22 มิ.ย. 2019 เวลา 19:19 • สุขภาพ
หวัด​ เด็ก
#รักษาหวัดโดยไม่ใช้ยา (อิงหลักฐานทางการแพทย์)
.
หากใครอ่านโพสต์
“6 ข้อ...ที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด”
ก็น่าจะมีความเข้าใจระดับหนึ่งนะคะ
หวัดเป็นโรคที่เจอบ่อยที่สุด
เด็กเป็นหวัดเฉลี่ย 6-8 ครั้ง/ปี
(โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งไป nursery หรือ อนุบาลใหม่ๆ เป็นเดือนละ 2 ครั้ง ก็เจอบ่อย)
โรคหวัดภาษาทางการ คือ Rhinitis
ซึ่งรากศัพท์ Rhino แปลว่าจมูก -itis แปลว่าอักเสบ
รวมกัน แปลว่า การอักเสบที่เกิดบริเวณจมูก (เริ่มที่จมูก)
ซึ่ง สาเหตุ #เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เมื่อเยื่อบุจมูกอักเสบ
ก็จะตอบสนองด้วยการบวม และมีการคัดหลั่งน้ำมูกเพิ่ม
เราก็จะมี #อาการคัดจมูก และ #มีน้ำมูก
เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
เม็ดเลือดขาว จะหลั่งสารต่างๆในกระบวนการกำจัดเชื้อโรค
ทำให้เรา #มีไข้ #รู้สึกไม่สบายตัว
(ในเด็กก็จะแสดงอาการ งอแง หรือบางคนก็หลับมาก ไม่เล่น ไม่ร่าเริง)
.
ทีนี้ถามว่า ยารักษาเฉพาะ
แบบว่าไปฆ่าเชื้อโรคในร่างกายเลยมีมั้ย?
ตอบว่า #ไม่มี
การรักษาก็จะเป็นแบบประคับประคอง
supportive treatment หัวใจของการรักษาแบบนี้คือ
#ทำได้แค่ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้นเท่านั้น
.
ยาที่เราเรียกว่า ยารักษาตามอาการ เช่น
มีไข้ ก็ให้ยาลดไข้
คัดจมูก ก็ให้ยาลดบวมของเยื่อบุจมูก
มีน้ำมูก ก็ให้ยาลดน้ำมูก
มีอาการไอ ก็ให้ยาแก้ไอกลุ่มยาละลายเสมหะ
.
ซึ่งเป็นยาที่ใช้มาอย่างช้านานแล้วใช่มั้ยคะ
แต่จากการรวบรวมผลการศึกษาหลายๆการศึกษา
และนำมาสรุปผล (meta-analysis)
กลับพบว่า ยาลดอาการคัดจมูก ยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ นอกจากจะไม่ช่วยลดอาการหวัดของเด็ก/ไม่ช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น #ยายังมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นอีกด้วย
อย่างที่เคยเขียนในโพสต์ก่อน ว่ายาลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกเหนียวข้นขึ้น ในเด็กเล็ก
ไอไม่เก่ง ขากเสมหะไม่ได้
มีรายงานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เชื้อกระจายลงไปที่ทางเดินหายใจส่วนล่างมากขึ้น
และยาลดอาการคัดจมูก กับยาละลายเสมหะ
ก็ไม่มีผลยืนยันที่บอกว่าทำให้เด็กดีขึ้น
(คือกินกับไม่กินก็เหมือนๆกัน)
แปลว่า ไม่ต้องให้ เพราะให้ก็จะเกิดผลข้างเคียงของยาได้แถมยังไม่เกิดประโยชน์อีก
.
แต่ในผู้ใหญ่ ยาลดคัดจมูก ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ
กินยาแล้วเราก็ดีขึ้น ไม่ต้องทรมานกับน้ำมูกที่ไหลเวลาทำงาน ยาลดคัดจมูกก็ทำให้หายใจโล่งขึ้น
ดังนั้น การศึกษาในผู้ใหญ่ ยาพวกนี้ ก็จะได้ผลดีในแง่เรื่องคุณภาพชีวิต
.
