30 ต.ค. 2019 เวลา 02:00 • การศึกษา
'วิชาการเงินส่วนบุคคล 101'
เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไม ? เงินเดือนหรือรายได้ที่เข้ามาในแต่ละครั้ง
มันหายไปไหนหมด ?
เงินเก็บที่เรามีมาทั้งหมดที่ควรจะมี มันอยู่ไหนกันนะ ?
ผมขอปัดฝุ่นวิชาที่จบการศึกษามาอีกครั้ง เพื่อเอามาเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนครับ
ผมเรียนจบในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศของเรา
ผมได้ลงเรียนวิชา 1 วิชาซึ่งเกี่ยวข้องกับวิชาเอกของผมชื่อวิชาว่า
"การเงินส่วนบุคคล - Personal finance 101"
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินมีบทบาทสำคัญกับชีวิตของเราอย่างมาก
เรียกได้ว่า "ตั้งแต่เกิดจนตาย เราใช้เงินเกือบจะแทบทุกลมหายใจ"
แต่ที่น่าแปลก
"ความรู้ทางการเงินของมนุษย์เรานั้น แทบจะไม่มีการเรียนการสอนกันเลย"
แม้กระทั่งคนในครอบครัวก็ไม่คิดที่จะสอนเช่นกัน
ทันทีที่มีรายได้เข้ามา
ให้หักเงินจากรายได้นั้นไว้ส่วนนึง เพื่อ "ให้กับตัวเองในอนาคต" ประมาณ 10% เป็นอย่างน้อย
ไม่ว่ารายได้นั้น จะมีกี่ก้อน จะมีมาบ่อยหรือนานๆทีมา
"ให้หักอย่างน้อย 10% ของรายได้เพื่อเก็บเอาไว้เป็นเงินในอนาคต"
หลังจากนั้นจึงเอาไปใช้จ่ายที่เป็น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
ตามด้วย "ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น"
สุดท้ายจะเหลือ "เงินโบนัสที่รอเราเอาไปใช้อย่างสำราญ" ก้อนสุดท้าย ของเดือนนั้น
ผมแนะนำให้เอาเงินก้อนนี้
"ไปพัฒนาตัวเองครับ"
อาจจะเอาไปซื้อหนังสือดีๆสักเล่มอ่าน , เอาไปเรียนคอร์สเรียนภาษาสั้นๆ , เอาไปท่องเที่ยวทริปสั้นๆเพื่อให้ตัวเองได้พักผ่อน
สรุป
เก็บอย่างน้อย 10% - จ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็น - จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น - ช่วงเวลาเกษมสำราญ
หลายคนอาจจะแย้งมาก่อนว่า แล้วการลงทุนไปไหนล่ะ ?
เอาเป็นว่าเราจะเริ่มที่การสร้างนิสัยการเก็บเงินก่อน แล้วค่อยๆเริ่มสร้างนิสัยในการจัดการทางการเงินของตัวเอง
จากนั้นการลงทุนที่ว่าเดี๋ยวมันจะตามมาเองครับ
ต้นเดือนใหม่กำลังจะมาแล้ว
เงินเดือนก็น่าจะเข้ากันแล้วนะครับ
"มาลองเริ่มใช้ความรู้จากวิชานี้ วิชา การเงินส่วนบุคคล 101 กันได้เลยครับ"
ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืม กดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม เพจสรุปของฉันในวันนี้ เอาไว้ด้วยนะครับ
จะได้ไม่พลาดบทความต่อไปครับ
โฆษณา