27 ก.ค. 2019 เวลา 02:25 • การศึกษา
ชีวิตตั้งเเต่เรียนหมอจนถึงเริ่มสมัครเป็นเเพทย์เฉพาะทาง ยาวนานเเค่ไหนลำบากอย่างไร มาดูกัน!!!! ตอนที่ 1
http://oknation.nationtv.tv/blog/suthichai/2013/12/25/entry-1
เนื่องจากปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่เริ่มสมัครเรียนต่อเป็น เเพทย์เฉพาะทางซึ่งตัวผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั้น จึงอยากจะเขียนย้อนความหลัง ถึงชีวิต นักศึกษา จนจบมาทำงาน เพื่อเป็นตัวอย่างคร่าวๆสำหรับน้องๆที่สนใจ หรือผู้ปกครองที่อยากให้ ลูกเรียนเป็นหมอนะครับ
(ปล บทความนี้ผู้เขียนเขียนจากประสบการณ์ตัวเองเมื่อหลายปีก่อน รูปเเบบการเรียนเเละการสมัครอาจจะมีเปลี่ยนเเปลงไปได้บ้าง เเต่ในภาพรวมน่าจะยังคล้ายๆเดิม )
1
เมื่อประมาณ เกือบๆ 9 ปีก่อนผมได้สมัครสอบ กสพท เเละได้สอบเข้า โรงเรียนเเพทย์ในกรุงเทพเเห่งหนึ่ง ซึ่งตัวผมก็ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ทำงานเกี่ยวกับ งานสาธารณสุขเลย ตอนนั้นก็ไม่รู้ถึงชีวิตการเรียน หรือการทำงานเกี่ยวกับหมอเลย รู้เเค่สอบติดก็เรียนไปก่อน !!!
https://www.theactkk.net/home/homenew1/DetailsNews.asp?TID=5453
ซึ่งการเข้าเรียน เเพทย์ก็มีหลายทางนะครับก็คือ มีสอบรับตรง กสพท หรือโครงการ cpird เเละโครงการ odod ซึ่งรายละเอียดการใช้ทุนจะไม่เหมือนกันนะครับ ซึ่งจะมีผลอีกที ตอนเรียนชั้นคลินิค(ปี4-ปี6)การชดใช้ทุนเเละตอนเรียนต่อเฉพาะทาง
ปี หนึ่ง สถาบันที่ผมไปเรียน ปีหนึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่สบายที่สุดในชีวิตรั้วมหาลัย เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเลือก นอกคณะเเพทย์ ชีวิตส่วนใหญ่ผมจึงเป็นเดินเล่นเพื่อไปเรียนคณะอื่นทั่วมหาวิทยาลัย เเละก็มีกิจกรรมรับน้อง หรือกีฬามหาวิทยาลัยบ้าง โดยภาพรวม เป็นช่วงพักผ่อนได้รู้จักเพื่อนคณะอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นช่วง เฟรชชี่นั่นเอง !!!!