👉 ข้อสรุปก็คือ ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปี ก็คล้ายกับผู้ใหญ่
คือ การให้ยาช่วยลดอาการต่างๆ ดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์ในแง่คุณภาพชีวิตตอนที่เจ็บป่วย ดีขึ้น ให้ยาได้ด้วยความสบายใจ
👉 ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
จะเป็นเด็กที่พบผลข้างเคียงจากยามากที่สุด
ในอเมริกามีข้อห้ามใช้ยาเพื่อรักษาหวัด
(Over-the-counter cold medications)
ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ตั้งแต่ปี 2008
ในเด็กกลุ่มนี้ ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าเป็นหวัดแล้วไปพบหมอเด็กจะได้มาแค่ #ยาลดไข้กับน้ำเกลือหยดจมูก
(แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใช้เป็นทางการนะคะ แพทย์บางคนยังจ่ายยาลดน้ำมูกก็ไม่ถือเป็นความผิด
เอาเป็นว่าใช้ได้ #แต่ต้องระมัดระวังมากในเด็กอายุน้อย)
ส่วนในเด็กอายุ 2-5 ปี การให้ยา
ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
ซึ่งส่วนตัวหมอเองก็จ่ายยาเหมือนกันค่ะ ตามความจำเป็น จะให้คำแนะนำแม่เป็นหลัก
.
อ่านไปอ่านมา....คุณแม่เริ่มกังวลใจใช่มั้ยคะ
ถ้ายาไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น แถมยังอาจจะมีผลข้างเคียง แล้วจะทำอย่างไรดี?
เรื่องนี้ ไม่ใช่เป็นความกังวลเฉพาะบ้านเมืองเรานะคะ
ที่อเมริกาเอง ก็พบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดอาการหวัดในเด็กมาก เค้าก็เลยเริ่มมีการศึกษา ว่าจะมีวิธีการรักษาที่ไม่ใช่ยาหรือไม่?
American Academy of Pediatrics (AAP)
มีบทความที่เขียนให้ความรู้เรื่อง
วิธีการบรรเทาอาการหวัดในเด็ก โดยไม่ใช้ยา โดยความรู้พวกนี้ก็อ้างอิงมาจากงานวิจัยทางการแพทย์
หมอจะสรุปให้ดังนี้นะคะ
❤❤ น้ำผึ้ง ( AAP เรียกสูตรนี้ว่า Sweet dreams)
น้ำผึ้ง มีการศึกษามากมาย แต่ที่ผลการศึกษาไปในทางบวก ก็คือการลดภาวะไอตอนกลางคืน
โดยแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
เพราะกลัวเรื่อง toxin ที่อาจปนเปื้อนในน้ำผึ้ง
โดยขนาดที่แนะนำคือ กินครั้งละ ½-1 ช้อนชา บ่อยแค่ไหนไม่ได้แนะนำชัดเจน แต่หมอใช้น้ำผึ้งกับลูกสาวตั้งแต่เล็กๆ (จริงๆให้ก่อน 1 ปีอีกค่ะ แต่ซื้อน้ำผึ้งที่เชื่อถือได้ มี อย.) หมอเอา 1 ช้อนชา มาผสมน้ำอุ่นสัก 10 ซีซี แล้วให้กินวันละ 3-4 ครั้ง บางบ้านเอาไปผสมมะนาวก็ได้ค่ะ หรือใครจะให้กินเปล่าๆเลยก็ได้ค่ะ
❤❤ น้ำเกลือสำหรับหยด/spray/ล้างจมูก
สำหรับตัวเอง สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หมอจะให้น้ำเกลือไป #หยดจมูก เสมอค่ะ
(อ่านโพสต์ ล้างจมูกในเด็กเพิ่มเติมนะคะ อธิบายไว้แล้ว ว่า หยด กับ ล้าง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน)
โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ยังกินนมเป็นอาหารหลัก เพราะการที่จมูกบวมและน้ำมูกอยู่ในโพรงจมูก
จะทำให้เด็กเล็กหายใจลำบากมาก
การกลืน คือต้องหายใจไปพร้อมๆกับจังหวะการหยุดหายใจ เด็กจะเหนื่อยมาก ช่วงดูดนม
เพราะฉะนั้น ก่อนกินนมคุณแม่ควรหยดจมูกด้วยน้ำเกลือให้ลูกก่อน และอีกเวลาที่จะแนะนำคือก่อนนอน
(จะทำบ่อยกว่านี้ก็ได้ #แต่เวลาที่ต้องทำเลยคือก่อนกินนมกับก่อนนอน)
ส่วนเรื่องการสวนล้างจมูก (nasal irrigation)
ควรทำมั้ยในเด็กเป็นหวัด?
