12 ส.ค. 2019 เวลา 08:40 • สุขภาพ
PARACETAMOL
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2186936678082096&id=325980554177727
🍷🍾เมื่อใช้ยา​ #พาราเซตามอล​ ร่วมกับ​#แอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะแอลกอฮอล์-อะเซตามีโนเฟน ซินโดรม (alcohol-acetaminophen syndrome) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะนี้อาจนำไปสู่​#ตับล้มเหลวเฉียบพลัน
🍻🛌ขณะที่มีการเผาผลาญแอลกอฮอล์ เอนไซม์ที่เป็นพิษจะถูกปล่อยออกมา ภาวะแอลกอฮอล์-อะเซตามีโนเฟนซินโดรมที่เร่งอัตราการเผาผลาญแอลกอฮอล์ ก็จะเท่ากับเร่งการปล่อยสารพิษออกมาด้วย และเมื่อสารพิษนี้สะสมอยู่ในตับ ก็จะนำไปสู่การเป็นพิษต่อตับ และในท้ายที่สุด ก็จะทำให้ตับล้มเหลว และเกิดความเสียหาย
🍾🍺ก่อนใช้ยาพาราเซตามอล คุณควรจะคำนึงถึงปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะของตับของคุณด้วย ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานาน แม้จะดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ก็อาจจะทำให้มีปริมาณของกลูตาไธโอน (glutathione) ในร่างกายไม่มากพอ ซึ่งกลูตาไธโอนนี้ เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการล้างสารพิษ การที่ปริมาณของกลูตาไธโอนลดลง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่ตับ แม้จะรับประทานยาพาราเซตามอลในขนาดที่น้อยก็ตาม
👺👹ตับมักจะต้องใช้เวลาถึง 5 วันในการกำจัดแอลกอฮอล์ไปจนหมด และใช้เวลามากกว่านั้น ในการกำจัดยาพาราเซตามอล ดังนั้น
🎯จึงควรรออย่างน้อยห้าวันหลังจากดื่มสุรา ก่อนจะใช้ยาพาราเซตามอล นอกจากนี้
🎯คุณควรรออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่คุณใช้ยาพาราเซตามอล ก่อนจะกลับมาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกครั้ง
🎯ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาว ควรละเว้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากต้องการรับประทานยาพาราเซตามอล หรือไม่ก็พิจารณาเรื่องการใช้ยาชนิดอื่น
🎯ไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอล สำหรับการรักษาอาการปวดหัว ที่มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาการเมาค้าง
🍷💊⛔พาราเซตามอล กับ แอลกอฮอล์ ส่วนผสมอันตรายที่คุณอาจไม่เคยคิด https://www.sanook.com/health/12397/
อ่านเพิ่มเติม
🍾💊⛔Beware of paracetamol use in alcohol abusers: a potential cause of acute liver injury - New Zealand Medical Journal https://www.nzma.org.nz/journal/read-the-journal/all-issues/2010-2019/2013/vol-126-no-1383/cc-manchanda
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2186961044746326&id=325980554177727
👨‍👩‍👦‍👦กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับนั้นจะยิ่งเพิ่มโอกาสอาการเกิดภาวะ​ #ตับเป็นพิษ​ (hepatotoxicity) และอาการ​#ตับวายเฉียบพลัน​ ได้ (acute liver failure) แม้ว่าไม่ได้รับประทานเกินขนาดก็ตาม
👨‍👨‍👧‍👧กลุ่มคนเหล่านี้ได้แก่ ผู้ที่​#ติดสุราเรื้อรัง​ หรือดื่มเป็นประจำ, #ผู้สูงอายุ​ , มีประวัติครอบครัวเป็น​#โรคตับ​ , ผู้ที่มีประวัติหรือมีโอกาสเป็น​#ไวรัสตับอักเสบ​ , ผู้ที่รับประทานยาชนิดอื่นเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
🌼โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีภาวะเนื้อเยื่อตับถูกทำลายและผิดปกติ โอกาสที่การทำงานของตับจะกลับคืนสู่สภาพปกติจะยากกว่าคนทั่วไป จึงทำให้มีโอกาสเกิดภาวะความเป็นพิษของยาต่อตับนั้นรุนแรงกว่าคนปกติ แม้ว่าไม่ได้ใช้เกินขนาดก็ตาม