1
http://www.trueplookpanya.com/blog/content/58914
ปีสอง เป็นปีที่หลุดจากการ เรียนวิชานอกคณะต่างๆเเละกลับมาเรียน วิชาเเพทย์อย่างเต็มตัวหลักๆของปีสอง ก็คือ การผ่าอาจาร์ยใหญ่ เพื่อเรียนรู้กายวิภาคของมนุษย์ ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเรียนหนักขึ้นเเละมีการเรียนที่เป็นหมอมากขึ้น เเละมีการสอบในคณะที่ จะเรึ่มตัดเกรดกันในคณะนั่นเอง
https://campus.campus-star.com/variety/3977.html
ปีสาม เป็นที่เน้นเรียน เลคเชอร์เป็นหลักเเละวิชาที่เรียนรู้ก็เป็น พวกสรีระวิทยา เภสัชวิทยา เป็นต้น มีงานกลุ่มเเละทดลองในห้องเเลปบ้าง มีการสอบเป็นระยะ เเละช่วงจบปีสามก่อนขึ้นปีสี่จะมีการสอบ ใบประกอบโรคศิลป์ครั้งที่ 1 (มีการสอบใบประกอบ 3 ครั้งเนื้อหาจะไม่เหมือนกันในเเต่ละครั้ง )
ปีสี่ เป็นปีเริ่มต้นของการเรียนของระดับ
คลินิค (การเรียนชั้นคลินิค คือการเรียนที่เรียนไปพร้อมกับการดูเเลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยต่างๆ)เป็นปีที่ นักเรียนที่สอบด้วยระบบ กสพท ก็จะอยู่ที่ รพในมหาวิทยาลัยเหมือนเดิม ส่วนนักเรียน โควต้า cpirdกับ odod จะเเยกย้ายไปตามรพ ศูนย์จังหวัดต่างๆตามโควต้าที่สอบมา ชีวิตปีสี่ จะได้ใส่เสื้อกาวยาวเเละจะเรึ่มเข้าใกล้ชีวิต หมอมากขึ้น ได้เรียนโรคต่างๆกับผู้ป่วยจริงๆ เเม้ว่าหลักๆ จะเป็นเรื่องซักประวัติเเละตรวจร่างกาย เเละทำหน้าที่จิปาถะ ในหอผู้ป่วยในต่างๆ อาทิเช่น ลอกผลเเลป ทำเเผลผู้ป่วย เจาะเลือดเป็นต้น มีการพรีเซ้นเคสผู้ป่วยต่างๆ ที่จะมีผู้ดูเเลโดยอาจาร์ยเเพทย์ที่จะคอยให้ความรู้ตลอด
1
โดยหอผู้ป่วยที่นักเรียนปีสี่วน จะเป็นหอผู้ป่วย อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม เเละกุมารเวชกรรม ซึ่งถือเป็นหอผู้ป่วยพื้นฐาน หรือ major ward เเละจะต้องเข้าเวรถึงประมาณเที่ยงคืน
ปีสี่เป็นปีที่เริ่มหนักขึ้นเเต่ก็มีความเป็นหมอ
เพึ่มมากขึ้น
https://siam.edu/th/พิธีมอบเสื้อ-แพทย์ปี4-3/
ปีห้า เป็นปีที่เหมือนปีพักของการเรียนชั้น คลินิค ปีห้ามักจะวนตาม วอร์ดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ major ward อาทิเช่น กระดูก ตา หูจมูก เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ดมยา เป็นต้น โดยทั้งหมดเรียก minor ward ซึ่งรวมๆก็งาน ค่อนข้างสบายกว่า major ward เเต่งานที่ปฎิบัติก็คล้ายๆปีสี่ เเละยังมีเวรถึง เที่ยงคืน โดยที่ช่วงจบปีห้าจะมีการสอบ ใบประกอบโรคศิลป์ครั้งที่ 2 !!!!
ปีหก เป็นปีสุดท้ายของการเรียนเเพทย์ ซึ่งจะมีคำเรียก ว่า extern จะได้เสื้อกาวน์สั้นเหมือนหมอจริงๆ
ปีนี้ก็จะกลับไปวน major wardใหม่หมด เเละเพึ่มด้วย minor ward บางอันที่มีจำนวนผู้ป่วยเยอะอย่างเเผนกกระดูก เเต่หน้าที่เปลี่ยนไปมากโดย จะเรึ่มทำหน้าที่หมอจริงๆมากขึ้น ต้องอยู่เวรถึงเช้าอีกวันเเละทำงานต่อ !!!!! เริ่มมีรับ notify เคสเอง รวมถึงต้องฝึกทำหัตถการที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้อาทิ ใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเป็นต้น โดยหลายๆสถาบันจะส่ง extern ไปประจำตาม โรงพยาบาลศูนย์ตามต่างจังหวัด เพื่อไปฝึกประสบการ์ณ เมื่อให้พร้อมเป็นเเพทย์จริงๆ
4
ซึ่งก่อนจบ extern จะมีการสอบใบประกอบโรคศิลป์ครั้งที่ 3 เเละเป็นครั้งสุดท้ายโดยผู้ที่จะเป็น หมอในเมืองไทยได้ต้องผ่าน ใบประกอบโรคศิลป์ทั้งสามครั้งเท่านั้น รวมถึงต้องสอบผ่านการสอบของโรงเรียนเเพทย์นั้นๆด้วย
เเล้วเรียนจบหมอเเล้วยังไงต่อ???
