30 ก.ย. 2019 เวลา 09:44 • สุขภาพ
เลือดสีฟ้ามีจริงไหม?
เลือดสีฟ้ามีจริงไหม? ไดโนสคูล
สาววัยเบญจเพสคนนึง ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า พบว่าตัวเองมีอาการมึน ๆ ชา ๆ ผิดปกติ
จึงไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาล Rhode Island พร้อมกับบอกว่า
ดิฉันรู้สึกไม่สบายค่ะ I'm Feeling Blue และรู้ไหมว่าเมื่อเจ้าหน้าเจาะเลือด ก็พบว่า เธอมีเลือดสีฟ้า จริง ๆ .. She is Blue!!
นี่ไม่ใช่เรื่องตลก อาการที่เธอเป็นเรียกว่า Cyanosis
สังเกตได้ในเบื้องต้นว่า สีของเนื้อที่เล็บและผิวหนังจะออกเป็นสีฟ้าคราม Navy Blue มากกว่าปกติ
เธอให้ข้อมูลหมอว่า เมื่อวานเพิ่งไปทำฟันมา โอ้.. นั่นอาจเป็นสาเหตุ เพราะมักมีการใช้ยาชากลุ่มเบนโซเคน ซึ่งทำให้มีอาการ cyanosis เลือดสีฟ้าได้
(เป็นอาการข้างเคียงจากยาที่เกิดขึ้นได้ แม้จะมีโอกาสพบน้อย แต่ก็นับว่าอันตรายทีเดียว)
5
ที่จริงแล้วเลือดของคนเราจะต้องเป็นสีแดงจากเป็นฮีโมโกลบินปกติ ที่มีโมเลกุลของเหล็ก Fe 2+ อยู่ (ด้านซ้าย)
ซึ่งแม้จะตัวกระตุ้นบางอย่าง ที่ทำให้มันเปลี่ยนเป็นเหล็กแบบ Fe 3+ (ด้านขวา)
แต่ในร่างกายปกติจะมีกระบวนการผันกลับ ให้เป็นแบบ Fe2+ ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงขนส่ง oxygen ไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ให้ทำงานได้
หากมี Fe3+ (ที่เรียกว่า Methemoglobin) ในระดับสูงจะเกิดอันตรายแค่ไหน❓
1-2 เปอร์เซ็นต์ในเลือด จะไม่มีอาการ
10-20% ผิวหนังและเล็บเริ่มเป็นสีฟ้า
(ภาพจากกูเกิ้ล)
20-30% จะเริ่มเวียนหัว สับสน มึนงง
30-50% ใจสั่น อ่อนเพลียอย่างมาก
50-70% ภาวะโคม่า ชัก ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เลือดเป็นกรด
เกิน 70% เสี่ยงเสียชีวิต
..สาวน้อยคนนี้ อาจเกิดจากได้ยาชาเบนโซเคน ที่ทำให้เกิด Fe3+มากเกินไปจนแสดงอาการออกมา
วิธีการที่คุณหมอดูแลสาววัย 25 คนนี้ คือ การให้สารเข้าไปต้านพิษ เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาให้กลับมาสู่สมดุลเหมือนเดิมคือ methylene Blue (สารที่มีสีฟ้าในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ใช้เพื่อย้อมนับเซลล์ใต้กล้องจุลทรรศน์)
อาการ cyanosis เลือดสีฟ้าจาก Fe3+ (Methemoglobin) ยังเกิดขึ้นได้ ในคนที่เป็นโรคพันธุกรรม นั่น คือ ภาวะขาดเอนไซม์ G6PD (จีซิกพีดี) ย่อมาจากชื่อเอนไซม์ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase
โดยมักเป็นในผู้ชาย เพราะมียีนส์บนโครโมโซม X ตัวเดียวที่ผิดปกติจาก XY ก็แสดงอาการแล้ว (ส่วนผู้หญิงเป็น XX ไม่แสดง)
เรียกว่าหากขาด G6PD ก็เหมือนเม็ดเลือดแดง ขาดตัวช่วยปกป้องสิ่งที่เป็นอันตราย เสี่ยงต่อภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
คนที่เป็นภาวะขาดเอนไซม์ G6PD จึงห้ามรับประทาน อาหาร และยา หลายชนิด ที่จะทำให้เกิด cyanosis
(จำเป็นต้องมีบัตรประจำตัว ระบุว่า เป็นโรคประจำตัว “ขาดเอนไซม์ G6PD” และควรพกเอกสารระบุว่าอาหารและยาอะไรที่ตัวเองห้ามทาน เพื่อไม่ให้พลาดเวลาซื้อยา พบหมอ หรือไปท่องเที่ยวต่างประเทศ .. ระวังตัวเองไว้ดีที่สุด)
ตัวอย่าง อาหารที่ห้ามในคนที่เป็นภาวะขาดเอนไซม์ G6PD เช่น
ถั่วปากอ้า ถั่วฝักทุกชนิด (โดยเฉพาะแบบดิบ) บลูเบอร์รี่ ไวน์แดง มะรุม (เดี๋ยวนี้มีทำเป็นแคปซูลบำรุงสุขภาพ ต้องระวัง)
ที่สำคัญ คือ ยาลดไข้ กลุ่มแอสไพริน (ใช้ยาพาราเซตามอลได้)
ยาฆ่าเชื้อ พวกซัลฟา แก้ท้องเสียกลุ่ม Quinidine เช่น ยา Norfloxacin
ยารักษาโรคเก๊าท์ colchicine
นอกจากนี้ยังรวมถึง ยาเบาหวาน ยาโรคหัวใจอีกหลายชนิดด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้เรา ๆ ท่าน ๆ จะไม่มีโรคประจำตัวอันใด
แต่ก็ไม่ควรประมาท ในการสังเกตความผิดปกติของตัวเอง หลังจากการใช้ได้รับยาไม่ว่าจะหลังการทำฟัน ผ่าตัดเล็ก-ใหญ่
การใช้ยาใด ๆ ไม่ว่าระยะสั้นหรือยาว เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อน อาการข้างเคียงตามมาได้เสมอ (บางอาการแม้ใช้ยามาหลายปีแล้ว ก็เพิ่งปรากฎผลก็เป็นได้)
หากมีความผิดปกติใด ๆ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่มีความชำนาญ เพื่อการหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุด
นกไดโนสคูล🐦
โฆษณา