11 ก.ค. 2019 เวลา 05:30 • การศึกษา
การกระทำความผิดโดยเจตนา กับ การกระทำความผิดโดยประมาท แตกต่างกันอย่างไร ... .
วันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงการกระทำความผิดโดยเจตนาและ การกระทำความผิดโดยประมาท ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาก็ต่อเมื่อ ได้กระทำความผิดโดยเจตนา หรือ กรณีที่กหมายกำหนดโทษให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยประมาท
การกระทำความผิดโดยเจตนานั้น กฎหมายบัญญัติไว้ใน ม.59 วรรค2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่ง หมายถึง การกระทำผิดอาญาที่ผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความผิด แล้วยังทำลงไปทั้งๆที่รู้สำนึกในการกระทำ
1
🖊 การกระทำความผิดโดยเจตนาแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1) เจตนาตามความจริง ประกอบด้วย
1.1) เจตนาประสงค์ต่อผล ซึ่งเป็นการทำไปโดยต้องการให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้นตามที่ผู้กระทำต้องการ เช่นความผิดฐาน ฆ่าคนตายตาม ม.288 ผลในที่นี้คือความตายของผู้ถูกกระทำ สมมุติว่า หนึ่งเอาปืนจ่อขมับ สอง แสดงว่า หนึ่งต้องการให้สองตาย (มุ่งหมายให้เกิดผลนั้น) เพราะขมับเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เมื่อถูกยิงก็อาจตายในทันที หนึ่งจึงมีเจตนาฆ่าโดยประสงค์ต่อผล
1.2) เจตนาย่อมเล็งเห็นผล เป็นกรณีที่ผู้กระทำไม่ต้องการให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น แต่รู้ว่าหากลงมือทำไปแล้ว ต้องเกิดผลเช่นนั้นขึ้นอย่างแน่นอน เช่นใช้ก้อนหินขว้างไปในเรือซึ่งกำลังแล่นอยู่ และมีคนจำนวนมาก เป็นเจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลว่า ก้อนหินอาจถูกใครคนใดคนนึ่งได้ ซึ่งเป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 2548/2544
📌📌 ในการกระทำความผิดครั้งหนึ่ง ผู้กระอาจมีเจตนาประสงค์ต่อผล และขณะเดียวกันก็มีเจตนาที่จะกระทำความผิดอื่นโดย เล็งเห็นผลได้อีก📌📌
2) เจตนาโดยผลของกฎหมาย(เจตนาโดย พลาด)เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า การกระทำแบบนี้คือเจตนา โดยพลาดนะ ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล กับ บุคคล ซึ่งได้รับผลร้าย และขณะเดียวกันก็ ไม่เล็งเห็นผลว่าจะเกิดขึ้นแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายด้วย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ เจตนาย่อมเล็งเห็นผลมากๆ
 
🎯เช่น นาย A ต้องการจะฆ่านายB จึงใช้ปืนยิง กระสุนปืนถูกบริเวณ หัวไหล่ บ่งชี้ว่าเป็นการยิงไปยังส่วนบนของร่างกาย ซึ่งนายA ประสงค์ต่อผลว่ากระสุนปืนอาจถูกนาย B ถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นการกระทำเจตนาฆ่า และกระสุนยังไปโดน นายC บริเวณไหปลาร้า ต้องถือว่า A กระทำโดยเจตนาฆ่า C เช่นเดียวกัน เมื่อ ผลของการกระทำยังไม่บรรลุผล(B ไม่ตาย) A ก็คงมีความผิดฐานพยายามฆ่า B และ C โดยพลาด
🖍 จะเห็นนะครับว่า การกระทำความผิดโดยเจตนานั้น ไม่ว่าจะเจตนาประสงค์ต่อผล ย่อมเล็งเห็นผล หรือ พลาด ล้วนแล้วแต่ต้องเป็นการตั้งใจโดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่ก็ทำลงไป จึงเป็นที่มาของ ฆ่าคนตายโดยเจตนา .. .
1
📍📍 การกระทำโดยประมาท คือการกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆ ที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมี ตามวิสัยและ พฤติการณ์ แยกพิจารณาองค์ประกอบได้คือ
 
1) เป็นการกระทำความผิดโดยมิใช่เจตนา
2) เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและ พฤติการณ์
- เป็นการนำบุคคลทั่วๆไปในภาวะเช่นนั้นมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะต้องเป็นภาวะเช่นเดียวกัน
- วิสัย เป็นลักษณะสภาพของผู้กระทำความผิดเอง ว่าจะมีวิสัยในการใช้ความระมัดระวังเพียงใด แบ่งออกเป็น
ก) วิสัยของคนธรรมดา แยกออกเป็น เพศ อายุ ประสบการณ์ เราจะเอาเด็กมาเปรียบเทียบกับ ผู้ใหญ่ไม่ได้
ข) วิสัยของผู้มีวิชาชีพ เช่นผู้มีวิชาชีพใดก็ต้อง ใช้ความระมัดระวังอันเป็นวิสัยของผู้ประกอบอาชีพนั้น เช่นแพทย์ ต้องใช้ความระมัดระวังเช่นแพทย์ จะใช้ความระมัดระวังอย่างคนธรรมดาเปรียบเทียบกันไม่ได้
-พฤติการณ์ เป็นเหตุการณ์ภายนอกผู้กระทำ เช่น สภาพรถ กลางวัน กลางคืน ฝนลื่นขณะฝนตก
3
3) ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ กล่าวคือ ถ้าผู้กระทำขาดความระมัดระวัง ตามวิสัยและ พฤติการณ์ มันจะไม่เป็นการกระทำโดยประมาท ซึ่งจะเป็นการกระทำโดยประมาทได้ ต้องสามารถใช้ความระมัดระวัง ได้ แต่ไม่ได้ใช้ให้เพียงพอ เช่น
 
🏎 A ขับรถไปตามถนนที่มีคนเดินพลุกพล่านด้วยความเร็วสูง ซึ่งอาจเชี่ยวชนคนที่เดินบนถนนได้ นายA สามรึใช้ความระมัดระวังโดยการลดความเร็วลงได้ แต่ไม่ทำ เมื่อชน เฉี่ยวชน คนก็เป็นการกระทำโดยประมาท
🛵 การกระทำโดยประมาทนั้น จะแตกต่างจากการกระทำโดยเจตนาอย่างสิ้นเชิง โดยการกระทำโดยประมาทจะเป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่งเราต้องแยกให้ออกว่าอันไหนคือเจตนาก่อน
🏂 หวังว่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยสำหรับ การกนะทำความผิด โดยเจตนา และ ประมาท
⚽️ ฝากกดไลค์ กดติดตาม และแชร์เพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนกันเยอๆ นะครับ
🍭หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้เขียนต้องกราบขออภัยมาด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
โฆษณา