25 พ.ย. 2019 เวลา 00:19 • ธุรกิจ
7 สิ่งที่ทำให้พนักงานบริษัท เกิดความทุกข์ (รายได้หลายช่องทาง EP13)
การเป็นพนักงานบริษัท บางครั้งก็ไม่มีความสุข นั้นเพราะ เรากำลังเป็นทุกข์ อยู่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจมีหลายๆเรื่องก็เป็นได้
ทุกข์อยู่ที่ใจ เราสามารถแก้ไขได้ที่ใจ แต่เราต้องรู้สาเหตุนั้นเสียก่อน นั้นคือ เหตุแห่งทุกข์ หรือ สมุทัย ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง อริยสัจ 4
ในที่ทำงาน สิ่งที่ทำให้พนักงานบริษัท เกิดความทุกข์ มีอะไรได้บ้าง
1. ไม่พอใจหัวหน้า
2. ไม่ถูกกับเพื่อนร่วมงาน
3. รู้สึกว่าแผนกอื่นเอาเปรียบ
4. รู้สึกบริษัทไม่ใส่ใจพนักงาน
5. เบื่องานที่ทำ
6. อ่อนล้า หมดไฟ
7. ทำงานต่อไป ก็ไร้อนาคต
แล้วเราควรต้องจัดการกับปัญหานี้ อย่างไร?
1. ไม่พอใจหัวหน้า
หัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรง เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อเรามากๆในที่ทำงาน เพราะเขาเป็นผู้มอบหมายงาน และประเมินผลงานของเราด้วย
มีหลายสาเหตุมากๆที่ลูกน้อง ไม่พอใจหัวหน้าตัวเอง แล้วควรทำอย่างไร
-หัวหน้า แย่งผลงาน
งานจะถูกนำเสนอไปในระดับสูงขึ้น ให้คิดเสียว่า เราเก่งมีไอเดียเจ่ง หัวหน้าจึงนำงานของเราไปใช้ ส่วนหัวหน้าระดับสูงถัดไป ถ้าเขาไม่รู้วันนี้ วันต่อๆไป หลายปีต่อไป เดี๋ยวใครๆก็รู้
หรือสุดท้าย หัวหน้าของคุณเอง คนที่แย่งผลงานของคุณนี่แหละ จะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ให้คุณก้าวหน้าต่อไป
ถ้างานของคุณมัน Work หัวหน้าและแผนกของคุณ จะได้รับผลตอบแทน
โปรด "ปิดทองหลังพระ" ต่อไป
คนเก่งๆสักวันจะฉายแสงขึ้นมาเอง แนะนำให้ส่งงานดีๆให้หัวหน้าเราต่อไป
แต่ถ้างานของคุณมัน Fail (เราคิดว่า งานนั้นดีที่สุดแล้ว แต่ใช่ว่าจะถูกเสมอ) คนที่ต้องรับผิดมากที่สุด หรือเสี่ยงมากที่สุด ก็คือหัวหน้าคุณเอง
-หัวหน้า กดดันมากเกินไป
ในการทำงาน คนที่รับแรงกดดันมากกว่าเรา ก็คือหัวหน้าเรา และถัดขึ้นไปตามลำดับขั้น เราเจอความกดดันที่ถูกกระจายลงมา แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
เพื่อความสำเร็จ บางครั้งต้องใช้พระเดช ผลักดันให้ได้ตามเป้าหมายบริษัท ความกดดันนั้น คือเรื่องงาน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ให้ตั้งใจทำงาน ก็เท่านั้นเอง
-หัวหน้า ลำเอียง
เรื่องนี้ ต้องขอคุยหรือคำอธิบายจากหัวหน้า คุยกันให้เคลียร์ไปเลย เราอาจคิดไปเอง หรือเรารู้เฉพาะส่วนของเรา จึงน้อยใจเพราะมีส่วนที่เราไม่รู้
-หัวหน้าขี้โมโห
