7 ธ.ค. 2019 เวลา 03:45 • สุขภาพ
การแปลผลงานวิจัย ไม่ใช่อ่านแค่สรุป
งานวิจัยในทางการแพทย์
การจะนำผลมาใช้ ต้องดูหลาย ๆ อย่าง
ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์การเลือกเคส ทั้ง inclusion และ exclusion criteria
วิธีการศึกษา study design
การแปลผล นัยสำคัญทางสถิติและทางคลินิก
ที่มาเขียนเรื่องนี้ เพราะไอ้เรื่อง U = U นี่แหละ
ป่วนเหลือเกิน
ไปปั่นกันจังว่า HIV กินยาต้าน ตรวจเชื้อไวรัสไม่พบแล้วไม่แพร่เชื้อ
งั้นเราเอา study นี้มาดูกัน
เริ่มจาก inclusion criteria
ในการศึกษานี้ ไม่ได้บอกชัดเจน
แต่ก็มีรายละเอียดเคสที่ทำการศึกษาอยู่ ได้แก่
- ได้รับยาต้าน 1.8 - 9.3 ปี (ค่ามัธยฐานอยู่ที่ 4.3 ปี)
- 98% ของเคส กินยาสม่ำเสมอ (กินยาครบ 90+%)
ดังนั้น การจะอ้างอิงการศึกษานี้ ต้องแน่ใจว่ากินยาสม่ำเสมอจริง
แล้วการที่จะเข้าร่วมงานวิจัย คนไข้ย่อมต้องมีความรู้ในระดับหนึ่ง
การจะเอาผลวิจัยมาใช้ในคนไข้ที่ไม่มีความรู้ หรือรู้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง
ป.ล. อีกจุดที่ยังต้องระวังไว้หน่อย คือการศึกษานี้ มีคนไข้เอเชียแค่ 2%
มาต่อที่ study design
งานวิจัยที่น่าเชื่อถือมาที่สุดคือ randomized controlled trial (RCT)
คือ สุ่มคนไข้แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการรักษามาเปรียบเทียบกัน
PARTNER study เป็น prospective observational study
คือเก็บข้อมูลเฉย ๆ
ซึ่งการเข้าร่วมงานวิจัยแบบนี้ ทำให้เกิดอคติได้ เพราะบีบให้คนไข้รู้สึกว่าต้องกินยาให้สม่ำเสมอ
แต่ก็พอหยวน ๆ เพราะในกรณีนี้ท RCT ไม่ได้ เนื่องจากจะติดเรื่องจรรยาบรรณ
มาที่ผลการศึกษา
ผลการศึกษาบอกว่าโอกาสติดต่อประมาณศูนย์
ไม่ได้บอกว่าเท่ากับศูนย์
ผลออกมาคือ 95% CI 0-23
95% CI คือค่าทางสถิติที่คำนวณออกมาว่า ถ้าทำการศึกษาแบบเดิม 100 ครั้ง
ผล 95 ครั้ง จะอยู่ในช่วงเท่าไหร่
หมายความว่า ผลการศึกษาออกมา = 0
แต่ในชีวิตจริง อาจจะไม่ใช่ 0 อาจไปถึง 23
ทั้งนี้ โอกาสติดเชื้อ HIV ทางเพศสัมพันธ์ ปกติอยู่ประมาณ 0.3-1%
การได้รับยาย่อมทำให้โอกาสติดต่อลดลงไปอีกอยู่แล้ว
ดังนั้น การศึกษาที่มีข้อมูล 700 กว่าเคส ก็อาจจะไม่ได้การันตีว่าในชีวิตจริงจะไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นเลย
ขนาดใน study นี้เอง มี partner ของเคส 249 คน ที่ไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ HIV คนอื่น
แต่มีแค่ 15 คนที่ติดเชื้อ
(ตรวจแล้วลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ ไม่เหมือนกับของเคสใน study
คือติดมาจากคนอื่นนั่นเอง)
15/249 = 6%
สมมติถ้าการกินยา ป้องกันได้ 90+%
การศึกษา 700 กว่าคน ก็อาจจะไม่มีเคสที่ติดเชื้อเกิดขึ้นก็ได้
ไม่ได้แปลว่ายาจะป้องกันได้ 100%
นอกจากนี้ ยังประเด็นอื่นที่สำคัญจากการศึกษาอีก
ประเด็นแรก มีเคสที่ติด HIV มาจากคนอื่น 15 คน
ซึ่งคนเหล่านี้ สามารถเอาเชื้อวนกลับมาติดที่คนไข้ได้อีก
เพิ่มโอกาสเกิดเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น 😱
ประเด็นที่ 2 มีการเก็บข้อมูลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น
พบสูงถึง 27% โดยเก็บข้อมูลจากการสอบถาม
(ไม่ได้ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด แสดงว่ายังไม่รวมไวรัสตับอักเสบบีและซี และยังอาจจะมีเคสที่ติดโดยยังไม่แสดงอาการอีก)
ดังนั้น ยังไงก็ควรใช้ถุงยางอยู่ดี
จะอ้างงานวิจัย อย่าสักแต่โควทสรุปมา ต้องดูเนื้อหาข้างในด้วย
ป.ล. ยิ่งพวกเขียน reference งานวิจัยยังไม่ถูก ไม่รู้มีคนหลงเชื่อได้ไงเป็นหมื่นเป็นแสนคน 😩
โฆษณา