11 ธ.ค. 2019 เวลา 08:14 • การศึกษา
3 ยานเกราะล้อยางที่เกิดในประเทศไทย
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย มีการออกผลิตภัณฑ์ออกมาสู่สายตาทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่เริ่มต้นจากยานเกราะล้อยางต้นแบบของ DTI สู่การพัฒนา จนปัจจุบันนี้ มียานเกราะล้อยาง 8x8 ที่พัฒนาขึ้นในประเทศแล้ว 3แบบด้วยกัน
1.DTI Black Widow Spider
DTI Black Widow Spider V.2
ยานเกราะล้อยาง8x8แบบแรกที่เปิดตัวออกมา ปี 2558 ในงาน Defense & Security 2015 เพื่อพัฒนายานเกราะขึ้นเองในประเทศ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ บริษัท อู่ปรีชาถาวร ซึ่งร่วมด้วยการร่วมมือจากบริษัทด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ST.Kinetics ของสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการทดสอบประสิทธิภาพไปแล้ว และมียังมีการดำเนินการพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน
**ก่อนหน้านี้ มีกลุ่มทางการทหารกลุ่มหนึ่งปล่อยข่าวว่า DTI ได้ยกเลิกการพัฒนายานเกราะรุ่นนี้ไปแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด**
ต้นแบบแรกของ DTI DTI Black Widow Spider
DTI Black Widow Spider V.1
DTI Black Widow Spider V.2
ข้อมูลรถทั่วไป
- ยาว 2.3 ม.
- กว้าง 2.8 ม.
- สูง 7.4 ม.
- น้ำหนัก 25 ตัน
ระบบต่างๆในตัวรถ
- เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ 6 กระบอกสูบ มีระบบเทอร์โบชาร์ต ระบายความร้อนด้วยน้ำ Caterpillar C9 450แรงม้า
- เครื่องเพิ่มเพลาขับแบบ 2 ทาง
- ระบบเติมลมยางอัตโนมัติ
- ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี
- ระบบบังคับเลี้ยวแบบผ่อนแรงเบรกเป็นระบบดิสก์เบรกทั้ง 8 ล้อ
-ระบบป้องกันล้อล๊อค
-ระบบเกียร์ ประกอบด้วย 6 เกียร์เดินหน้า และ1 เกียร์ถอยหลัง
การป้องกัน
- เกราะด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง มาตราฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ 4
(สามารถกันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 14.5x114มม.ที่ความเร็วกระสุน 911ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า200ม. ,กันแรงระเบิดของกระสุนปืนใหญ่155มม.ได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 30ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดได้ 10กก.)
- เกราะด้านบน มาตราฐานNATO STANAG 4569 ระดับ 2
(กันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 7.62x39มม. ที่ความเร็วกระสุน 695 ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า 30ทม. ,กันแรงระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ในระยะไม่น้อยกว่า 80 ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6 กก.)
- เกราะใต้ท้องรถ มาตราฐานNATO STANAG 4569 ระดับ 2B
(คุณสมบัติแบบเดียวกับระดับ 2 แต่กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก. เฉพาะส่วนกลางใต้ท้องรถ)
สมรรถณะ
- ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 100 กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ(ที่ไม่ความรุนแรงของกระแสน้ำและคลื่นลมมากนัก) ไม่น้อยกว่า 8 กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการในภูมิประเทศ 500 กม.
- ระยะปฏิบัติการบนถนน 850 กม.
- ไต่ทางลาดชันได้ 45-60 องศา
- ไต่ทางลาดเอียงได้ 30-45 องศา
- สามารถข้ามคูกว้าง ประมาณ 2 ม. หรือสิ่งขีดขวางความสูงประมาณ 0.5 ม.
ความสามารถในการบรรทุก
พลประจำรถ ผบ.รถ 1นาย,พลขับ 1นาย,พลปืน 1 นาย
สามารถบรรทุกทหารได้ 9 นาย
รวมทั้ง 12 นาย
อื่นๆ
- ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
- ระบบกรองอากาศ
- ระบบปรับอากาศขนาด 50000BTU
- ระบบวิทยุสื่อสาร
- สามารถติดตั้งป้อมปืน Remote controlled weapon station รองรับปืน 12.7 มม.- 30มม. หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด40มม.