🎯“ #พาราเซตามอล” เสี่ยงตับเป็นพิษ–วายเฉียบพลัน – โรงพยาบาลราชวิถี https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3837
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2186993331409764&id=325980554177727
☹️ณ วันนั้นเลยตัดสินใจไม่ขออยู่บนโลกนี้แล้ว ... แบบจริงจัง (นับเป็นครั้งที่ 11 ของการพยายามฆ่าตัวตาย)
☹️ด้วยความโง่เง่าของเราคราวนั้น จึงหยิบยาพาราฯมากินหมดกล่อง 50 เม็ด ตามด้วยยาแก้แพ้มีฤทธิ์ง่วงซึมอีก 50 เม็ด ... ด้วยความเชื่อว่าจะได้นอนหลับแล้วจากไปอย่างมีความสุข ... แต่มันเป็นความเชื่อที่ผิดนะฮ้าบ เพราะฤทธิ์ของมันทำให้นอนหลับก็จริง แต่คุณจะไม่ตาย ตรงกันข้าม เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในสภาพเจียนตายนั้น คุณจะต้องทุกทรมานกับการอ้วกอย่างรุนแรง หากไม่มีใครช่วยคุณคุณถึงจะได้ตายสมใจ หลังจากทรมานดิ้นพราดครึ่งวัน เพราะยาพาราที่กินไปเกินขนาดจะไปทำลายเม็ดเลือด ร่างกายคุณจะซีด และส่งผลให้ทุกอย่างผิดปกติ หากสรุปสั้นๆก็คือ "โคตรทรมาน"
☹️วันนั้นข้าพเจ้าก็เช่นกัน ตื่นขึ้นมาแล้วก็อ้วกๆๆๆๆๆ อ้วกๆๆๆๆๆ สุดท้ายจึงเป็นลมนอนอยู่ตรงพื้นห้องน้ำ พอฟื้นคืนสติก็รู้สึกทรมานมาก เลยให้ที่บ้านพาไปโรงบาลและหมอก็จับเข้าห้องฉุกเฉินและ Admit ด่วน (โดยไม่มีใครรู้สาเหตุ เพราะอาการเกือบเหมือนอาหารเป็นพิษขั้นรุนแรง) ตอนนั้นรู้สึกตัวแต่เบลอมาก หมอเอาเข็มแทงแต่เราไม่รู้สึก โลกมันลอยๆ ได้ยินแต่คำพูดหมอว่า "ทำไมถึงซีดแบบนี้" และกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็คืออยู่บนห้องแล้ว
🌑NuuNeoI - ในวันที่ผมฆ่าตัวตาย https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=500
💊It's difficult to pinpoint the amount of acetaminophen that will result in a liver-damaging overdose. People's reactions vary, depending on the health of their livers, their glutathione levels, and maybe some as-yet-unidentified genetic factors.
💊💊Overdoing acetaminophen - Harvard Health https://www.health.harvard.edu/heart-health/overdoing-acetaminophen
💊💊Pharmacists Can Help Reduce Risk from Extended-Release Acetaminophen --- A Key Potential Confounding Factor in Suspected Overdoses https://www.pharmacytimes.com/news/pharmacists-can-help-reduce-risk-from-extendedrelease-acetaminophen--a-key-potential-confounding-factor-in-suspected-overdoses
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2186970974745333&substory_index=0&id=325980554177727
คำคมวันนี้
ที่มา
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) http://www.thaidrugwatch.org/news_detail.php?n_no=1207
มีวิจัยบอกเราว่า....ใน 2 วันแรกหลังผ่าตัดคลอดบุตร
“การให้ยาแก้ปวดโดยไม่ต้องรอให้คุณแม่หลังผ่าร้องขอ โดยให้เป็น พาราเซตามอล 3 ครั้ง/วัน ร่วมกับ ibuprofen 2 ครั้ง/วัน” อยู่ในใบคำสั่งการรักษาของแพทย์ .. ได้ผลดีนะครับ”
เพราะ....
*** สามารถช่วยทำให้อาการปวดที่ประเมินหลังผ่าตัดคลอด “ดีกว่า” การให้ยาเฉพาะเวลาที่ผู้ป่วยร้องขอ ***
วันนี้พวกเราให้ยาแก้ปวดหลังผ่าตัดคลอดกันแบบใด .... หากสนใจใช้แบบนี้ก็น่าสนใจทีเดียวนะครับ อยู่ใน order ในช่วง 2 วันแรกหลังผ่าเลยทีเดียว
ปวดหลังผ่าเป็นอีกปัญหาที่คุณแม่ๆหลายคนบอกเราๆเสมอว่าถ้าช่วยลดได้ การฟื้นตัวด้านอื่นๆรวมถึงการฝึกให้นม ฝึกอาบน้ำลูก ทำได้ง่ายและสบายขึ้นใช่ไหมครับ
ในวิจัยนี้ ขนาดยาที่ใช้คือ
Paracetamol 1000 mg สามครั้งต่อวัน
(8โมง, บ่าย2 และ เที่ยงคืน)
และ
Brufen 400 mg เช้า, เย็น
(8 โมง และ 1 ทุ่ม)
190911
โฆษณา