ตัดสินให้ไม่ได้ แต่ให้ข้อมูลนะคะ
เพราะแต่ละบ้านก็มีความรู้สึกต่อการสวนล้างจมูกไม่เหมือนกัน
การสวนล้างจมูกนั้น ได้ผลดี ที่พิสูจน์แล้ว
คือ 1. คนไข้ที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
2.คนไข้ภูมิแพ้จมูก (allergic rhinitis) ที่มีอาการทางจมูกมากเท่านั้น และให้ร่วมกับการรักษาอื่น
การล้างจมูกในหวัด ไม่มีผลทำให้อาการดีขึ้นชัดเจน
และไม่มีการศึกษาที่ยืนยันว่า
ถ้าเป็นหวัด ล้างจมูกแล้วจะทำให้เชื้อกระจาย
เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบนะคะ
เอาเป็นว่า #เอาที่เราสะดวกเลยค่ะ
เพราะมันมีรายละเอียดเรื่อง
👉 ความร่วมมือของลูก
👉 เทคนิคการล้าง
ถ้าเด็กบ้านไหน กลัวมาก ดิ้นมาก
แนะนำว่า ไม่ต้องล้างตอนเป็นหวัดหรอกค่ะ
ยิ่งดิ้นมาก อุปกรณ์ไปกระทบเยื่อบุจมูก ทำให้บวมขึ้น
แทนที่จะดี กลับกลายเป็นผลร้าย
หรือ เด็กกลัวมาก ถ้าเป็นหมอ หมอจะรักษาหัวใจของลูกมากกว่าค่ะ
เพราะก็ไม่ได้ดีชัดเจน #ทำไมต้องทำร้ายจิตใจลูกด้วย
ที่สำคัญ ไม่ต้องล้างจมูก หวัดก็หายได้เองอยู่แล้ว
ถ้าลูกสั่งน้ำมูกเป็น ก็สั่งเองเอาน้ำมูกออกมาได้มากกว่าค่ะ แล้วค่อยเอาน้ำเกลือ spray ตาม
(ผลการศึกษาบอกว่าเด็กส่วนใหญ่ สนิทใจที่จะใช้น้ำเกลือแบบ spray มากที่สุด)
❤❤ Vapor rubs (พวกน้ำมันหอมระเหย) ซึ่งก็ใช้แพร่หลายในบ้านเราเหมือนกันนะคะ
ซึ่งจากงานวิจัย พบว่า จะช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นนะคะ AAP แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี
โดย #ทาบางบางที่หน้าอก ไม่แนะนำให้ทาใต้จมูก หรือบริเวณใบหน้า หรือทาหนาเกินไป
เพราะทำให้เด็กรู้สึกร้อนบริเวณที่ทา และเคยเจอเคสที่เยื่อบุจมูกบวมไม่หายซักที อาการเหมือนภูมิแพ้จมูก รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ท้ายที่สุดได้ข้อมูลว่า ทา vapor rub ที่จมูกให้ลูกทุกคืน (เป็นความเชื่อว่าทำให้ลูกหายใจสบาย) พอหยุดทา เด็กก็อาการดีขึ้น ดังนั้น อะไรที่มากไปย่อมไม่ดี ทำตามที่ฉลากยาแนะนำ ดีที่สุดค่ะ
.
หวัด เป็นโรคที่เราดูแลลูกได้เองที่บ้าน อาการเด็กจะดูดีตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะแย่ลง เป็นกันทุกบ้านนะคะ
ธรรมชาติของโรค วันแรกที่อาการเริ่ม อาการไม่มาก แต่วันที่อาการหนักจะเป็นวันที่ 2-4
หากผ่านช่วง peak ไปได้แล้ว หลังจากนั้น จะดีขึ้นตามลำดับ
ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ คือ แย่ลงทุกวันทุกวัน มีอาการอื่นเพิ่มทุกวัน แนะนำพาไปพบแพทย์
หรือ ถ้าคุณแม่คิดว่าลูกมีอาการที่น่ากังวล ก็ควรพาไปพบแพทย์นะคะ
.