DTI Black Widow Spider V.2 ในพิธีเปิดงาน Defense & Security 2019 ซึ่งได้รับการติดตั้ง  ST Engineering ADDER DM 40/50 Remote Weapon Station (RWS) turret พร้อมด้วยปืนกลขนาด 12.7มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40มม.
2.DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC)
DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC)
ยานเกราะแบบที่2ของไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ ST.Kinetics แต่เปลี่ยนบริษัทเอกชนในประเทศจากเดิมที่เป็นบริษัท อู่ปรีชาถารวร เป็น บริษัท ช.ทวี ซึ่งการออกแบบนี้ไม่ใช่การนำมาแข่งขันหรือทดแทน ยานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider แต่เป็นการออกแบบใหม่เพื่อตอบสนองภารกิจของนาวิกโยธินในการยกพลขึ้นบก เปิดตัวในงาน Defense & Security 2017 ปี 2560 ซึ่งตอนนี้ได้มีการส่งมอบให้นาวิกโยธินได้ทดสอบการใช้งานต่างๆแล้ว ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในระดับ น่าพอใจ และได้มีการจัดหาไปแล้ว จำนวน 5 คัน
DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) ต้นแบบแรก
DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) คันแรกส่งมอบให้ กองทัพเรือเพื่อการทดสอบใช้งาน โดยติดตั้งป้อมST Engineering ADDER M30 Remote Weapon Station (RWS) ซึ่งมรปืนใหญ่กลแบบ Mk 44 ขนาด 30มม.ปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62มม.
ข้อมูลรถทั่วไป
-ยาว 7-8 ม.
-กว้าง 2-3 ม.
-สูง 2-3.3 ม.
-น้ำหนัก 25 ตัน
ระบบต่างๆ ในตัวรถ
- เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar C9 ขนาด 400 แรงม้า
- ระบบแบบ Full Wheel Drive
- ระบบไฮโดลิคสำหรับการเลี้ยวแยกกับระบบอื่น
- ระบบสูบน้ำออกจากตัวรถ
- ระบบเติมลมยางอัตโนมัติ
- ระบบไฟฟ้า ขนาด 24โวลล์ 200แอมแปร์
- ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และระบบเซ็นเซอร์เเจ้งเตือนความร้อนภายในรถ
การป้องกัน
- เกราะรอบรถ มาตราฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ 2
(กันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 7.62x39มม. ที่ความเร็วกระสุน 695ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า 30ม. ,กันแรงระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155มม. ในระยะไม่น้อยกว่า 80ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก.)
- เกราะใต้ท้องรถ มาตราฐานNATO STANAG 4569 ระดับ 2B
(คุณสมบัติแบบเดียวกับระดับ2 แต่กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก. เฉพาะส่วนกลางใต้ท้องรถ)
สมรรถณะ
- ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 80กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ(สามารถทนความแรงของคลื่นลมในทะเลได้ระดับ2-3) ไม่น้อยกว่า 10-15 กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการ 600กม.
- ไต่ทางลาดชันได้ 45-60 องศา
- ไต่ทางลาดเอียงได้ 30-45 องศา
ความสามารถในการบรรทุก
พลประจำรถ ผบ.รถ 1นาย,พลขับ 1นาย,พลปืน 1 นาย
สามารถบรรทุกทหารได้ 11 นาย
รวมทั้งหมด 14 นาย
อื่นๆ
- ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
- ระบบกล้องตรวจการณ์รอบคันและจอแสดงผล
- ระบบวิทยุสื่อสาร
- สามารถติดตั้งป้อมปืน Remote controlled weapon station รองรับปืน 12.7 มม.- 30มม. หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด40มม.
