เรื่อง​ของ​ ป.ปลา​
เป็น​ปลา​สาย​พันธ์​พื้น​เมือง​(บ้าน)​
ปลา​ดุก​ด้าน​
ลักษณะ​ทั่วไป
ลักษณะ​ของ​ดุก​ลำ​ตัว​แบน​ข้าง​ หัว​แบน​ราบ​ ท้าย​ทอย​ยื่น​แหลม​ ครีบ​หลัง​อยู่​ค่อนข้าง​ชิด​กับ​ท้าย​ทอย​ ครีบหลัง​ ครีบ​ก้น​ และครีบหาง​แยก​กัน​ชัดเจน​ ครีบ​ท้อง​เล็ก​ ครีบหาง​เล็ก​ปลายมนลำตัว​และ​ครีบ​สี​คลำ้อม​เขียว​มะกอก​ ลำ​ตัว​มี​จุด​ประ ขาว​กระจาย​ทั่ว​ ท้อง​สีจาง​ ขนาด​เมื่อ​โต​เต็ม​ที่​ประมาณ​ 50 ชม.ลักษณะ​มี​รูป​ร่าง​ค่อนข้าง​ยาว​เรียว​ ส่วน​หาง​ค่อนข้าง​แบน​ มี​สี​เทา​ปน​ดำ​ ส่วน​ท้อง​มี​สี​ขาว​
การ​ใช้​ประโยชน์
ดุก​ด้าน​นิยม​นำ​มา​แกง​ใส่​แกงบอน​จะ​ได้​รสชาติ​เนื้อ​ปลา​ที่​หวาน​อร่อย​เข้า​กับ​ผัก​ นอกจากนี้​ยัง​นิยม​นำ​มา​ ปิ้ง​ ย่าง​ หรือ​ทอด​รับ​ประ​ทาน​
แหล่ง​ที่​อยู่​อาศัย​และ​การ​กระ​จาย พันธุ์
อาศัย​ในแหล่ง​นำ้นิ่ง​และแม่พบ​ทั่วไป​ทุก​ภาค​
ปลา​ยี่สก​เทศ
ลักษณะ​ทั่วไป
มี​รูป​ร่าง​ลำ​ตัว​ยาว​ทรง​กระบอก​ ส่วน​หัว​สั่น​ ปาก​เล็ก​ มี​หนวด​สั้น​ 2​ คู่​ ริมฝีปาก​เป็น​ชาย​ครุย​เล็ก​น้อย​ และ​มี​แผ่น​ขอบ​แข็ง​ที่​ริมฝีปาก​บน​และ​ล่าง​ มี​เกล็ด​ขนาด​เล็ก​ตาม​แนว​เส้น​ข้าง​ลำ​ตัว​ ครีบ​หลัง​และ​ครีบ​ก้น​มี​ขนาดเล็ก​ ครีบ​หาง​เว้า​ลึก​ ลำ​ตัว​ด้าน​บน​สี​คลำ้​ ปลา​ขนาดใหญ่​จะ​มี​จุด​สี​นำ้ตาล​แดง​หรือ​นำ้ตาล​อ่อน​แต้ม​ที่​เกล็ด​แต่​ละ​เกล็ด​ ท้อง​มี​สี​จาง​ ครีบ​สี​ค​ลำ​มี​ขอบ​สี​ชมพู​อ่อน​หรือ​แดง​ ขนาดที่​โต​เต็ม​ที่​ประมาณ​ 60-80 ชม.​ พบ​ใหญ่​สุด​ได้​ถึง​ 1​ เมตร​
การ​ใช้​ประโยชน์
เป็น​ปลา​เศรษฐกิจ​ นิยม​นำมา​จำหน่าย​และ​บริโภค​ได้​หลากหลาย​ เช่น​ นำมา​แปรรูป​เป็น​ปลา​ส้ม​ เป็น​ต้น​
แหล่ง​ที่​อยู่​อาศัย​และ​การ​กระ​จาย​พันธุ์
เป็น​ปลา​พื้น​ถิ่น​ของ​ทาง​ภูมิภาค​เอเชีย​ใต้​ตอน​บน​ พบ​ใน​รัฐ​โอริศา, รัฐ​พิ หารและ​รัฐ​อุตตร ประเทศ​ใน​อินเดีย​ แม่​นำ้คงคา, ปากีสถาน​ จนถึง​พม่า​ทิศ​ตะวันตก​ ใน​ไทย​พบ​ตาม​อ่างเก็บ​นำ้และแหล่ง​นำ้ทั่วไป​
ที่มา​จาก​ หนังสือ
ปลา​พื้น​เมือง​เชียง​แสน​
หวัง​ว่า​ เป็น​เกล็ด​ความ​รู้​ เล็กๆน้อยๆ​ กับ​ท่าน​ไม่​มาก​ก็​น้อย​ ขอบคุณ​จาก​ใจ
#คน​บ้าน​ๆ​สร้าง​ชีวิต​ที่​เหลืออยู่​
พบกัน​อีก​ตอน​หน้า
เรื่อง​ ป.ปลา​
โฆษณา