6 พ.ย. 2019 เวลา 11:46 • สุขภาพ
กรณีศึกษาชาวนาญี่ปุ่น
ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่น
ถึงเป็นอาชีพที่ร่ำรวยและมีเกียรติ
มันจริงเท็จแค่ไหน..
มันมีปัจจัยอะไรบ้าง..
ที่ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นยืนไปอยู่บนจุดนั้นได้
และตื้นลึกหนาบางมันเป็นอย่างไร หรือเป็นแต่เพียงคำพูดต่อๆกันมา
วันนี้หน้าบางๆ จะเหลาให้ฟัง
ด้วยญี่ปุ่นเป็นเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม
แต่เมื่อสงครามจบ
นับศพทหารและความเสียหายของประเทศแล้ว
ญี่ปุ่นจึงไม่มีเวลา
ที่จะมานั่งเศร้าโศกเสียใจรำพึงรำพรรณ
ถึงความเจ็บปวดของตัวเองได้มากขนาดนั้น
ด้วยประเทศก็ต้องบูรณะ
ประชาชนก็ต้องเยียวยา
ไหนจะค่าปฏิกรรมสงคราม
ที่เป็นภาระหนักของประเทศที่จะต้องรับผิดชอบ
ญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทาง
ที่จะให้ประเทศของตัวเองกลับมาได้
ยุทธศาสตร์หลักที่ญี่ปุ่น
ได้นำมาใช้เป็นแนวทางที่จะฟื้นฟูประเทศ
ก็คือการพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็น
ก็อย่างที่โลกเป็นในปัจจุบันนั่นแหละ
ญี่ปุ่นกลับมา..
และมากกว่าของการกลับมา
คือการถีบตัวเอง..
ให้ไปยืนอยู่บนที่ว่างลำดับต้นๆของเวทีโลก
กรณีศึกษาของญี่ปุ่นจึงอาจนำมาปรับใช้เพื่อเป็นเหตุผลรองรับความพ่ายแพ้ทุกชนิดของชีวิตได้
เพราะต่อเมื่อใดที่ชีวิตล้มเหลว
แต่หากยังมีใจยืนหยัดอยู่อย่างมุ่งมั่นที่จะคืนกลับสู่เส้นทาง.." โลกใบนี้ก็ยังมีที่ว่างแห่งความสำเร็จให้แก่ผู้แพ้เสมอ "
แล้วการที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม
มันข้องเกี่ยวกับชาวนาอย่างไร?
ผลพวงจากภาวะประเทศผู้แพ้สงครามทำให้คนญี่ปุ่นมีความรักและความสามัคคีเป็นอย่างมาก
จนเกิดเป็นปรากฎการณ์
หล่อรวมกันเป็นหนึ่งที่จะกู้ชาติ
อันที่จริงแล้ว
ถ้าจะพูดว่าอาชีพชาวนาในญี่ปุ่น
เป็นอาชีพที่ร่ำรวยมันก็คงไม่ถูกต้องทั้งหมด
ที่ถูกต้องคืออาชีพทุกแขนงของคนญี่ปุ่นเป็นอาชีพที่ร่ำรวยถึงจะใช่
แต่เพียงเราได้รับฟังข้อมูลมาแต่ตื้นเขินจึงเข้าใจผิดคิดคลาดเคลื่อน
ที่สำคัญด้วยเหตุผลต่อไปนี้ที่จะทำให้เรารู้ถึงมูลเหตุว่าทำไมอาชีพชาวนาของคนญี่ปุ่นถึงเป็นอาชีพที่ร่ำรวยและมีเกียรติ
๑.อาชีพและสัดส่วนของประชากรต่อพื้นที่ของประเทศ
ประเทศญี่ปุ่นมีขนาดพื้นที่ประมาณ ๓๘๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนประชากรประมาณ ๑๒๘ ล้านคน
คิดเป็นสัดส่วน ๓๓๘ คน ต่อพื้นที่ ๑ ตารากิโลเมตร
ซึ่งถือว่าหนาแน่นค่อนข้างมาก
แต่มีคนญี่ปุ่นเพียง ๔% เท่านั้น ที่มีอาชีพทำนา
นำมาเปรียบเทียบง่ายๆกับพี่ไทยเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
ประเทศไทยมีขนาดพื้นประมาณ ๕๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนประชากรตาดำๆ ประมาณ ๖๗ ล้านคน
คิดเป็นสัดส่วน ๑๓๑ คน ต่อพื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร
ซึ่งถือว่าหนาแน่นค่อนข้างน้อย
แต่มีคนไทยถึง ๓๘% ที่มีอาชีพทำนา !!!
จากตัวเลขทางสถิติ  จึงพอบอกได้ว่า
สัดส่วนความเหมาะสมของชาวนาญี่ปุ่นและไทย
ต่างก็แปรผกผันย้อนแย้งกันอย่างมีนัยยะสำคัญคือ..
ญี่ปุ่นมีพื้นที่ทำนาน้อย แต่มีประชากรมาก
ในขณะที่ไทยมีพื้นที่ทำนามาก แต่ประชากรน้อย
และยิ่งเมื่อนำตัวเลขของประชากรที่มีอาชีพทำนาของทั้งสองประเทศมาเทียบกัน
ก็ยิ่งเห็นนัยยสำคัญะอะไรบางอย่างซ่อนอยู่
นั่นคือ..
