24 ต.ค. 2019 เวลา 17:48 • ไลฟ์สไตล์
ไม่ต้องหาความหมายของชีวิต แต่ทำชีวิตให้มีความหมาย 😉
เมื่อต้นปีผู้เขียนมีโอกาสได้มาอินเดีย
“กลัวขี้แตกขี้แตน” มันเป็นอย่างนี้นั่นเอง อยากไปแต่ไม่อยากไป 🥴🤪
เพื่อนบอกว่า อะไรที่เคยได้ยินมาเกี่ยวกับอินเดีย โยนทิ้งไปได้เลย
ก็ยังไม่วายกลัวโน่นนี่นี่นั่น 🥴😅
ดูสิ! จะเดินทางกันอยู่แล้ว เงินก็ยังไม่แลก โรงแรมก็ยังไม่จอง 🥴
และก็เป็นจริงตามที่เพื่อนว่า ☺️
ที่ว่าปัสสาวะ อุจจาระข้างถนน
ที่ว่าต้องเตรียมรองเท้าแตะมาเป็นตั้ง เหยียบแล้วทิ้ง😱
ที่ว่าขอทานเต็มไปหมด
Everything not-so Jingle Bell 🔔
ไม่มีเลย !
touch wood !
Touch wood หรือ knock on wood คือสำนวนอังกฤษ เทียบเป็นไทยก็คือ สาธุขอให้เป็นอย่างนั้นต่อไป ☺️
รวมกับทริปครั้งนี้เที่ยวครอบคลุม 5 เมืองด้วยกันคือ Mumbai หรือ Bombay, Goa , New Delhi, Agra, และ Jaipur
พูดถึงเมือง Goa กัว หรืออ่านว่า กัว-อา เป็นเมืองตากอากาศของคนมีฐานะ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Goa อยู่ติดทะเลอาหรับ Arabian Sea คลื่นนุ่มฟองขาวเหมือนฟองนมในแก้วกาแฟคาปูชิโน และหาดทรายละเอียด สะอาดไร้ขยะและเย็นมากในเวลาพลบค่ำ
Goa เคยถูกปกครองโดยโปรตุเกสเป็นเวลานานถึง 450ปี จึงมีวัฒนธรรมโปรตุเกสผสมผสานอยู่ด้วย แม้แต่ชาวอินเดียเองก็ว่า Goa ไม่ใช่อินเดีย
โดยรวมผู้เขียนโชคดีกว่าเพื่อนๆที่เคยมาอินเดียมาก 🤣เพราะไม่เจอ Everything not-so J ingle Bell 🔔 อย่างที่ว่า
ระหว่างทางจากเมือง Agra ไป Jaipur รถของเรายางแบนบนทางหลวง ผู้เขียนลงจากรถเพื่อช่วยคนขับยกกระเป๋าลงเพราะอายุน้อยที่สุดในกลุ่ม ☺️ กับเพื่อนอีกคน เรายืนเป็นกำลังใจให้คนขับอยู่นอกรถโค้ช ไม่มีขอทานวิ่งมาขอเงินอย่างที่เล่าว่า แต่กลับมาเล่นดนตรีเพลงท้องถิ่นและ happy birthday 🤣 เมื่อถามว่า “วันเกิดใคร” เด็กน้อยก็ยิ้มเขินๆ ☺️ มีคนเดินมาขายของเป็นระยะๆ แต่ก็ไม่ได้มารบกวนให้รำคาญใจแม้แต่น้อย
และคนอินเดียดูเหมือนจะตื่นเต้นกับนักท่องเที่ยว และไร้เดียงสามาก เค้าจะขอถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นเรื่องปรกติ ☺️
May I take selfie with you?
ไม่มีขอทานจ้า มีแต่นักดนตรี 🤣
กลับมาครั้งนี้เราเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์หลายแห่งๆแรกคือทำเนียบสตรีที่โลกไม่ลืม อินทิรา คานธี ผู้งดงามทั้งภายในและภายนอก อินทิรา คานธี ถูกลอบสังหารในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2527
เธอเป็นแม่พระมาโปรด ผู้เข้าถึงโลกของคนยากจนและคนไร้โอกาส
ในฐานะที่เป็นลูกสาวของ เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียนับแต่ได้เอกราชจากอังกฤษ ทำให้อินทิราเติบโตขึ้นท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย
อินทีร์ มัลโหตร นักหนังสือพิมพ์ผู้ออกงานเขียนชีวประวัติของอินทิราเมื่อปี 2532 ให้ความเห็นว่า นางอินทิรา เป็นนักการเมืองที่เข้าใจถึงความสำคัญของอำนาจ และรู้ว่าควรจะจัดการกับอำนาจได้ดีกว่านักการเมืองคนอื่นๆ โดยภายใต้การนำของสตรีเหล็กผู้นี้ ทำให้อินเดียชนะสงครามกับปากีสถาน และปลดปล่อยบังกลาเทศได้ในปี 2514
เธอยังเป็นผู้ริเริ่มการปฏิวัติสีเขียวเพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหารให้แก่อินเดีย ดึงธนาคารเข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อลดผลกระทบของอินเดียที่มีต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน รวมทั้งยุบรวมรัฐอินเดียเก่าๆ ที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย พร้อมนำแดนโรตีเข้าร่วมสมาชิกประเทศที่มีนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง และนำอินเดียก้าวกระโดดครั้งใหญ่เข้าสู่งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Credit : socalhistory.org)
เธอเคยกล่าวไว้ว่า “
ข้าพเจ้ามิเคยลืมสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่สะอาด สงบ ปลอดภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ผู้คนมีความสุข ข้าพเจ้าฝันมาตลอดว่าสักวันหนึ่ง จักได้เห็นประชากรชาวอินเดียดื่มน้ำประปาจากก๊อกสาธารณะได้ จะไม่เห็นชาวอินเดียถ่ายอุจจาระปัสสาวะกลางถนน จะไม่เห็นชาวอินเดียนอนริมทางเท้า จะไม่เห็นโจรเมื่อเราเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ จะไม่เห็นขอทานที่มีมากกว่าคนรวย…
“ฝัน ของข้าพเจ้าคงไม่มีวันเป็นจริงจากที่ประชากรอย่างแตกแยกเรื่องชนชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนาและลัทธิทางการเมือง”
เสียดายเธอยังไม่เห็นวันนั้น และวันนั้นในวันนี้ก็ยังมาไม่ถึง อย่างไรก็ตามอินเดียในวันนี้ดีขึ้นมากจากวันวาน ☺️
นอกจากเธอมีชีวิตที่มี “ความหมาย”แล้วชีวิตของเธอยังมีความหมายต่อชาวอินเดียผู้ด้อยโอกาสเป็นอย่างมาก
ระบบชนชั้นไม่ดีขึ้น คนรวยก็รวยไป คนจนก็จนลง แต่ถ้าระบบวรรณะ มีสัญญาณที่ดี วรรณะล่างมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น มีปากมีเสียง ต่อสู้มากขึ้น
และเมื่อสามารถแต่งงานข้ามวรรณะได้ คนวรรณะสูงก็ยากที่จะกดขี่คนวรรณะต่ำได้ แนวคิดที่ว่าคนบางคนเกิดมาเพื่อทำงานสกปรก งานต่ำต้อย เกิดมาเพื่อทำบางสิ่งบางอย่างเท่านั้นก็จะถูกสั่นคลอนและหายไปนั่นเอง
โฆษณา