หมอแพม
ที่มาของข้อมูล
บทความของ AAP
ที่มา​ 🚨🚨🚨
ล้างจมูกในเด็ก
#ล้างจมูกในเด็ก
เนื่องจากโพสต์ "6ข้อ ที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด"
จากคำถาม
พอจะสรุปได้ว่า คุณแม่ที่ดูแลลูกที่เป็นหวัด
อาจจะยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการใช้น้ำเกลือในการรักษาโพรงจมูกลูก
หมอจะชี้แจง ประเด็นที่สับสนกันมากๆดังนี้นะคะ
ประเด็นที่ 1
การใช้น้ำเกลือในการรักษาโพรงจมูกเด็ก เมื่อเด็กมีน้ำมูก
มี 3 วิธีนะคะ
.
1.เด็กเล็กมาก ยังคอไม่แข็ง หรือ แม่ไม่เคยได้รับการฝึกการล้างจมูกกับแพทย์หรือพยาบาลมาก่อน ให้ "น้ำเกลือหยดจมูก"
ร่วมกับการใช้ลูกยางแดง หรืออุปกรณ์ดูดน้ำมูก ที่คุณแม่ถนัด (มีหลายอย่างในท้องตลาด เอาที่เราคิดว่าเราถนัดค่ะ ยังไงก็ได้) ที่เบสิคที่สุดก็คือลูกยางดูดน้ำมูก
(หมอชอบเรียกติดปากว่าลูกยางแดง แต่จริงๆมีขายหลายสีในท้องตลาดนะคะ มีปลายเป็นซิลิโคนนิ่มๆด้วย)
แนะนำบทความของสมาคมโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ตาม link ค่ะ (มีบทความน่าสนใจเยอะเลยค่ะ)
2.การใช้สเปรย์น้ำเกลือฉีดพ่นที่โพรงจมูก
มีขายหลายยี่ห้อ แต่ที่บุกตลาดเจ้าแรก ชื่อ Mar plus (ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรใดๆนะคะ บอกข้อมูลเท่านั้น)
พวกสเปรย์น้ำเกลือพวกนี้ ไม่ได้มีแค่น้ำเกลือ เค้าจะผสมตัวยาที่ช่วยลดการระคายเคือง (emollient ) ของเยื่อบุโพรงจมูกด้วย
คือน้ำเกลือจะช่วยให้น้ำมูกที่เหนียว ละลาย ทำให้ไหลลงไป และขับออกได้ง่าย ในขณะเดียวกัน ก็จะมีตัวยาลดการระคายเคือง แต่!! การใช้สปรย์ ก็มีประโยชน์ เทียบเท่้ากับการหยดลงจมูกเท่านั้น คือ ช่วยให้น้ำมูกข้นเหนียวน้อยลง แต่ไม่ได้ผลักออกมา ร่างกายต้องกำจัดเอง
ดังนั้น ถ้าในเด็กที่มีน้ำมูกมากๆ หรือข้นมากๆ เช่นเด็กที่เป็นไซนัสอักเสบ เด็กที่มีภาวะภูมิแพ้จมูก การใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก *ไม่เท่ากับ* การใช้น้ำเกลือล้างจมูกนะคะ
3.การใช้น้ำเกลือล้างจมูก
คือการดูดน้ำเกลือปริมาณมากพอสมควร (เริ่มต้นที่ 5 ซีซี แล้วแต่อายุเด็ก และความร่วมมือ) ฉีดพ่นเข้าไปในโพรงจมูก
เช่นนี้ น้ำเกลือปริมาณมาก จะช่วยให้น้ำมูกที่เหนียวข้น เหลวขึ้น ในขณะเดียวกัน แรงดันน้ำ ก็จะผลักให้น้ำมูกไหลออกมาทางโพรงจมูกอีกข้างหนึ่ง หรือในบางคนชอบล้างแบบให้ไหลลงคง แล้วอ้าปากให้ไหลออกทางปากก็ได้
ซึ่ง ไม่เท่ากับ หยดจมูกที่เราจะหยดแค่ 2-3 หยดต่อรูจมูก 1 ข้าง
และ ไม่เท่ากับสปรย์น้ำเกลือนะคะ
(มี clip ล้างจมูกเด็กโชว์เยอะแยะเลยค่ะใน youtube)
***แต่ไม่ว่าลูกจะรับได้กับวิธีไหน ทำได้ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ***
ประเด็นที่ 2
-เริ่มฝึกเมื่อไหร่
เข้าใจกันแล้วนะคะ ว่า หยดจมูก สปรย์ฉีดจมูก กับ ล้างจมูกต่างกัน
ทีนี้ มักจะมีคนถามว่า เริ่มฝึกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
