6 พ.ย. 2019 เวลา 15:13 • ประวัติศาสตร์
รักพระเจ้าตาก รักท่านมาก 🙏🙏🙏
การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310
ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น
ซึ่งอยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่ มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา
พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนเศษเท่านั้นนับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า
“กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
*************************
การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิระปราการ (ตำแหน่งสุดท้ายของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร
ซึ่งถูกเรียกตัวมาช่วยรักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น
พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้นจะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย
จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยองด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน
พระเจ้าตากจึงทรงแสดงความสามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหารและสร้างแรงบันดาลใจโดยให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง
ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึงใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช
การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่างๆ ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน
อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----ระยอง-----จันทบุรี
เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้น จึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอิน คนไทยที่พม่าแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุง
พระยาตากสินชนะจับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกันนั่นเอง
ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย
มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่ มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา
พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนเศษเท่านั้น นับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า
“กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
คนรักประวัติศาสตร์จะเข้าใจความสำคัญของ “วันกู้ชาติ” หรือ “วันประกาศอิสรภาพ”นี้เป็นอย่างดี
แต่ถ้าเป็นประเทศอื่นเขาจะถือว่าเป็นวันชาติ ที่สำคัญที่สุด
ยิ่งเป็นวันประกาศเอกราชด้วยแล้ว ทุกคนในชาติจะยกย่อง และฉลองกันอย่างสมศักดิ์ศรี
.
“๖ พฤศจิกายน” มีความสำคัญต่อชาติไทย คนไทยขนาดนี้
แต่กลับมีน้อยคนนัก ...ที่จะจดจำได้
 
กูเหนื่อยยากแสนสาหัส ก็มิใช่เพื่อตัวกู
เมื่อกูเสียเลือดเสียเนื้อ ก็มิหวังต่ออำนาจ
กูกู้ชาติบ้านเมือง ก็เพื่อสร้างบ้านเมือง
กูรวบรวมพี่น้อง ก็ยังประโยชน์แด่พี่น้อง
ถึงกูจะถูกแยกร่างสลายวิญญาณ
กูก็ขอสาบาน "ว่า กู จะกลับมา”
.
รู้ไหม “ถ้าไม่มีวันนั้น เราอาจจะไม่มีวันนี้ก็ได้”
.
#วันกู้ชาติ #พระเจ้าตากสิน
ข้าพระพุทธเจ้า น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
โฆษณา