17 ธ.ค. 2019 เวลา 02:57 • ประวัติศาสตร์
ในรูปเป็นโคลงพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5
เขียนโดยลายมือของสมเด็จย่าค่ะ
(มีคำอธิบายใต้รูป)
โคลงนี้ร.5 ท่านเขียนครั้งเมื่อเสด็จประพาสยุโรป
ท่านว่าเขียนให้ลูกโต (หมายถึงร.6ค่ะ ร.6 มีชื่อเรียกอย่างลำลองว่าโต ร.6 ไม่ใช่ลูกชายคนโตสุดนะคะ แต่เป็นพี่โตของน้องร่วมบิดามารดาในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีค่ะ)
เป้ยยังติดใจวันที่ไปห้องสมุดอยู่ จะหยิบจับอะไรก็ตื่นเต้นไปหมด ทั้งที่เป็นโคลงที่เราคุ้นเคยกันมาแต่เด็กด้วยซ้ำ เป้ยลองคิดตามแล้วทึ่งในคำสอนค่ะ
ลายมือ
"ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง ห่อนแก้ฤาไหว"
14
บทประพันธ์นี้ใช้วิธีเขียนเป็นโคลงสี่สุภาพ คือมีบังคับเสียง เอก 7 โท 4 ค่ะ ซึ่งถ้าใครเคยลองแต่งจะทราบว่าไม่ง่ายเลย
แต่ที่เหนือกว่านั้นคือท่านหยิบยกคำสอนได้อย่างกระชับครอบคลุม และดีงามมาก มาลงน้ำหนักตามเสียงบังคับได้ถูกต้อง แถมผ่านเวลามาร้อยกว่าปีแล้ว คำสอนก็ยังใช้ได้ถูกต้องเป็นจริงตามนี้
(เป้ยตื่นเต้นจริง ๆ นะคะ)
ถอดความหมายได้ว่า
เราทุกคนเกิดมาเหมือนกัน อาจแตกต่างกันที่ผิวพรรณ เพศ รูปร่าง ความรู้นั้นถ้าตั้งใจก็อาจเรียนได้เท่าทันกันทุกคน แต่ความดีชั่วต่างหากที่จะทำให้คนเราแตกต่างกัน (ขออภัยแปลไม่ดีพอค่ะ ใครแปลได้สละสลวยกว่านี้ช่วยเป้ยด้วยนะคะ)
2
การที่เราจะยกย่องชื่นชมใครนั้น ไม่ใช่เพราะเค้าเป็นใคร แต่เราชื่นชมผลงานของเค้า ที่เป็นดั่งกระจกสะท้อนความนึกคิดทัศนคติ
ผลงานอาจแต่งเติมได้แต่คงไม่ใช่ทุกครั้ง งานเขียนของใครก็เป็นลายเซ็นของคนนั้น ถ้าไม่ได้เขียนเองก็จะมีคนดูออกในสักวัน ความเป็นอัตลักษณ์ของใคร เป้ยคิดว่าเราอ่านได้จากผลงานและสิ่งที่เค้านำเสนอค่ะ
เป้ยเคารพชื่นชมรัชกาลที่ 5 ค่ะ
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เป้ย 17 Dec 2019
โฆษณา