(ปัจจุบันติดตั้งป้อม ST Engineering ADDER M30 Remote Weapon Station (RWS) turret)
DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) ขณะทำการสาธิตเคลื่อนที่ในน้ำ ในพิธีเปิดงาน Defense & Security 2019
3.Panus Assembly R600
Panus Assembly R600
R600 ของPanus Assembly
ยานเกราะรุ่นใหม่ล่าสุดของ Panus Assembly ซึ่งยานเกราะรุ่นนี้มีความพิเศษคือ เป็นการออกแบบยานเกราะโดยคนไทยทั้งหมด
R600 ถูกออกแบบจากการศึกษาข้อมูลภัยคุกคามรูปแบบต่างๆเพื่อให้ตอบสนองตามความต้องการของกองทัพไทย ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ
โดยสามารถใช้เป็นรถรบทหารราบ สำหรับหน่วยยานเกราะของกองทัพบก รุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก ที่กำลังพัฒนาในรุ่น R600A สำหรับนาวิกโยธิน หรือติดตั้ง อาวุธต่อต้านอากาศยานสำหรับกองทัพอากาศ
นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการการใช้งานของกองทัพได้อีกด้วย
โดยทาง Panus Assembly ได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในงาน Defense & Security 2019 ที่ผ่านมา
รูปพรีเซ็นเตชั่น Panus Assembly R600 ติดตั้งป้อมASELSAN NEFER 30mm
Panus Assembly R600
ข้อมูลรถทั่วไป
- ยาว 8.4 ม.
- กว้าง 3.2 ม.
- สูง 2.75 ม.
- น้ำหนัก 25 ตัน
ระบบต่างๆในตัวรถ
-เครื่องยนต์ ขนาด 600แรงม้า จำนวน 1 เครื่องยนต์
-ระบบเสริมเพลา แบบ Mechanical,Two way
-ระบบเติมลมยางอัตโนมัติ
-ระบบพยุงตัว Independent ARM-Type 4 เพลา
-ระบบบังคับเลี้ยว สามารถเลี้ยวทั้ง 8 ล้อ
-อื่นๆ
การป้องกัน
- เกราะรอบรถ,เกราะใต้ท้องรถ มาตราฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ 2
(กันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 76.2x39มม.ที่ความเร็วกระสุน 695ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า 30ม. ,กันแรงระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155มม. ในระยะไม่น้อยกว่า 80ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก.)
สมรรถณะ
- ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 110กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ ไม่น้อยกว่า 10-14 กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 800กม.
- ไต่ทางลาดชันได้ 60 องศา
- ไต่ทางลาดเอียงได้ 40 องศา
- สามารถข้ามสิ่งขีดขวางความสูงประมาณ 0.5 ม.
ความสามารถในการบรรทุก
พลประจำรถ ผบ.รถ 1นาย,พลขับ 1นาย,
สามารถบรรทุกทหารได้ไม่น้อย 15-20 นาย
รวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 22 นาย
อื่นๆ
- ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
- ระบบกล้องตรวจการณ์รอบคันและจอแสดงผล
- สามารถติดตั้งป้อมปืน Remote controlled weapon station รองรับปืน 12.7 มม.- 30มม. หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด40มม.
-สามารถติดตั้งระบบต่อต้านอากาศยานได้
-สามารถติดตั้งระบบจรวดต่สู้รถถังแบบนำวิถีได้
-สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60,81,120มม.
-ระบบดับเพลิงในห้องเครื่องยนต์และส่วนโดยสาร
R600 รุ่นบังคับบัญชา ที่จัดแสดงในงาน Defense & Security 2019
นอกจากนี้ยังมียานเกราะล้อยาง 8X8 ของชัยเสรี ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาของบริษัทที่อาจจะทำออกมาในอนาคต
ทุกวันนี้เราเห็นได้ว่าศักยภาพของคนไทยที่ออกแบบและพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8ได้ และหลายบริษัทของประเทศเราที่ผลิตยุทโธปกรณ์ และ ยุทธภัณฑ์ บริษัทเหล่านี้ช่วยสามารถที่สร้าง
"อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ"
ให้เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ประเทศเรายังมีข้อจำกัดหลายๆ จากทาง กฏหมายทำให้เรายังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และรวมถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่ยังขาดความมั่นใจในคุณภาพ
เรายังคงหวังว่ารัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ จะเล็งเห็นและสนับสนุน อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศนี้ ให้ได้มาตรฐานสากล สามารถพึ่งพาตัวเอง และ การสร้างเม็ดเงินมุดเศรษฐกิจให้กับประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ครับ
โฆษณา