7 ต.ค. 2019 เวลา 02:04 • ความคิดเห็น
ความผิดพลาดในการสื่อสาร
อาจไม่ได้เกิดจากเจตนาผู้ส่งสาร
แต่อาจเกิดจากอุปาทานในใจท่านเอง...
กาแฟโบราณนั้น มีเอกลักษณ์ อยู่อย่างหนึ่งคือ จะใส่นมข้นหวาน ไว้ด้านล่าง แล้วเทน้ำกาแฟ ลงไปด้านบน ถ้าใครชอบหวานมาก ก็ตีนมด้านล่าง ให้ผสมกับเนื้อกาแฟ แต่บางคน ที่ไม่ชอบหวาน ก็อาจจะดื่ม โดยที่ไม่ต้องคนเลย
ทีนี้ เรื่องมันมีอยู่ว่า วันหนึ่ง คุณลุงคนหนึ่ง ก็ไปนั่งจิบกาแฟ ที่สภากาแฟ พอดีหลานสาว เจ้าของร้าน อยู่ในช่วงปิดเทอม จึงมาช่วยยาย ขายกาแฟ พอหลาน ยกกาแฟมาเสริฟ คุณลุงก็พูดขึ้นว่า "นมน้อยจัง"
หลานสาว ก็เขินอาย ตอบกลับไป เสียงเบาๆ ว่า "เพิ่งขึ้นค่ะ"
ยายได้ยินดังนั้น ก็ทุบโต๊ะดัง ปัง!! แล้วตะโกนว่า "เพิ่งขึ้นที่ไหนกัน ขึ้นมาตั้ง สองเดือนแล้ว!!"
ลุงพูดถึง นมในแก้วกาแฟ
ส่วนหลานสาวพูดถึง หน้าอกของตัวเอง
ส่วนยายหมายถึง ราคานม ที่ปรับราคาขึ้น
เรื่องนี้ เป็นเรื่องเล่าขำๆ จากต่วยตูนที่เล่าต่อๆ กันมา แต่ในความตลกนั้น ถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า
คนเราอาจพูดกัน คนละเรื่อง ทั้งๆ ที่คิดว่า กำลังพูดเรื่องเดียวกัน ความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อน อาจเกิดจาก “สถานภาพที่ต่างกัน” เช่นคนหนึ่งกำลังพิจารณา กาแฟในแก้ว อีกคนหนึ่ง กำลังกังวล เรื่องความเปลี่ยนแปลง ในร่างกาย ของตนเอง และอีกคนหนึ่ง กำลัง กังวล เรื่องกำไรขาดทุน
ดังนั้น ความเข้าใจผิด เกิดขึ้นได้ แม้จะ กำลังพูด ภาษาเดียวกัน นั่งพูดกัน ตัวต่อตัว และ ไม่มีใครมีเจตนา บิดเบือนข้อมูล นี่เป็นตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจผิด เกิดขึ้นได้ง่ายเพียงใด รับอะไรกับภาษาในโลกโซเชี่ยลที่คุณอ่าน แล้วตีความตาม "คิดไปเอง"
ขนาดหมอคุยกับลูกค้าเอง ยังได้เรื่องทุกที
ไว้ผมตรงหัวนิดเดียวพอ
ตรงตัวไถแต่ด้านล่าง ด้านบนเอาไว้นะหมอ
หางเป็นพุ่มๆ
ครับ ได้ตามนั้นครับ
โฆษณา