อย่างนี้ต้อง feedback ตอนที่หัวหน้าอารมณ์ดี ให้รู้จักดูท่าทีตอน feedback ด้วย ให้บอกถึงประโยชน์ของบรรยากาศการทำงานที่ดี และพูดข้อดีของหัวหน้าเยอะๆก่อน(ชมก่อน) แล้วค่อยบอกเรื่องที่เขามีอารมณ์ร้าย
1
2. ไม่ถูกกับเพื่อนร่วมงาน
การแก้ปัญหาคนไม่ถูกกัน ไม่ต้องไปสนใจถึงต้นเหตุว่าเป็นเรื่องอะไร ใครถูก ใครผิดกันแน่ เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีการพิพากษาใดๆ
การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ต้องใช้หลัก พรมวิหาร 4 เริ่มจากการพูดคุย ให้แต่ละคน แชร์เรื่องราว(เล่าสู่กันฟัง) งานที่กำลังทำ อุปสรรคปัญหา มีความหนักใจเรื่องอะไรบ้าง
หากเราตั้งใจฟังดีๆ เราทุกคนต่างก็มีปัญหากันทั้งนั้น การรู้จักเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทำให้เราลดความไม่พอใจผู้อื่น
ยิ่งถ้าเราแสดงความมีน้ำใจ กับคนที่เขาไม่ชอบเราได้ อีกไม่นาน เขาจะต้องใจอ่อน ยอมรับความเป็นมิตรของเรา
คนที่ทุกข์ คือ คนที่ไม่พอใจอีกคน
ส่วนคนที่ถูกไม่พอใจ อาจไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่เป็นทุกข์แต่อย่างใดเลย
3. รู้สึกว่าแผนกอื่นเอาเปรียบ
ส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นการคิดไปเอง คือ คิดมากไปก็จิตตก
เราไม่เข้าใจการทำงาน ความยากลำบาก ความท้าทายงานของคนอื่น หรือของแผนกอื่น แล้วไปคิดเอาเองว่า 20:80 ตามกฏของพาเรโต Pareto Ratio
คน 20% ทำผลงาน 80% ของบริษัท แล้วทึกทักว่า ตัวเองเป็นคน 20% ที่ถูกคน 80% เอาเปรียบ
มันไม่ใช่หน้าที่ของเราเลย...
มันเป็นงานของ MD (บริษัทเล็ก) หรือ CEO (บริษัทใหญ่) เขาต้องพิจารณางานนี้ เราไม่ต้องไปกลุ้มใจกับงานของคนอื่น
4. รู้สึกบริษัทไม่ใส่ใจพนักงาน
ตอนที่กำลังทำงานอยู่ในบริษัทต่างๆ ผมได้ยินพนักงานหลานคน บ่นเรื่องโน้น บ่นเรื่องนี้ อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง อันนี้ก็ไม่เหมาะสม
แต่พอบริษัทนั้นไม่อยู่แล้ว อาจถูกปิด หรือถูกซื้อกิจการ เจ้าของใหม่มาดูแล
กลับมาหวนคิดถึงสิ่งดีๆ ที่ตัวเองเคยได้รับในภายหลัง ต่อไปคงไม่มีอีกแล้ว
ในตอนนั้น มองข้ามในสิ่งดีๆที่เราได้รับ และไม่ให้คุณค่า
จนกว่าจะเสียสิ่งนั้นไป จึงจะสำนึกได้ในภายหลัง
แต่สำหรับสิ่งที่ไม่โอเค รู้สึกไม่พอใจ กับคิดซ้ำวน จมอยู่กับความทุกข์
นั้นคือ การคิดลบ Negative Thinking
เราไม่สามารถเลือกได้ว่า ไม่ต้องไปเจอกับพวกคิดลบ แต่เราสามารถเป็น คนคิดบวกได้ Positive Thinking แล้วถ่ายทอดสิ่งดีๆ ให้คนอื่นได้ด้วย
ทุกบริษัท มีทั้งข้อดี และข้อเสีย มันอยู่ที่ว่า ความคิดของคุณ อยู่ที่ตรงไหน?
