26 พ.ย. 2019 เวลา 09:45 • ธุรกิจ
ทำไมข้าวไทยที่เคยเป็นเบอร์ 1 ของโลกเสียแชมป์ต่อเนื่องหลายปีแล้ว
Source: matichon.co.th
ทีแรกว่าจะนำเสนอต่อเนื่องเรื่องโอกาสทางการค้าระหว่างไทยกับมณฑลฉงชิ่ง ของจีน ที่เน้นไปด้านสินค้าเกษตรและอาหารทะเล รวมถึงวิธีคิดและวิธีการดำเนินการของคนจีนที่เรานำมาเป็นกรณีศึกษาได้เป็นกรณีศึกษาได้ เพราะอีกไม่กี่ปีเขาก้าวเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกแน่ๆ
ด้วยความที่มีพื้นฐานจากการที่อยู่ในแวดวงการเกษตรมาโดยตลอด ตั้งแต่เรียนจนจบและทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
การขายและการตลาดที่ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ทำอยู่ก็อยู่ในแวดวงการเกษตรโดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมอาหาร
ได้เห็นข่าวสถานการณ์ข้าวไทยที่ถดถอยมาหลายปีติดต่อกัน ทำให้อดใจไม่ไหวที่จะนำเรื่องนี้แบ่งปันก่อนในฐานะคนที่คลุกคลีอยู่ในแวดลงอาหารและการเกษตรของไทย
โดยได้มีโอกาสได้ติดตามข่าวตามหัวข้อข่าวที่นำมาแบ่งปันบางส่วนดังนี้:
1.ฐานเศรษฐกิจ: ส่งออกข้าวไทย "โคม่า”!! "จีน-อินเดีย" รุมถล่ม!! 24 กุมภาพันธ์ 2562
2.ไทยโพสต์: แนวโน้มส่งออกข้าวเริ่มลดลง ก.พ.หดเหลือ 7 แสนตัน 2 มีนาคม พ.ศ. 2562
3.กรุงเทพธุรกิจ : “ส่งออกข้าวไทย”ทรุดหนัก แข่งขันไม่ได้ ปมของแพงไร้ความแตกต่าง 28 ตุลาคม 2562
4.Nation TV: ส่งออก ‘ข้าวไทย’ ถึงคราอวสาน? 4 พ.ย. 2562
5.TNN ช่อง 16: ส่งออกข้าวไทยส่อวิกฤตหนักสุดในรอบ 6 ปี 4 พ.ย. 2562
จากสาเหตุข้างต้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาคือ?
1.ทำไมการค้าข้าวของไทยจึงถดถอย?
2.เราจะทำอย่างไรให้สถานการณ์ดีขึ้น?
3.จุดมุ่งหมายของการค้าข้าวของเราคืออะไรและจุดยืนของสินค้าข้าวเราคืออะไร?
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เรามาดูทีละข้อว่าคำตอบจะเป็น
1.ทำไมการค้าข้าวของไทยจึงถดถอย?
1.1.เพราะเราขายได้ลดลง
1.2.ขายได้ลดลงเพราะราคาเราแพงกว่าคู่แข่ง
1.3.ที่ราคาแพงกว่าคู่แข่งเพราะค่าเงินบาทแข็ง
2.เราจะทำอย่างไรให้สถานการณ์ดีขึ้น?
2.1.ทำให้ลูกค้าหลักที่ซื้อข้าวเน้นราคาถูกจากประเทศคู่แข่งมาซื้อเรา
2.2.คุณภาพข้าวไทยไม่ต่างกับคู่แข่งมากนักแต่ราคาสูงกว่ามาก หากอยากขายได้ก็ต้องสร้างความแตกต่างและคุณค่าที่มากกว่าการซื้อจากคู่แข่ง
3.จุดมุ่งหมายของการค้าข้าวของเราคืออะไรและจุดยืนของสินค้าข้าวเราคืออะไร?
3.1.เราอยากเป็นแชมป์ส่งออกข้าวของโลกหรือปล่าว?
3.2.รักษาอาชีพเก่าแก่ที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติไว้หรือปล่าว?
3.3.หรือว่าเราต้องการสร้างกำไรจากการทำการค้าข้าว?
ทั้ง 3 ข้อแม้จะมีคำตอบ แต่ที่สุดแล้วอยู่ที่ข้อ 3 ที่เป็นคำถาม เพราะสิ่งที่เราจะทำขึ้นอยู่กับคำถาม ในชีวิตของเราทุกช่วงก็เช่นกัน เราถามตัวเองว่าอะไร หากคำถามผิดคำตอบก็ผิดแน่นอน แต่หากคำถามถูกคำตอบอาจจะถูกและผิด ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า
ฐานเศรษฐกิจ
การค้าข้าวของไทยก็เช่นเดียวกัน คำถามในข้อที่ 3.1 และ 3.2 “ยุคใหม่การตลาดของไทย” จะไม่นำมาใช้ในการหาคำตอบ เพราะตอบไปแล้วก็จะมีคำถามต่อว่าทำไปแล้วผลก็แล้วไง ได้เป้าหมายแล้วก็แล้วไง ดังนั้นจึงเหลือข้อ 3.3 ข้อเดียวที่จะสามารถทำให้เราได้รับประโยชน์สูงสุด
เราต้องการสร้างกำไรจากการทำการค้า?
