา เพราะอำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่จะมาจากเจ้าของธุรกิจตัวจริง
จากผลสำรวจของ Family Business Survey ของ PwC พบว่า ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่สามารถดำเนินกิจการต่อเนื่องได้มากที่สุดเพียง 3 รุ่นเท่านั้น
ฝากติดตามบทความตอนต่อไปของ
อาณาจักร CP (ตอนที่ 10)
อ่านบทความอาณาจักร CP
ตอนที่ 8 ย้อนหลัง👇
https://www.blockdit.com/articles/5ce90bcb032c600fe0453f11
ขอบคุณ
References
CP
https://th.m.wikipedia.org/https://r.nikkei.com/
https://www.chiataigroup.com/
https://cpgg.cpfworldwide.com/th/aboutus.php
http://oknation.nationtv.tv/
http://www.bizpromptinfo.com/
http://forbesthailand.com/
32 บันทึก
93
4
36
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อาณาจักร CP
32
93
4
36
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย