5 ส.ค. 2019 เวลา 11:08 • ประวัติศาสตร์
ถนนข้าวสาร มีความเป็นมายังไง ไปอ่านกัน ⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️⬇️
ที่มา : Thaiger
เป็นถนนสายสั้นๆ ในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร
เริ่มต้นจาก ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงคราม ตัดไปตามตรอกเดิมที่เรียกว่า ตรอกข้าวสาร ถึงถนนตะนาว ใกล้ 4 แยกคอกวัว ยาวประมาณ 400 เมตร
ชื่อถนนข้าวสาร เป็นนามพระราชทาน ตามตรอกข้าวสาร
เล่ากันว่า ตรอกนี้สมัยก่อนเป็นแหล่งค้าข้าวสารที่ใหญ่ที่สุดของเขตพระนคร
ข้าวสาร ที่มา : Ricedee
ข้าวสารเหล่านี้ส่งมาจากฉางข้าวสารหลวง สะพานข้างโรงสี ริมคลองคูเมืองเดิม เลียบมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
แล้วจึงขึ้นที่ ท่าเรือบางลำพู เพื่อนำมาค้าขายให้กับชาวบ้านในบริเวณนั้น
ต่อมา เนื่องจากตรอกข้าวสารมีขนาดเล็ก ต่อมา จึงมีการขยายให้ใหญ่เป็นถนน
ถนนข้าวสารตัดขึ้นใน พ.ศ. 2435
ครั้งที่สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็น เสนาบดีว่าการกระทรวงโยธาธิการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่มา : mgronline
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า ถนนข้าวสาร
เดิมทั้ง 2 ข้างถนนเต็มไปด้วยห้องแถวไม้
เป็นย่านที่พุทธศาสนิกชนไปหาซื้อธูปเทียน จากร้านฟั่นเทียน
เครื่องอัฐบริขาร หนังสือธรรมมะและเครื่องสังฆภัณฑ์จากร้าน ส.ธรรมภัคดี (สม พ่วงภัคดี เจ้าของร้าน) ซึ่งเป็นร้านชื่อดังและเก่าแก่ ในถนนนี้
ต่อมาสังคมเปลี่ยนผ่าน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวในประเทศมากขึ้น
เจ้าของสถานที่จึงแบ่งที่พักบนถนนข้าวสารให้เข้าพักในราคาถูก
หลังจากนั้น มีที่พักถูกตั้งขึ้นในบริเวณนี้อย่างมากมาย
ถนนข้าวสารจึงกลายเป็นย่านที่พัก ที่มีราคาถูก
ย่านนี้เป็น ย่านการค้า ทั้งกลางวันและกลางคืน
มีสินค้าหลากหลาย รวมถึงธุรกินอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร บริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บาร์เบียร์ บริษัทนำเที่ยว เป็นต้น
ถนนข้าวสารจึงได้รับการยอมรับว่า เป็นย่านบันเทิงราตรีที่สำคัญแห่งหนึ่วของกรุงเทพมหานคร
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งถนนจะคลาคล้ำไปด้วย ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากทั่วทุกสารทิศ
ถนนข้าวสารช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่มา : The Thaiger
หากท่านผู่อ่าน มีเวลาว่าง ขอแนะนำให้ลองไปเที่ยวในถนนข้าวสารกันดูนะครับ มีความสนุกที่รอไปสัมผัสกันอยู่นะครับ
หากชอบ content นี้
กด "like"
กด"Share"
กด " Follow "
เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ
ที่มา : ถนนน่ารู้ในกรุงเทพ (กฤษณา สินไชย)
โฆษณา