12 ก.ค. 2019 เวลา 04:34 • การศึกษา
อย่างไรถึงจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แล้วอะไรคือการยักยอกทรัพย์ ... .😵😵
สวัสดีครับ 🙏🏻🙏🏻 วันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในฐานความผิดลักทรัพย์ กับ ยักยอกทรัพย์ เคยสังเกตกันมั้ยครับว่า เมื่อมีการขโมยของ ของหาย ก็จะมีการถกเถียงกันว่า เอ่ เป็นการลักทรัพย์ หรือยักยอกกันแน่ วันนี้เลยจะมาอธิบายให้เข้าใจกันนะครับ
เริ่มที่ความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ผู้เขียนขอตั้งเงื่อนไขไว้ 3 ข้อคือ
 
1) เป็นการเอาไป หมายถึง การเอาไปจากความครอบครองของผู้อื่น เป็นการแย่งการครอบครองในลักษณะอยากได้มาเป็นของตัวเอง(ตัดกรรมสิทธิ์) แต่สำคัญตรงว่า ทรัพย์ต้องมีการเคลื่อนที่ ถึงจะเป็นความผิด สำเร็จ
2) ของผู้อื่น หรือ ผู้อื่นเป็นเจ้าของ หมายความตามตัวเลยครับ
3) โดยทุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือ ผู้อื่น เช่น
a เอารถ b ไปทิ้งลงน้ำ เพื่อแอบไม่ให้หาเจอ ไม่ใช่ต้องการจะเอาไป ทำลายทำให้พัง 😱😱
🚦 เป็นไงบ้างครับมาถึงตรงนี้ เข้าใจเพิ่มขึ้นกันมั้ยครับ จำไว้นะครับว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ต้องครบ 3 เงื่อนไขอันนี้ ขาดข้อใดข้อนึงไปไม่ได้
ต่อมา เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ซึ่งอยู่ใน มาตรา 352 โดยขอแยกองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ออกเป็น 3 ข้อคือ
1) ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การครอบครองในที่นี้ต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ใช่ยึดถือแทนผู้อื่น การยึถือแทนผู้อื่นเช่น เพื่อนฝากของก่อนเข้าห้องน้ำ อะไรทำนองนี้
2) เบียดบังเอาทรัพย์ไป เป็นการเอาไปในลักษณะ เพื่อตนเอง (ตัดกรรมสิทธิ์)
3) โดยทุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เหมือนกับของลักทรัพย์นั้นแหละครับ
🧘🏻‍♂️ เป็นไงบ้างครับ กับความผิดทั้ง 2 ฐานนี้ มีความคล้ายกันไม่น้อยใช่มั้ย ครับ
เราจะเห็นว่า ...
A) ในความผิดฐานลักทรัพย์นั้น ทรัพย์ที่ถูกลักนั้น ต้องอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นขณะเอาไป แต่ความผิดฐานยักยอก ทรัพย์อยู่กับผู้ยักยอกก่อน ก่อนที่ผู้ยักยอกจะเบียดบังเป็นของตัวเอง
 
B) ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้กระทำมีเจตนาทุจริตก่อนที่จะเอาทรัพย์นั้นไป แต่ความผิดฐานยักยอกนั้น ทรัพย์อยู่ในความครอบครองก่อนแล้วจึงมีเจตนาทุจริตภายหลัง(เบียดบัง)
 
C) กรณีของหาย หากเจ้าของยังติดตาม หาของอยู่(ยังไม่สละการครอบครอง) ถ้าเอาทรัพย์นั้นไปจะเป็นลักทรัพย์ แต่หากนานมากแล้ว (สละการครอบครอง) หากเอาไปจะเป็นยังยอก
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ ก่อนจากกันขอลากันด้วย
“ กลลวงของการหมกมุ่นครุ่นคิด คือ มันดูหมือนว่าจะไม่มีประโยชน์ แต่กลับไม่ทำให้อะไรเกิดขึ้นและคุณเองก็ไม่เริ่มแก้ปัญหาเสียที “
💐 💐💐ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ กันเยอะๆๆนะครับ 🌸🌸🌸
ภาพจาก Arist ขอบคุณครับ
โฆษณา