คำตอบคือใช่ เพราะถ้าไม่มีกำไรจะไปต่ออย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้มีกำไร ก็ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน
1.เราขายข้าวให้ผู้ซื้อที่ต้องการข้าวจริงๆหรือไม่?
2.ข้าวที่เราขายไปแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้หรือไม่?
3.ลูกค้าข้าวที่ซื้อเขายังไม่ได้รู้สึกว่าข้าวไทยจะทำให้เขาได้อะไรเพิ่มขึ้นหรือปล่าว?
4.อันนี้สำคัญสุดแม้ว่า 3 ข้อบนผ่านแล้ว หากข้อนี้ไม่ผ่านก็ไปต่อไม่ได้ นั่นคือลูกค้าเชื่อถือข้าวไทยหรือปล่าว?
เมื่อตอบได้ทั้งหมดแล้ว คราวนี้เรามาดูกันในมุมของคนทำตลาดว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกับข้าวไทย
ต้องบอกเลยว่าตั้งแต่เรียนด้านการเกษตรมาหลายปีมากแล้วและได้รับข่าวสารการเกษตรของไทย ในครั้งแรกๆเราจะพบว่าไทยเรามีการพัฒนาไปไกลกว่าคู่แข่งมาก ด้วยความได้เปรียบของแหล่งที่ตั้งสภาพดินฟ้าอากาศ
ที่มา: MGRonline.com
แต่เมื่อผ่านไปหลายปีสิ่งที่เห็นในวันนี้กับหลายสิบปีที่ผ่านมา แทบไม่มีความแตกต่างเลย ปลูกข้าวยังต้องพึ่งน้ำจากฝนเป็นหลัก ชลประทานไทยฝนตกมาน้ำท่วมฝนหยุดก็แล้ง
แม้จะมีการพัฒนาพันธ์ข้าวก็จริงแต่ผลผลิตต่อไร่เรากลับเพิ่มขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเวียดนามที่ภูมิประเทศทำเกษตรไม่ได้ทั้งปีด้วย เนื่องจากต้องเจอกับมรสุมที่รุนแรงอยู่เรื่อยๆ
เราเห็นการประท้วงการเรียกร้องเงินชดเชยมาตลอดในอดีตปัจจุบันก็ไม่แตกต่าง ภาพรวมคือเราหยุดอยู่กับที่ นี่คือความจริงอันเจ็บปวด
คำตอบข้อที่ 3.3 เราต้องการสร้างกำไรจากการทำการค้าข้าวใช่หรือไม่?
หากเป็นคำถามนี้เราจะหาทางในการสร้างกำไร และเป็นกำไรที่ยั่งยืน การที่ยั่งยืนได้ก็ต้องมีความสม่ำเสมอ ความน่าเชื่อถือ การลงมือทำแบบทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน (อันนี้เป็นไปได้แน่นอนทุกฝ่ายได้แน่ๆหากเราเชื่อเราก็ทำได้)
จากประวัติศาสตร์ในโลกนี้ที่เกิดขึ้น ทุกการเปลี่ยนแปลงจะเกิดการต่อต้านเสมอไม่มากก็น้อย เพราะบางส่วนก็ไม่อยากเปลี่ยนแปลง บางส่วนก็เสียผลประโยชน์ บางส่วนก็มีผลประโยชน์แอบแฝง ฯลฯ
Source: thairath.co.th
การที่เราจะบอกว่ารอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานด้านการเกษตรหรือการค้าระหว่างประเทศทำให้ บอกเลยว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้น เอาแบบไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง คนที่เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงต้องรับแรงต่อต้านอย่างหนัก แล้วเจออย่างนี้เขาจะทำไปทำไม
สิ่งที่เราสามารถทำได้คือลงมือทำทันทีไม่ต้องรอใครมาทำให้เพื่อตอบคำถามข้อ 3.3 ให้ได้ และย่อยลงไปอีกคือ “ทำไมลูกค้าต้องซื้อข้าวจากเรา”
“ยุคใหม่การตลาดของไทย” มั่นใจว่าประเทศไทยสามารถสร้างผลกำไรจากการค้าข้าวที่ยั่งยืนได้แน่นอน เพราะจุดแข็งที่เห็นคือ
1.เรามีพื้นฐานด้านการปลูกข้าวมายาวนาน
2.ข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง (เคยเห็นข้าวประเทศคู่แข่งแล้วสู้ไทยไม่ได้เลย)
3.คนไทยพัฒนาได้
สิ่งที่เห็นในการใช้จุดแข็งของข้าวไทยให้เป็นประโยชน์ คือเราไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันด้านปริมาณ ที่ต้องขายข้าวถูกเพื่อให้ได้เยอะๆ
แต่มาเน้นกำไรต่อหน่วย ให้ลูกค้าที่ซื้อข้าวไทยไปเขาภูมิใจที่ได้กินข้าวไทย ที่สำคัญการสร้างประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
หากชื่นชอบและถูกใจบทความนี้ ฝากกด Like กด Share และติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
โฆษณา