12 พ.ย. 2019 เวลา 01:08 • ไลฟ์สไตล์
การเรียนรู้.. Learn to Know
การเรียนรู้ในโลกนี้มีอยู่ 2 แบบ.. คือ
1.การเรียนรู้จากภายนอกนำเข้าสู่ภายใน
2.การเรียนรู้จากภายในออกสู่ภายนอก
1.การเรียนรู้จากภายนอกนำเข้าสู่ภายใน.. คือ.. การเรียนรู้แบบทั่วๆไป.. ทั่วโลก.. เช่น....
www.blockdit.com/lungpungkathi
การศึกษาในภาคปกติอย่างชั้นเรียนอนุบาลยันมหาวิทยาลัย.. เป็นการเรียนรู้จากสิ่งรอบด้าน.. รอบตัว..หรือการฝึกอบรมต่างๆ.. เพื่อให้ตนเองมีความรู้.. ใช้ทั้งความจำ.. และความเข้าใจ.. แต่ก็คงไม่ลึกซึ้งกันทั่วถึง.. คือมีเรียนได้ดี.. เก่งบ้าง.. ไม่เก่งบ้าง.. เป็นปกติธรรมดา
การศึกษาจากภาคสังคม.. เช่น.. เรื่องของการทำงาน.. เรื่องของการอยู่ร่วมกันต่างๆในสังคม
ทั้งหมดนี้คือ.. การรับรู้.. จากการเรียนรู้
มันมีลักษณะคล้ายกับการเทน้ำใส่ถังใบหนึ่งซึ่งถ้าถามว่าถังใบนี้บรรจุน้ำได้เท่าไหร่.. คุณคงได้แต่กะประมาณ.. เพราะคุณอาจเรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับน้ำ.. วิธีการเทน้ำ.. แต่คุณไม่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับถังน้ำที่จะมาบรรจุน้ำ
ถังน้ำใบใหญ่.. ใส่น้ำได้เยอะ.. ได้เท่าไหร่
ถังน้ำใบเล็ก.. ใส่น้ำได้น้อย.. ได้เท่าไหร่
ถังน้ำมีรูรั่ว.. จะใส่น้ำให้เต็มอย่างไร.. เท่าไหร่
ถ้าเปรียบถังน้ำเป็นคนล่ะ.. และน้ำคือสิ่งที่เรียนรู้ล่ะ
สักแต่เรียน.. ตามมาตราฐานที่คนสำเร็จเขาทำกัน
ผลลัพธ์.. ออกมาเหมือนกันทุกคนมั้ย
ที่แน่ๆคือไม่รู้จริงแน่นอน.. จนกว่าจะได้ลงมือปฏิบัติการจริง.. ทำให้มากพอ.. เข้าใจให้มากพอ.. ความเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่ทำ.. จึงจะเกิดขึ้น
2.การเรียนรู้จากภายในออกสู่ภายนอก.. คือการศึกษาจากการดูตัวเองให้ชัด.. สังเกตุตนเองอย่างตั้งใจ
ถ้าเปรียบเช่นถัง.. คือการเรียนรู้ว่า.. ถังใบนี้เป็นถังอะไร.. มีขนาดบรรจุเท่าไหร่.. มีตำหนิตรงไหน.. อะไรหรือเปล่า.. เพื่อที่พอจะสรุปว่าควรรองรับของเหลวประเภทไหนได้ประโยชน์สูงสุด.. ในปริมาณที่จำกัดของตน
เช่นเรียนรู้ว่าตนเองเป็นคนอย่างไร.. ชอบทำอะไร.. และความสามารถของตนเองมีเพียงพอที่จะรองรับสิ่งที่อยากเป็นมั้ย.. ถ้าไม่ล่ะ.. ควรต้องทำอย่างไรต่อไป
www.blockdit.com/lungpungkathi
การเรียนรู้และศึกษาตนเองได้ดีที่สุดที่ลุงรู้จักคือ.. การปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน
เพราะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน.. คือการกำหนดจิตให้จดจ่ออยู่กับตนเอง..อยู่กับปัจจุบัน.. จนเกิดสมาธิ
ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้น.. อาจมีเรื่องภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งแวบเข้ามาในความคิด.. จนเกิดการพิจารณาอยากรู้.. จะเกิดปัญญาเข้าใจในสิ่งนั้นๆที่แวบเข้ามา
ลุงขอยกตัวอย่างตนเองก็แล้วกันนะ
เมื่อ 10 กว่าปีล่วงมาแล้ว.. ลุงได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในศูนย์วิปัสสนาแห่งหนึ่ง
ในขณะที่จิตดำดิ่งอยู่ในสมาธิ.. คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งได้แวบเข้ามาในหัว.. นั่นคือเรื่องของกฏไตรลักษณ์.. อันได้แก่.. การเกิดขึ้น.. ตั้งอยู่..ดับไป..