หลังจากจบหมอจะเรียก ว่าเข้าสู่ช่วงทำงานหรือ เรียกว่าช่วงใช้ทุน
เนื่องจากเเพทย์ที่เรียน โรงเรียนเเพทย์รัฐบาลในเมืองไทยจะถือว่ารัฐเป็นผู้อุดหนุนค่าเล่าเรียน เเละจะต้องชดใช้ทุนโดยการทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาล เป็นระยะเวลา 3 ปี
โดยถ้าเป็นกลุ่ม cpird เเละ odod จะไปใช้ทุนตาม โรงพยาบาลศูนย์ตามจังหวัดที่สัญญากำหนดไว้ตอนต้น เเต่กลุ่มกสพท จะต้องมาคิดว่า จะเอาไงต่อ อาจจะเป็นเลือกจับฉลากพื้นที่ใช้ทุน คือจะมีวันจับฉลากเเละไปใช้ทุนตามจังหวัดจับฉลากได้(ซึ่งบรรยากาศตอนจับฉลากเสียวมากครับ เพราะส่วนใหญ่ก็ไม่อยากไกลบ้านกันเรียกได้ว่ามีการบนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศกันเลยทีเดียว) ซึ่งหลังจับฉลากได้ ใช้ทุนปีที่หนึ่ง ก็จะไปวนตาม โรงพยาบาลศูนย์ที่จับฉลากได้ เเละ ใช้ทุน ปี 2เเละ 3 ก็ต้องไป โรงพยาบาลชุมชนตามที่กำหนดไว้จากจับฉลากเช่นกัน
2
บรรยากาศการจับฉลากใช้ทุน ที่มาhttp://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2011/04/L10407587/L10407587.html
หรือ มีอีกทางคือ ฟิควอร์ด!!
ฟิควอร์คก็คือ จะใช้ทุน 1 ปี ในโรงพยาบาลที่เราเป็นผู้เลือก เเละใช้ทุนปี 2,3 ก็จะวนเเต่สาขาที่เราเลือก ในโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ อาทิเช่น ฟิควอร์ด อายุรกรรม ใช้ทุนปีเเรก ก็ไปวนตามรพ ที่เราเลือก เเต่ใช้ทุนปี 2,3 ก็จะไปวนเเต่เเผนก อายุรกรรมในรพ ที่เราเลือก เป็นต้นซึ่งการฟิคช่วงหลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น บางที่อาจจะมีการเเข่งเพื่อคัดเลือกกันนะครับ
1
ที่จริงมี ในการใช้ทุนมีรูปเเบบเเละรายละเอียดมากกว่านี้เเต่ผม บรรยายไม่ไหว เลยขอเล่าคร่าวๆเท่านี้ก่อน เอาไว้ตอนหน้าผมจะขอเล่า ชีวิตตอนใช้ทุนซึ่งสำหรับผมถือว่าเป็นไฮไลท์ ของการชีวิตการเป็นหมอเลยก็ว่าได้เเละการเรียนต่อเฉพาะทางนะครับ
หวังว่าผู้อ่านจะสนุกเเละได้ความรู้นะครับ
ที่มา ประสบการ์ณของผู้เขียนเองถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือรายละเอียดไม่ตรงกับสมัยปัจจุบันก็ขออภัยด้วยครับ
โฆษณา