11 ธ.ค. 2019 เวลา 00:27 • ปรัชญา
เครื่องมือที่จะวิเคราะห์คำพูดของเราหรือคนอื่นให้วิเคราะห์ว่าคำพูดนั้น
1.จริงหรือไม่จริง
2.มีประโยชน์หรือไม่
3.ถูกกาละเทสะหรือไม่ พูดในเวลาที่เค้าพร้อมรับฟัง หรือพูดในขณะที่เราโกรธหรือไม่
4.มีความหวังดี มีเจตนา มีเมตตาหรือไม่
5.คำพูดไพเราะหรือไม่
จากคำสอนอาจารย์ชยสาโร
อย่าให้การขาดสติทำให้เราปิดกั้นความหวังดีของคนรอบตัวเรา เพียงเพราะเค้าพูดด้วยคำพูดที่ไม่ไพเราะ หรือฟังคำไพเราะแต่ไม่มีความหวังดีกับเรา ดั่งสุภาษิตที่ว่า “ปากว่าตาขยิบ”
หมายถึง ปากกับใจไม่ตรงกัน, ปากอย่างใจอย่าง
ขอให้คำพูดของเราทุกคนครบถ้วนทั้ง 5 ข้อนี้เทอญ.
ผู้เขียนขอนำเรื่องเล่าเกี่ยวกับคำพูด มาเล่าสู่กันฟัง
"รู้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ไม่พูดใช่ว่า จะไม่รู้"
มีแม่ทัพคนหนึ่งเล่นหมากล้อมเก่งมาก
ไม่ค่อยมีคนเล่นชนะได้
วันหนึ่ง. แม่ทัพออกรบผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เห็นบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีป้ายติดว่า..
“เล่นหมากล้อมอันดับ 1 ของประเทศ”
แม่ทัพไม่เชื่อจึงเข้าไปหาเจ้าของบ้านและเล่นด้วย ปรากฎว่า.. เจ้าของบ้านแพ้ ทั้ง 3 กระดาน แม่ทัพหัวเราะ
“ฮ่าๆๆ แกเอาป้ายลงได้แล้ว”
แล้วแม่ทัพก็ไปออกรบด้วยความดีใจ
ไม่นาน.. แม่ทัพรบชนะกลับมา
ผ่านมาที่เดิม ก็ยังเห็นป้าย
แขวนอยู่ที่บ้านหลังเดิม
แม่ทัพจึงเข้าไปหาเจ้าของบ้าน
และท้าดวลอีก ปรากฎว่าครั้งนี้
แม่ทัพแพ้ทั้ง 3 กระดาน
แม่ทัพประหลาดใจมาก
ถามเจ้าของบ้านว่าเพราะอะไร
เจ้าของบ้านตอบว่า
“ครั้งก่อน ท่านมีภารกิจออกรบ
ข้าน้อยจะไม่ทำท่านเสียกำลังใจ
ท่านหมดขวัญกำลังใจไม่ได้
แต่ครั้งนี้ ท่านชนะกลับมา
ข้าน้อยก็ไม่ต้องออมมือแล้ว”
คนที่เก่งจริงในโลกนี้ คือ..
ชนะได้ แต่ไม่จำเป็นต้องชนะ
และมีใจที่กว้างขวาง
โฆษณา