หมอเข้าใจว่าคุณแม่หมายถึง การล้างจมูกใช่มั้ยคะ
- การเอาน้ำเกลือหยดจมูก ร่วมกับ ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในเด็กเล็กนั้น ทำได้ตั้งแต่แบเบาะ เพราะเป็นทางเลือกเดียวในการลดน้ำมูกสำหรับเด็กเล็ก หมอจ่ายน้ำเกลือให้ คล้ายๆกับจ่ายยาลดไข้
ก็คือ คุณแม่ทำได้เลยค่ะ....และจะต้องมีคนบอกว่าสงสารลูก
เชื่อเถอะค่ะ ว่าหายใจไม่ออกน่าสงสารกว่ากันเยอะ
ตอนพันตัว มัดตัว หยดน้ำเกลือ เด็กร้องไห้อยู่แล้ว แต่เค้าจะเรียนรู้ว่าทำแล้ว ดูดนมได้ดีขึ้น หายใจโล่งขึ้น เป็นพื้นฐานของการฝึกล้างจมูกใน step ถัดไป
- การล้างจมูก หมอไม่มีตัวเลขชัดๆว่าให้ฝึกเมื่อไหร่
เอาจริงๆ มันคือความมั่นใจของแม่ แต่แนะนำว่าถ้าเราไม่โปร ให้ลูกคอแข็งก่อน อย่างน้อย 3-4 เดือน เพราะตอนล้าง ต้องประคองศีรษะ อีกมือหนึ่งต้องฉีดน้ำเกลือ ไหนลูกจะดิ้น ถ้าคอไม่แข็ง จะเกิดอันตรายได้ค่ะ
ประเด็นที่ 3
น้ำเกลือใช้ยี่ห้ออะไร?
ซื้อที่ไหน?
ใช้ได้เหมือนกันมั้ย?
ฯลฯ
สรุปนะคะ
น้ำเกลือ เป็น 0.9%normal saline ใช้ได้หมดเลยค่ะ
เหมือนกันทุกยี่ห้อ ในภาพ หมอ search google คำว่า
น้ำเกลือล้างจมูก ออกมาหลายยี่ห้อมากๆ
เอาที่เราซื้อสะดวก
ซื้อหลอดฉีดยาจากร้านขายยามาด้วยค่ะ
หรือเดี๋ยวนี้มีขวดสำเร็จรูปที่เอาไว้ล้างจมูกโดยเฉพาะก็ได้ค่ะ (สำหรับเด็กโต)
*** ถ้าลูกยังเล็กใช้ไม่เยอะ ไม่ต้องซื้อขวดใหญ่มาค่ะ เอาที่ใช้หมดต่อการป่วยครั้งนั้นๆ***
ประเด็นที่ 4
- บ่อยแค่ไหน
*** ถ้าเป็นเด็กเล็ก ใช้วิธีหยดจมูก ร่วมกับดูดด้วยลูกยางแดง
แนะนำว่าให้ทำ ก่อนมื้อนมตอนกลางวัน และก่อนนอน
ทำตอนลูกท้องว่าง ก่อนกินนมมื้อถัดไป อาจจะไม่ต้องทุกมื้อ ให้แม่ดูว่าเค้าอึดอัดมากน้อยแค่ไหน...แต่ที่ต้องทำแน่ๆคือตอนก่อนนอน เพราะจะช่วยให้หายใจดีขึ้น
**** การล้างจมูก...ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน
- น้ำเกลือ ตั้งที่อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องแช่เย็นนะคะ ไม่เอาน้ำเกลือเย็นๆล้างจมูกนะคะ เพราะว่าความเย็นกระตุ้นให้หลอดลมหดเกร็งได้นะคะ
ใช้ไม่หมดตั้งไว้ในอุณหภูมิห้องแหละค่ะ ไม่ต้องเอาไปเข้าตู้เย็น
หวังว่าจะทำให้คุณแม่เข้าใจ และมีความมั่นใจในการใช้น้ำเกลือเพื่อช่วยรักษาภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้นนะคะ
หมอแพม
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก
ที่มา🚨🚨🚨
งานเลี้ยงลูกอย่างไรในยุค 4.0
ช่วงแรก “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้”
มาเริ่ม Topic แรกของเพจกันด้วยเรื่องเบาๆกันก่อน
Common cold (โรคไข้หวัด) และ acute pharyngitis (โรคคออักเสบ)
เรื่องที่เหมือนจะง่าย แต่บางทีก็ไม่ง่าย
แอดพยายามสรุปประเด็นสำคัญจาก CPG respiratory tract infection ของสมาคม Chest เด็ก ปี 2562 ล่าสุดมาให้ได้อ่านกัน
เพราะเป็นอาการที่เราพบได้บ่อยสุดเมื่อเด็กมารพ.
