7 ก.ย. 2019 เวลา 11:57 • ไลฟ์สไตล์
#5 วิธีเช็กสุขภาพทางการเงิน (ตอนที่ 1)
💁‍♂️ ในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อนๆ ได้ตรวจสุขภาพกันบ้างแล้วรึยังครับ?
เวลาที่ผลตรวจสุขภาพที่ออกมาแต่ละครั้ง รู้สึกตุ๊มๆ ต่อมๆ เหมือนได้ 'ใบเกรด' ที่รายงานว่าตอนนี้ร่างกายของเราฟิต (หรือพัง) แค่ไหน
ใบเกรดนี้เอง ที่ฟ้องว่าพฤติกรรมการดูแล (หรือทำลาย) สุขภาพที่ผ่านมาของเราส่งผลอย่างไร ให้ไปซ่อมโดยด่วน ให้ร่างกายใช้งานได้ดีไปยาวๆ
สุขภาพร่างกายเรา ยังได้ตรวจเช็ก 👩‍⚕️
.
แล้วสุขภาพการเงินล่ะครับ 💰
เคยลองเช็กกันบ้างหรือยัง?
🙋‍♂️ พร้อมแล้ว...ตามพี่บีมากันเลย!
⛳ Check point ที่ 1 :
เทียบทรัพย์สิน กับหนี้สิน
🤷‍♂️ คำถามแรกคือ...
ทุกวันนี้คุณมีความมั่งคั่งหรือเปล่า?
หากยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจ ได้เวลามาประเมินฐานะการเงินของเรากันแล้วครับ โดยใช้สูตรดังนี้
ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ทั้งหมดที่มี - หนี้สิน
ดูง่ายๆ หากตัวเลขออกมาเป็นลบ
คุณได้ใบแดง! แสดงว่ามีหนี้มากกว่าสินทรัพย์
ควรเร่งปรับพฤติกรรมการใช้เงิน
⛳ Check point ที่ 2 :
บันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน
💁‍♂️ เป็นการตรวจพฤติกรรมทางการเงินของตัวเอง ณ ปัจจุบัน ทำให้เรารู้ว่า ในแต่ละวัน แต่ละเดือน เงินเข้าเงินออกมากน้อยแค่ไหน
บันทึกแล้วได้อะไร? มองหาเลยครับจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นซ้ำๆ พวกรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ที่เกิดขึ้นเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว
อย่างเช่น ช้อปปิ้งของจุกจิก หรือค่าขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม กาแฟ ค่าเดินทางที่สูงปรี๊ด และหาทางปรับเปลี่ยน ลดการใช้จ่าย เพื่ออุดรูรั่วที่เกิดขึ้น
ถือเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้วางแผนหรือปรับแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
⛳ Check point ที่ 3 :
ทุกวันนี้ มีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือไม่?
🤷‍♂️ ค่าใช้จ่ายที่เรามีอยู่ทุกเดือน เรายืมเงินในอนาคตมาจ่ายอยู่หรือเปล่า? บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เงินผ่อน สินเชื่อ ต่างๆ นานา หากหมุนทัน ใช้จ่ายคล่องมือก็นับว่าโชคดีไป
แต่ในระยะยาว...บอกเลยครับว่าสถานะทางการเงินของคุณคงจะหาความมั่นคงได้ยาก
💁‍♂️ ทางแก้...สามารถเลือกได้ 2 ทาง คือ
1. หาวิธีลดค่าใช้จ่าย
(กลับไปเช็กบันทึกรายรับรายจ่าย)
2. เพิ่มช่องทางหารายได้ให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบ active income หรือ passive income
👨‍🎨 ตัวอย่างของ active income อาจเริ่มจากการดูว่าตัวเองมีความสามารถด้านไหน และแบ่งเวลาหารายได้เสริม เช่น ขับรถแกรบนอกเวลางาน ขายของออนไลน์ วาดรูป ฯลฯ
📈 ในฝั่งของ passive income หรือเปรียบง่ายๆ ว่าลงทุนให้เงินทำงาน โดยรับผลตอบแทนเป็น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า เป็นต้น
ที่สำคัญ...ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปและ 'อย่าโลภ' คือขยายจนเกินกำลัง เกินความสามารถ เกินเวลาที่มี หรือโฟกัสกับงานเสริมจนละเลยงานหลัก เพราะอาจจะต้องร้องเพลง กลับไม่ได้...ไปไม่ถึง
⛳ Check point ที่ 4 :
มีเงินเหลือเก็บบ้างรึเปล่า?
หลายๆ คนใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน แต่ไม่คิดถึงอนาคตสักเท่าไร การที่มีเงินใช้ไม่ขาดมือในวันนี้ ไม่ได้การันตีว่าวันข้างหน้าเราจะยังมีความสามารถในการหาเงินแบบเดิมอยู่...
ดังนั้น นอกจากเงินที่ใช้ประจำวันแล้ว ควรมี
- เงินออม เพื่อเป้าหมายต่างๆ ในชีวิต
- เงินสำรอง เพื่อดึงมาใช้ในยามฉุกเฉินต่างๆ
เงินทั้งสองส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินสดนอนนิ่งๆ ในบัญชีเท่านั้น (แถมถ้ามีเยอะ ยังอาจถูกหักภาษีอีก 15%) แต่สามารถกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ หรือลงทุน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน
ซึ่งจะขอกล่าวถึง ใน check point ถัดไป ในตอนหน้าเพราะเริ่มจะยาวเกิน 😅
💁‍♂️ ตอนต่อไป....
Check point ที่ 5 : มีเงินออมแล้ว จะบริหารอย่างไร ให้ทรัพย์สินที่มีเพิ่มพูนขึ้น?
ฝากติดตามด้วยนะครับ 🙇‍♂️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา