2 ก.ย. 2019 เวลา 09:09 • การศึกษา
ข้าวไทยมาจากไหน
สวัสดีผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน วันนี้กษตรเอส
มีบทความดีๆ จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์กรมหาชน) มาฝาก
อยากทราบว่าข้าวในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่เกิดที่ไหน ตามมาเลยครับเกษตรเอสจะเล่าให้ฟัง
ภาพ:พิษณุ หาวิชา
6,000 ปีก่อน
มีหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหิน
อายุประมาณ 6,000 ปีที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม
ต.ห้วยไป่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
ซึ่งภาพวาดดังกล่าวมีลักษณะคล้ายบันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งมีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควาย
แปลงพืชคล้ายข้าว แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้รู้จักการปลูกข้าวเป็นอย่างดี
5,500 ปีก่อน
พบหลักฐานจากแกลบข้าวที่เป็นส่วนผสมของดิน
ที่ใช้ปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง อ.หนองหาน
จ.อดรธานี,ต.บ้านโคก อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
สันนิษฐานได้ว่าเป็นเมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย
และยังขุดพบเมล็ดข้าวที่ถ้ำ ปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน
โดยมีลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญ
งอกงามในที่สูง
2,800 ปีก่อน
พบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบข้าวบน
เครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดี อ.พนัสนิคมจ.ชลบุรี
รวมทั้งหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าที่ถ้ำเขาทะลุ
จ.กาญจนบุรีซึ่งอยู่ในช่วงยุคหินใหม่ตอนปลาย
กับยุคโลหะตอนต้น
หมายเหตุ:ยุคหินใหม่4,500 ปี/2,000 ปี ก่อน
คริสกาลว่ากันว่ายุคหินใหม่เป็นยุคสมัยแห่ง
เกษตรกรรม
พ.ศ.540-570
ไทยได้รับอิทธิพลด้านกสิกรรมและการค้าจากจีน
ซึ่งคาดว่ามาตามลำน้ำโขงสู่ดินแดนอีสานตอนล่าง นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับภาคกลางยุคทวารวดี
(หมายเหตุ:ยุคทวารวดีตรงกับสมัยพุทธศัตวรรษ
ที่ 12-16)
ในช่วงเวลานั้นเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวเจ้าเมล็ดยาว
เรียวขึ้นแล้ว ส.น.ฐ.ว่านำมาจากอาณาจักรขอม ซึ่ง
ในยุคนั้นถือว่าเป็นชนชั้นปกครอง การหุงต้มข้าว
เมล็ดยาวแตกต่างจากข้าวของชาวพื้นเมือง จึงเชื่อ
ว่าเป็นสาเหตุให้ข้าวชนิดนี้ถูกเรียกว่า"ข้าวเจ้า"
พุทธศัตวรรษ ที่ 6 (พ.ศ.501-600)
มหาวิทยาลัย Tottri และกระทรวงเกษตรและกรมป่าไม้ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องข้าวไทยโดยทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น 3 คนคือ
1.Tayada Natabe
2.Tomaya Akihama
3.Osamu Kinosgita
โดยศึกษาจากแกลบซึ่งปรากฎบนแผ่นอิฐโบราณจากโบราณสถาน 108 แห่งใน 39 จังหวัด ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการปลูกข้าวมีมานาน
นับแต่พุทธศตวรรษ 6 (ระหว่างปีพ.ศ.501-600)
โดยข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวเหนียวนาสวนเมล็ดป้อม
และข้าวเหนียวไร่เมล็ดใหญ่ ต่อมาการปลูกข้าว
เหนียวไร่น้อยลงแล้วเริ่มมีการปลูกข้าวนาสวน
เมล็ดเรียวเพิ่มขึ้น
(นาสวนคาดว่าน่าจะหมายถึงนาดำ)แอดมิน
พ.ศ.1740-2040 สมัยสุโขทัย
ข้าวที่ปลูกในสมัยนี้ยังเป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและ
เมล็ดยาวเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เริ่มปลูกข้าวเจ้าเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ในยุคนี้พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงการกสิกรรม
ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ดังปรากฎในศิลาจารึกว่า
"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"
กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
(กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.1893-2310)
บ้านเมืองมีความมั่งคั่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญเริ่มมีระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มี"กรมนา"คอยดูแลส่งเสริมและสนับสนุนการทำนาอย่างจริงจังเพราะข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรและเป็นเสบียงสำรองในยามเกิดศึกสงคราม
ท่านใดมีข้อมูลที่แตกต่างหรือเห็นต่างจากที่กล่าว
มานี้เขียนมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
ขอให้มีความสุขกับการทานข้าวครับ
อ้างอิง
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
เรียบรียงโดย
เกษตรเอส'society
"อยากเห็นคนในสังคมนี้ 
มีรอยยิ้มและความสุข"
ติดตามสาระความรู้ดีดีได้ที่
ให้กำลังใจผมและทีมงานง่ายๆ
ด้วยการ กดไลท์ กดแชร์ และกดติดตาม
หรือจะเข้ามาเขียนคอมเม้นท์ก็ยินดีครับ
โฆษณา