แม้ญี่ปุ่นจะมีประชากรถึง ๑๒๘ ล้านคน
แต่มีคนเพียง ๔% เท่านั้นที่มีอาชีพทำนา
ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ย้อนแย้งต่างกันมาก
ในขณะที่ไทยมีจำนวนประชากรคือ ๖๗ ล้านคน
แต่มีคนถึง ๓๘% ที่มีอาชีพทำนา
ซึ่งก็ยิ่งถือว่ามีความย้อนแย้งมากไม่ต่างกัน
หากแต่กรณีย้อนแย้งของญี่ปุ่น
จะส่งผลให้อุปสงค์ในผลผลิตของข้าวมีมากกว่าอุปทาน
จึงทำให้ข้าวในญี่ปุ่นมีราคาสูง
จึงเป็นเหตุผลโดยตรงที่เข้าใจได้ง่ายๆ
ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวยนั่นเอง
ส่วนกรณีอุปสงค์กับอุปทาน
ในตัวข้าวจนกระทั่งถึงราคาข้าวของไทย
ก็เข้าใจได้ง่ายๆเช่นกัน
คือตรงข้ามกับญี่ปุ่นทุกอย่าง
จึงเป็นเหตุผลข้อที่ ๑ ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย
๒.สภาพภูมิศาสตร์ทางด้านกายภาพของประเทศ
วงแหวนแห่งไฟ แผ่นดินไหว เป็นเกาะแก่งอยู่ใจกลางทะเล พื้นที่ลาดชันมากกว่าพื้นที่ราบลุ่ม
นั่นคือลักษณะทางกายภาพแห่งดินแดนปลาดิบ
จะเห็นได้ว่าเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติโอบกอดห้อมล้อมอยู่อย่างอิงแอบแนบชิด
ไหนจะภัยแผ่นดินไหว ไหนจะภัยวาตะภัยน้ำท่วม ลักษณะพื้นที่สูงต่ำลาดชัน
1
ล้วนก็เป็นอุปสรรคต่ออาชีพเกษตรกรรมทุกแขนง
เมื่อปัจจัยจากภัยธรรมชาติเป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตร
เมื่อการเกษตรทำได้ยากสินค้าเกษตรจึงมีราคาสสูง ..ซึ่งนั่นรวมถึงข้าวด้วย
จึงเป็นเหตุผลข้อที่ ๒ ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย
๓.การส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มพิกัด
รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เพียงแต่พัฒนาเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเท่านั้น
แต่เทคโนโลยีทางการเกษตรก็ถูกพัฒนาไม่ต่างกัน
มีการส่งเสริมให้ชาวนานำเอาเครื่องจักรมาช่วยในทุกขั้นตอนของการทำนา
เพื่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มีการสนับสนุนเงินทุนอย่างไม่อั้น
 
มีการจัดสร้างระบบชลประทานอย่างเล็งเห็นความสำคัญ
มีระบบบริหารจัดการผลผลิตของข้าวอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรที่ให้เกษตรกรบริหารกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนเหล่านี้จากรัฐบาล
จึงเป็นเหตุผลข้อที่ ๓ ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย
๔.นโยบายกีดกันสินค้าข้าวจากต่างประเทศ
รัฐบาลญี่ปุ่นจะทำทุกวิถีทาง
ที่จะสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับข้าวหรือพันธุ์ข้าวอันเป็นผลผลิตเฉพาะประเทศของตนเอง
ไม่เพียงแต่นโยบายส่งเสริมสนับสนุนชาวนาอย่างไม่อั้นเท่านั้น
กลยุทธสำคัญอีกหนึ่งอย่าง
ที่รัฐบาลญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นมาเพื่อปกป้องชาวนาของตนเองก็คือนโยบายกีดกั้นสินค้าข้าวจากต่างประเทศ
จะมีการตั้งกำแพงภาษีที่สูงมากสำหรับสินค้าข้าวที่จะนำเข้า
ไม่ว่าประเทศผู้ค้าข้าวประเทศไหน ( รวมถึงประเทศไทย )
ถ้าจะนำข้าวเข้าไปขายที่ญี่ปุ่นจะโดนโขกสับภาษีอย่างไม่มีชิ้นดี
คือการขึ้นภาษีไม่ต่ำกว่า ๗ - ๘ เท่าของราคาปรกติอิงตลาดโลก
จึงไม่มีประเทศไหนที่จะสู้กับต้นทุนที่มากถึงขั้นผิดปรกติได้
ดังนั้นเมื่อข้าวจากต่างประเทศเข้าไปขยายอิทธิพลในญี่ปุ่นได้ยาก
จึงเป็นการควบคุมทั้งมูลค่าทั้งคุณค่าข้าวของชาวนาญี่ปุ่นได้ง่าย
จึงเป็นเหตุผลข้อที่ ๔ ว่าทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย
๕.ทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงร่ำรวย
* เหตุผลในข้อนี้สำคัญที่สุดกว่าทุกข้อที่ผ่านมา *
เหตุผลมีว่า แท้จริงแล้วอาชีพชาวนาญี่ปุ่น
เป็นแต่อาชีพอดิเรกของคนร่ำรวยในญี่ปุ่นอยู่แล้ว
คนร่ำรวยในญี่ปุ่นมีเงินทุนเหลือเฟือ
แต่เมื่อมีเวลาว่างก็มาทำนาเป็นอาชีพเสริม
ด้วยเหตุผลนี้ข้อสุดท้าย จึงเป็นฐานรากแห่งความร่ำรวยของชาวนาญี่ปุ่นนั่นเอง
ในตอนต่อไปจะเขียนเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อแตกต่างของข้าว ๒ สายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก
ข้าวหอมมะลิของเราจะเป็น ๑ ใน ๒ สายพันธุ์นั่นไหม โปรดติดตามตอนต่อไป
❤ กดไลก์ กดแชร์ กดติดตาม
❤ เพื่อเป็นกำลังใจให้เพจแมวพิมพ์ด้วยนะครับ
ด้วยจิตมิตรภาพ
^_ ^ แมวพิมพ์ ~
๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
โฆษณา