ปกติเราจะมองเป็นเรื่องของชีวิตเราที่มีการเกิดขึ้นมาเป็นคน.. แล้วตั้งอยู่จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ยันผู้แก่.. แล้วก็ตาย.. อันเป็นธรรมชาติ.. เป็นธรรมดา
แต่นี่เมื่อคิดในสมาธิ.. มันก็แตกฉานกันไปอีก.. หรือเลอะเทอะเกินไปหรือเปล่าไม่รู้.. คิดเลยเถิดไปถึงเรื่องของประเทศชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความแตกแยกของนักกีฬาสี.. 2..สี..นั่นคือแดง..กะ..เหลือง..ว่ากำลังนัวเนียอย่างนี้..ด้วยความกังวลมันจะลงเอยอย่างไร
ในสมาธิ.. ตัวเราบอกตัวเราว่า.. ไม่ต้องกังวลเพราะเมื่อมันเกิดความแตกแยกขึ้นมาแล้ว.. ในขณะนี้.. ความแตกแยกมันยังดำรงค์คงอยู่.. อนาคตมันยุติได้แน่นอน.. สบายใจในสมาธิเลย.. โล่งเลย.. แต่ไม่จบแค่นั้นสิ.. ความคิดมันต่อยอดแบบลึกซึ้งลงไปอีกว่า
หากการใช้ชีวิตโดยปกติของเราเจอะเจอปัญหาอุปสรรคนานาล่ะ.. จะเป็นอย่างไรบ้าง
ในสมาธิ.. ตัวเราก็บอกตัวเราเองอีกนั่นแหละว่า.. เมื่อมีปัญหาใดๆเกิดขึ้น.. ไม่ต้องวิตกเกินไป.. เพราะปัญหานั้นๆ.. มันจะดำรงค์คงอยู่ไปสักระยะเวลานึง.. แล้วมันก็จบสิ้นไป.. ลุงรู้สึกสบายใจและเชื่อมั่นขึ้น.. แต่.. แต่.. ยังไม่พอ.. สติในสมาธิ.. ยังสร้างปัญญาเพิ่มเติมให้เราคิดต่ออีกว่า.. ไหนๆปัญหาที่เกิดขึ้น.. ตั้งอยู่.. มันต้องดับ.. ต้องจบแล้วล่ะก็.. จะดีมั้ย.. ถ้าเราใช้สติปัญญาความสามารถของเราจบปัญหาในแนวทางที่เราควบคุมได้.. ไม่ดีกว่าหรือ.. ดีกว่าจบแบบตามยถากรรม.. ยังงัยก็ไม่รู้.. ควบคุมไม่ได้.. อย่างเก่งถ้าควบคุมปัญหา.. ให้ยุติในแนวทางของเราไม่ได้.. ก็ไม่แปลก.. มันก็ต้องยุติแบบตามยถากรรมอีกนั่นแหละ.. แน่นอน
จากนั้นเป็นต้นมา.. ลุงจะไม่ค่อยกลัวปัญหามากนัก.. และมักจะสนุกเพราะเป็นการท้าทายมากกับการแก้ไขปัญหาให้ยุติในแนวทางที่เราต้องการ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ.. ได้อะไรบ้างจากเรื่องเล่าการเรียนรู้ของลุง
การเรียนรู้เพื่อที่จะรู้.. ควรเรียนควบคู่กันไปทั้ง 2 วิธี.. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเรียนรู้.. สู่การรู้อย่างแท้จริง
ลองไปคิดพิจารณากันนะครับ.. และคงเกิดประโยชน์กันบ้างไม่มากก็น้อย.. ไปล่ะ🕺Bye
ถ้าชอบ.. กด👍👍👍👍👍
ถ้าใช่อย่ารีรอ.. กด.. ติดตาม.. เพื่อจะได้พบกันอีก
โฆษณา