20 ต.ค. 2019 เวลา 01:00 • ไลฟ์สไตล์
สวัสดีครับ…กลับมาเจอกับแอดพี่บีใน #TaxSeries ตอนที่ 2 นะครับ วางแผนลดหย่อนภาษีง่ายๆ ตามเป้าหมายของตัวเองกัน
จากตอนที่แล้วเราได้สำรวจกันไปแล้วว่า
จากเงินเดือนของเรา…จะต้องเสียภาษีเท่าไร
(อ่านย้อนหลังได้ที่ปุ่มซีรีส์ล่างสุด)
วันนี้เราจะมาดูแนวทางลดหย่อนภาษีกันบ้างนะครับ
หัวข้อที่จะมาคุยวันนี้
เป็นคำถามจากทางบ้านนะครับ
💌 “พี่บีคะ ปีที่แล้วจ่ายภาษีเยอะจัง
อยากลดหย่อนเพิ่มจากการออม-การลงทุน
จะเลือกอะไรดี?”
ก่อนอื่น…มาเช็กกันก่อนครับว่าในหมวดนี้
มีอะไรที่ช่วยลดหย่อนได้บ้าง
1. กลุ่มคุ้มครอง
ได้แก่ ประกันชีวิตแบบทั่วไป รวมถึงประกันสุขภาพ
✅ สิทธิ์ที่ใช้ได้ :
ตามเบี้ยที่จ่าย แต่มีกำหนดจำนวนสูงสุดที่ลดหย่อนได้ คือ ประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15,000 บาท
ประกันชีวิตแบบทั่วไป ไม่เกิน 100,000 บาท
.
และสองอย่างนี้รวมกัน
ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
2. กลุ่มลงทุน
ได้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF
✅ สิทธิ์ที่ใช้ได้ :
สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
อ้อ…สำหรับ LTF ปีนี้ซื้อเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เป็นปีสุดท้ายนะครับ ซึ่งปีหน้าจะมีกองทุนใหม่มาแทนคือ SEF หรือกองทุนหุ้นยั่งยืน
.
เอาไว้แอดพี่บีจะมาเล่าต่อในตอนหน้าๆ นะครับ
3. กลุ่มออมเพื่อการเกษียณ
เตรียมไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า ได้แก่
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บริษัทเอกชน)
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- ประกันบำนาญ
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
✅ สิทธิ์ที่ใช้ได้ :
รวมกันทั้งหมด ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ใน 3 กลุ่มนี้ ประกัน / ลงทุน / เกษียณ
.
เชื่อว่าเกินครึ่ง เลือกซื้อ 1 หรือ 2 ก่อน
(ประกันและลงทุน) พอค่าลดหย่อนเริ่มเต็มแล้ว
จึงค่อยหันมามอง 3 (เกษียณ)
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสูตรตายตัวว่าจะเลือกอะไรก่อนหลังดี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคนครับ
💙 หากชอบผลประโยชน์ที่แน่นอน
ความเสี่ยงต่ำ ไม่โดนหักภาษี
พร้อมรับความคุ้มครอง…ก็เลือกประกันชีวิต
💙 หากชอบการลงทุน ลุ้นผลตอบแทน
รับความเสี่ยงตามลักษณะของกองทุน
…ก็เลือกกองทุนรวม LTF
❓แต่ถ้าชอบวางแผนเพื่ออนาคต
เตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
.
จะเลือกอะไรดี…ระหว่างประกันบำนาญ
และกองทุนรวม RMF?
🔎 เทียบกันดูว่าสองอย่างนี้…
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
1.  ความต่อเนื่องในการซื้อ / ลงทุน
📘 ประกันบำนาญ :
จ่ายเบี้ยตามสัญญา มีตั้งแต่แบบที่จ่ายครั้งเดียว
หรือจ่ายตามจำนวนปีที่กำหนด
📈 RMF :
ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี ติดต่อกัน) และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม
หากกลัวเรื่องภาระผูกพันระยะยาว
ประกันบำนาญถือว่าได้แต้มไปในจุดนี้
ด้วยความยืดหยุ่นกว่า ในการเลือก
ระยะเวลาการชำระเบี้ย
2. ความเสี่ยง / ผลตอบแทน
📘 ประกันบำนาญ :
แทบไม่มีความเสี่ยงเลย
(เพราะมีหน่วยงานกำกับคอยดูแลอยู่)
ผลตอบแทนการันตีแน่นอนตามที่ระบุในสัญญา
📈 RMF :
ความเสี่ยงและผลตอบแทน
ขึ้นอยู่กับลักษณะของกองทุน
เน้นการรักษาเงินต้น และโอกาสในการเพิ่ม
ผลตอบแทนตามสภาวะตลาด
ข้อนี้แล้วแต่ชอบครับ เรียกว่าทางใครทางมัน
3. การรับเงินคืน
📘 ประกันบำนาญ :
รับเป็นงวดๆ รายเดือนหรือรายปี
จนครบกำหนดตามสัญญา เช่น
รับถึงอายุ 85 ปี / 90 ปี / 99 ปี
แล้วแต่ลักษณะของแบบประกัน
📈 RMF :
รับครั้งเดียวเป็นเงินก้อน นำมาบริหารจัดการเอง
เช่นเดียวกับข้อที่แล้ว…คือขึ้นอยู่กับความชอบ
และความถนัดเช่นกันครับ
แต่ถ้าถามแอดพี่บี การรับเป็นรายงวดก็ช่วยให้มีวินัย ไม่ใช้เกินตัว เผื่อเงินหมดเร็วกว่าที่คิด และหากอายุยืนยาว ประกันบำนาญที่การันตีการรับเงินยาวๆ ก็น่าจะคุ้มกว่า และไม่ต้องกลัวว่าเงินที่สะสมมาจะหมดก่อน
เหมือนคำกล่าวที่ว่า
“ที่สุดของความเสียดาย คือตายไปแล้วใช้เงินไม่หมด ที่สุดแห่งความสลด คือใช้เงินหมดแต่ยังไม่ตาย”
4. ลดหย่อนภาษี
📘 ประกันบำนาญ :
สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
📈 RMF :
สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งสองอย่างนี้เมื่อนำมารวมกับกลุ่มเงินออมเพื่อการเกษียณที่กล่าวไปตอนต้นแล้ว สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ลองจัดสรรสัดส่วนดูตามที่เหมาะสมนะครับ
อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ พอจะมีไอเดียแล้วใช่ไหมครับ ว่าจะเลือกอะไรดีให้เหมาะกับตัวเอง 😉
แต่ถ้าสนใจประกันบำนาญตัวท้อป ฮอตสุดใน BLA จ่ายเบี้ยครั้งเดียว รับเงินบำนาญสูงสุด 26 ปี
สมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ link ด้านล่างนี้ครับ
อย่ารอช้า เพราะมีขายถึง 31 ตุลาคม 2562 นี้เท่านั้น
แล้วพบกันใหม่กับ #TaxSeries ในตอนหน้านะครับ
โฆษณา