หวังว่าจะพอเป็นไอเดียให้กับชาวป๊อดปอดได้นะครับ
ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไข้หวัด – เจ็บคอ ซึ่งมักพบบ่อยในเด็กอายุ 2 – 5 ปี มากกว่าร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งสามารถหายได้เอง พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กกินยามากเกินไป โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งไม่สามารถรักษาอาการไข้หวัด – เจ็บคอที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ และยังเป็นอันตรายอาจทำให้เด็กแพ้ยาเพิ่มความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก ที่สำคัญคืออาจเหนี่ยวนำให้เด็กเกิดเชื้อดื้อยาซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว
สำหรับอาการหวัด – เจ็บคอ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบดูเองได้ง่ายๆ โดยให้เด็กอ้าปาก ใช้ไฟฉายแสงขาวส่องดูในคอ หากไม่มีตุ่มหนองที่ต่อมทอนซิล และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กดใต้ขาไกรกรรแล้วเด็กไม่เจ็บ แสดงว่าเกิดจากเชื้อไวรัสไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
แค่ให้เด็กดื่มน้ำอุ่นมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้เหงื่อออกบ้างเล็กน้อย และดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หากตัวร้อนเป็นไข้ให้เช็ดตัวหรือกินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ สำหรับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกมากและสั่งน้ำมูกไม่เป็น อาจใช้อุปกรณ์ช่วยดูดน้ำมูกออกเพื่อให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในประเทศที่เจริญแล้ว​ จะมีชุดตรวจที่เรียกว่า​ rapid strep test (RST) เอาไว้ตรวจเพื่อยืนยันว่าอาการเจ็บคอที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย​สเตรปโตคอคคัส
โดยจะใช้กับผู้ที่ทำ Centor criteria หรือ​ FeverPAIN score แล้วได้คะแนน 2 หรือ​ 3 ก็จะใช้​ RST.ยืนยันอีกครั้งว่าติดเชื้อแบคทีเรียจริงๆ​ มีเหตุผล​สมควรที่จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
สำหรับประเทศด้อยพัฒนา​ผู้ไม่กลัวการเกิดเชื้อดื้อยา​ ก็จะสรรหายาปฏิชีวนะในรูปแบบต่างๆมาไว้ใช้​ คนมีตังค์​หน่อยก็จะเก็บยา​ ZITHROMAX​ ยา​ CRAVIT. ยา​ MEIACT เอาไว้ใช้ประจำบ้าน​
คนฐานะด้อยลงมาหน่อยก็จะกินยากาโน่ ยาอะม็อกซี่​ ยาทีซีมัยซินกันเป็นว่าเล่น แถมซื้อยาอะม็อกซี่คลาฟให้เด็ก​ ซื้อยาอะม็อกซี่ให้เด็กกิน ทั้งๆที่เภสัชกรประจำร้านยาต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า​ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ​โดยไม่มีเหตุผล​ที่เหมาะสม​ จะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา​ เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้อง​ใช้ยาจริงๆกลับหายามารักษา​ไม่ได้​ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็หวนกลับคืนมาไม่ได้​ ว่าถ้ารู้อย่างนี้​ ฉันจะไม่ทำอย่างที่เคยทำมาในอดีต
antibiotics do not help when a sore throat has viral origins, so rapid antigen tests would be extremely useful to determine the cause of acute pharyngitis. Administering the antigen tests would also help physicians properly diagnose and prescribe medication for patients with sore throats. Based on data from multiple trials, there was a large reduction in prescribed antibiotics when a rapid test was used.
A rapid antigen test should be ordered for individuals who have a modified Centor or FeverPAIN score of 2 or 3 to help diagnose a group A beta-hemolytic streptococcal (GABHS) INFECTION.
Centor criteria สำหรับ group A streptococcus และแนวทางการให้ยาปฏิชีวนะ ในผู้ป่วยเจ็บคอ
190812
​UPDATED 2022.01.23
บทความ​อื่น
😪โรคหวัด​ / Common cold
💉FLU VACCINE
โฆษณา