5. เบื่องานที่ทำ
ทุกตำแหน่งงานมีคุณค่าของมัน เชื่อซิ คนที่เขาจ่ายเงินเดือน หรือหัวหน้าคุณเอง เห็นถึงคุณค่าในสิ่งนี้ และพวกเขาต้องการให้คุณส่งมอบงานที่ดี
ส่วนใหญ่แล้ว จะเบื่อเพราะ คิดไปเองว่างานที่ทำอยู่ทุกวันนั้นไม่มีคุณค่า
หากคุณไม่สามารถ Motivate ตัวคุณเองได้ แนะนำให้ปรึกษาหัวหน้างาน เล่าความทุกข์ หรือความน่าเบื่อให้เขาฟัง
เป็นหน้าที่ของหัวหน้างานของคุณเลย ที่จะต้องทำให้คุณอยากทำงาน ทำให้คุณเห็นคุณค่าในงานของคุณ
หรือเขาอาจเห็นโอกาส เห็นความสามารถคุณ และอาจมอบหมายงานใหม่ ที่ท้าทายกว่าเดิมให้แก่คุณ
6. อ่อนล้า หมดไฟ
เหนื่อล้า ท่อแท้ หมดไฟ อยากจะ Burn out วิธีแก้ปัญหาอยากแรกเลย
" ไปนอนให้เต็มอิ่ม " ตื่นมาค่อยคิดแก้ปัญหานี้
สมองคนเรา เชื่อมโยง ร่างกาย กับ จิต
- สุขภาพจิตดี ส่งผลให้ สุขภาพกายดี
- สุขภาพจิตไม่ดี ส่งผลให้ สุขภาพกายไม่ดี
- สุขภาพกายดี ส่งผลให้ สุขภาพจิตดี
- สุขภาพกายไม่ดี ส่งผลให้ สุขภาพจิตไม่ดี
สัมพันธ์กันตลอดเวลา แยกกันไม่ออก
หากเกิดการอ่อนล้า หมดไฟ กลับมาตั้งหลักใหม่ เมื่อได้พักผ่อนทั้งสมองและร่างกาย หาหนทางปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน จัดลำดับความสำคัญ วางแผนล่วงหน้า จงเชื่อว่า ทุกปัญหาแก้ไขได้ ค่อยเป็น ค่อยไป
7. ทำงานต่อไป ก็ไร้อนาคต
พนักงานที่ทำงานมานานหลายสิบปี มีโอกาสเป็นทุกข์ในเรื่องนี้สูง เพราะ
คิดแบบคณิตศาสตร์ ในบริษัทขนาดใหญ่ คนที่มีอายุงานมาก ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร มีมากกว่าคนที่ถูกปูทางให้เป็นผู้บริหารหรือ CEO อยู่หลายเท่าตัว
บริษัท ยังคงเห็นความสำคัญ ถึงความสามารถและหน้าที่ของคุณ อาจจะเป็นงานที่ปรึกษา ให้ความรู้ ถ่ายทอดสอนงาน สร้างคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
คุณค่าของคุณ มันก็เหมาะสมกับตำแหน่งและเงินเดือนที่คุณได้ นั้นแหละ
เราก็ต้องทำงานตอบแทนบริษัท ให้คุ้มค่าในสิ่งที่เราได้รับมาจากบริษัท
เราทำงานรับเงินเดือนจากบริษัทมา ต้องคำนังถึงเจ้าของบริษัท ต้องช่วยสร้างกำไร โดยการเพิ่มรายได้ เพิ่มลูกค้า ลดค้าใช้จ่าย ฯลฯ
แต่สิ่งที่เราอาจเข้าใจผิด อนาคตเรา กับอนาคตบริษัท มันคนละอย่างกัน
อนาคตบริษัท อาจมีคุณเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
ในทางตรงกันข้าม
อนาคตคุณ อาจมีรายได้จากบริษัทเป็นส่วนประกอบ
นั้นคือที่มาของ ซีรีย์ รายได้หลายชองทาง
อนาคตสำหรับคนทั่วไป
(ไม่ได้หมายถึงบริษัท ที่กำลังจะผ่านยุค Disruptive Technology)
ความพยายามหารายได้ใหม่จากช่องทางอื่น สำคัญน้อยกว่า
ความพยายามรักษารายได้หรือเพิ่มรายได้จากช่องทางเดิม
ถ้าเรามั่นใจว่า เรารักษารายได้จากช่องทางเดิม ไว้ได้ดีพอสมควรแล้ว
ต่อไปก็พยายามหารายได้เพิ่มจากช่องทางอื่น นั้นคือ อนาคตของคุณ
โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทาง ** ทุกวันจันทร์ **
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา