27 ต.ค. 2019 เวลา 04:00 • ธุรกิจ
5 เทรนด์อาหารที่ต้องจับตามอง
cr. pinterest
1. ทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์ ( Food Plant-based)
.
ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับการไม่เบียดเบียนสัตว์ หรืออย่างการรับประทานอาหารประเภทมังสวิรัติและกลุ่มวีแกน ซึ่งคนกลุ่มวีแกนต่างจากคนที่รับประทานอาหารประเภทมังสวิรัติตรงที่พวกเขาไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นมสัตว์ ไข่ และทุกผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เลย บางกลุ่มเคร่งมากๆ ก็ไม่ใช้กระเป๋าหรือของใช้ที่มาจากสัตว์ด้วย ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความต้องการหลีกเลี่ยงการทำร้ายสัตว์และต้องการรักษาสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม
บริษัทวิจัยตลาด Market and Markets กล่าวว่า มูลค่าของตลาดสินค้าทดแทนเนื้อสัตว์ทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 4.6 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะสูงถึง 6.4 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2566
.
โดยตลาดเอเชียเป็นส่วนที่เติบโตเร็วที่สุด ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ตลาดอาหารจากพืชมีมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2562 เติบโตขึ้น 20% เทียบกับปี พ.ศ. 2562 เติบโตขึ้น 20% เทียบกับปี พ.ศ. 2561 ที่เติบโตขึ้น 8%
1
ถึงแม้ว่าคนจะมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง และเปลี่ยนมาเป็นการทานโปรตีนจากพืชมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าคนจะไม่ปรารถนาเนื้อสัตว์และกลิ่นอย่างที่เคยได้บริโภค ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดกลุ่มสตาร์ทอัพมากมายที่พยายามคิดค้นโปรตีนจากพืชที่สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
.
ยกตัวอย่าง Startup ชื่อ Right Treat จากประเทศฮ่องกง ผลิต Omnipork ซึ่งก็คือเนื้อหมูสับที่มาจากโปรตีนจากพืช (Plant base protein) โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น เห็ด ถั่วเหลือง ถั่วลันเตาและข้าว โดยที่ไม่ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม บริษัท Beyond Meat ผลิตเบอร์เกอร์และไส้กรอกจากโปรตีนถั่ว โดยมียอดขายในฮ่องกงเพิ่มขึ้น 300% เมื่อปีที่แล้ว บริษัท Avant Meats ในฮ่องกง ใช้เทคนิคการเลี้ยงเซลล์ในห้องทดลองเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเล กระบวนการนี้ใช้สเต็มเซลล์จากสัตว์เพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อในห้องปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ในแล็บ ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ได้อย่าง 100% ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายและบริษัท Startup ต่างพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
.
2. อาหารเพื่อสุขภาพความงามและชะลอวัย (Anti-ageing & Wellness)
.
มีงานวิจัยจากสำนักวิจัย Mintel พบว่าประชากรในวัย 20-30 ปี เริ่มมีความสนใจการรักษาความงามและสขุภาพผ่านการรับประทานอาหารกันมากขึ้น 38% ของคนไทยในเขตเมืองสนใจอาหารโปรตีนสูงที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ 35% ของคนจีนสนใจน้ำผลไม้ที่ให้คุณค่าด้านการชะลอวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-49 ปี ส่วนในประเทศอังกฤษพบว่า 18% ของคนอังกฤษสนใจน้ำเกลือแร่ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก จากกระแสอาหารที่ผู้บริโภคเน้นรับประทานอาหารเพื่อความงามและความชะลอวัยกันมากขึ้นนี่เอง ทำให้เราจะเห็นกลุ่มตลาดขายไลน์สินค้าอาหารเสริมกันเพิ่มขึ้นเช่น อาหารเสริมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ คอลลาเจน วิตามินต่างๆ กันมากกว่าเดิม ซึ่งผู้บริโภคอาจจะต้องทำพิจารณากันเอาเองว่ามันมีประโยชน์ทางโภชนาการจริงอย่างที่บอก หรือเป็นแค่นวัตกรรมทางการตลาดกันแน่
.
3. การใช้ Blockchain กับอุตสาหกรรมอาหาร
.
กระแสในอุตสาหกรรมอาหารที่ถูกกล่าวถึงมาระยะหนึ่งคือ ความต้องการตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาของอาหาร ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ทุกขั้นตอนในการผลิตอาหารและการส่งต่อข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้อย่างดีและป้องกันการทำลายข้อมูลได้ ผู้คนที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานนี้จะสามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนหรือลบที่มีอยู่แล้วได้ ผู้ผลิตสินค้าสามารถตรวจสอบที่อยู่ของสินค้า และแจ้งเหตุหรือค้นหาปัญหาการขนส่งอาหารได้ เพราะข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทั่วไป หากพบสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร บริษัทจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าผลิตมาจากล็อตใด และสามารถเรียกคืนหรือระงับการขายสินค้าล็อตนั้นได้ก่อนความเสียหายจะเกิดมากขึ้น
ในแง่ของผู้บริโภคก็สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ว่ามีแหล่งวัตถุดิบจากอะไร ผลิตที่ไหน ผลิตเมื่อไหร่ ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการบริโภคมากขึ้น
cr. pinterest
ใน Blockchain Network นี้จะประกอบไปด้วยผู้ผลิตวัตถุดิบ ตัวกลางรวบรวมวัตถุดิบ โรงงานผู้แปรสภาพวัตถุดิบ ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าปลีก ผู้ตรวจสอบด้านกฎหมายและผู้บริโภค โดยแต่ละคนจะได้รับสิทธิ์ในการตรวจสอบแหล่งที่มาและที่อยู่ของอาหารหรือวัตถุดิบทั้งหมด ทำให้หากมีกรณีมีสารปนเปื้อนในอาหารหรืออื่นๆ ก็สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใสและทันที ยกตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ประกาศความร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ตและบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่หลายรายเช่น Walmart, Kroger, Nestlé, Unilever, Dole ทำระบบติดตามซัพพลายเชนอาหารสดด้วย blockchain ซึ่งระบบนี้จะใช้ IBM Blockchain Platform ที่พัฒนาจากเทคโนโลยีของโครงการ Hyperledger มาติดตามเส้นทางเดินของวัตถุดิบอาหารสด ตั้งแต่จากฟาร์มผ่านกระบวนการต่างๆ มายังซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ตรวจสอบกลับได้ว่าอาหารแต่ละแพ็คมีที่มาอย่างไรและแก้ปัญหาความปลอดภัยของอาหาร (food safety) ได้ง่ายขึ้น ซึ่งอนาคตอันใกล้นี้อาจจะมาคอยติดตามกันว่า ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี blockchain จะมาช่วยแก้ปัญหาให้กับวงการอาหารได้อย่างไร
.
4. Personalized Food
.
คือการออกแบบอาหารที่ตอบโจทย์กับความต้องการรายบุคคล เพราะแต่ละคนมีเงื่อนไขในความต้องการบริโภคอาหารที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ อายุ ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน บางคนไม่ชอบกินหวาน บางคนไม่กินเนื้อสัตว์ บางคนต้องการลดความอ้วน ซึ่งความต้องการที่หลากหลายเหล่านี้ การขายแบบแมสส์ในท้องตลาดอาจจะไม่ตอบโจทย์ และเมื่อเทคโนโลยีสามารถนำข้อมูลความชอบของลูกค้ามาวิเคราะห์และทำการ Personalized Food ทำให้ช่วยออกแบบมื้ออาหารแบบเฉพาะบุคคลได้ นอกจากนี้ อนาคตจะมีนวัตกรรมเครื่องมือตรวจสุขภาพได้เองที่บ้าน ที่สามารถส่งผลออนไลน์และนำมาประมวลผลแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ผลิตอาหารแบบเฉพาะบุคคล ทราบได้ว่าควรจะรับประทานอาหารอะไรถึงจะดีต่อสุขภาพของเรา ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา มีธุรกิจ Start Up ที่รับผลิตอาหารเฉพาะบุคคลแล้ว เช่น Sun Basket , Freshly, Keto, Platejoy เป็นต้น
2
.
5. Environmental Sustainability.
.
ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เราจะเริ่มเห็นการลดการใช้ถุงพลาสติกและการกระตุ้นให้ใช้ถุงผ้า อย่างล่าสุดเซเว่นก็ได้ประกาศเลิกให้ถุงพลากสติกแล้วในปี 2563 นี้ หรือแม้กระทั่งการลดขยะหรืออาหารเหลือทิ้ง ยกตัวอย่างบริษัท Tesco ในสหราชอาณาจักรฯ พยายามแก้ไขปัญหาเศษอาหารเหลือทิ้ง โดยเขาได้จัดมูลนิธิ FareShare ส่งวัตถุดิบคุณภาพดีที่เหลือขายไปผลิตเป็นอาหารแจกผู้ยากไร้ และนำส่วนที่รับระทานไม่ได้ นำไปทำเป็นอาหารสัตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการกับขยะได้ดีมากทีเดียว และ Tesco เองสามารถลดขยะเหลือทิ้งเหลือเพียงแค่ 1%เท่านั้น
.
ที่มา
e-Magazine : Startup Thailand : Food that are changing the way we eat
1
โฆษณา