23 ธ.ค. 2019 เวลา 22:26 • ไลฟ์สไตล์
Animals bridge ที่สวยจนต้องอยากตามไปดู
โพสท์ก่อนหน้านี้กิ๊ฟได้เล่าถึงอุโมงค์สัตว์ข้ามแห่งแรกของไทย คราวนี้เราจะพาไปตามรอยอุโมงค์สัตว์ข้าม-สะพานข้ามของเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ทั่วโลก ซึ่งแต่ละที่ก็สร้างมาได้น่ารัก เพื่อให้เหมาะกับสัตว์ชนิดนั้นจริงๆ
ปี1950 ฝรั่งเศสเป็นที่แรกที่มีการสร้าง Wildlife crossing สะพานข้ามให้กับสัตว์ เนเธอร์แลนด์เองก็มีการสร้างสะพานข้ามให้้กับสัตว์ไปแล้วกว่า 66 แห่ง และยังมีรายงานอีกว่ากำลังมีการก่อสร้างอีก 600 แห่ง (เยอะมากก)
ซึ่งความดีงามของสะพานข้ามอุโมงค์ลอดเหล่านี้ได้ช่วยชีวิตอนุรักษ์สัตว์ไว้ได้จริงๆ
และถ้าใครคิดว่ามันจะมีแต่สะพานข้ามยกระดับสูง หรืออุโมงค์ลอด คิดผิด! เพราะกิ๊ฟจะพาไปดู wildlife crossing ที่เห็นแล้วต้องชื่นชม ยกนิ้วให้กับการออกแบบจริงๆ
1 สะพานปู crab bridge, Christmas Island, Australia
crab bridge
ในทุกๆปี ปูแดงเป็นล้านๆตัว จะอพยพจากป่าเดินทางข้ามถนนสู่ทะเล เพื่อขยายพันธุ์ และนี้เป็นเหตุผลทำให้เกิดcrab bridges เกิดขึ้น
เราไปดูเหล่าปูแดงกัน
ลูกปู ตาใสเชียว
เยอะมากก
อพยพๆ ตามมาเร็วพวกก!
2 สะพานเชื่อมป่า Ecolink @ Bukit timan express Singapore
Eco-link @ BKE
ในทุกๆปีจะมีตัว pangolins (ชื่อไทย ลิ่นมีเล็บ) ข้ามถนนสายนี้เป็นประจำ และนับวันก็ยิ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะถนนสายนี้อยู่ติดต่อกับเขตอนุรักษ์ bukit timah และเขตอนุรักษ์ central catchment
ภาพถ่ายด้านบน มองเห็นพื้นที่เชื่อมติดต่อกันระหว่าง2เขตอนุรักษ์
เดิมทีทั้ง2เขตนุรักษ์นี้จะเชื่อมติดกัน และมีตัว pangolins เดินทางไปมากันประจำ แต่หลังจากที่มีการสร้าง BKE ถนนสายนี้ เขตอนุรักษ์2พื้นที่ก็ถูกตัดจาดแบ่งแยกจากกัน การเดินทางข้ามของตัวpangolins ก็อันตรายยิ่งขึ้น ตายกันหลายๆตัว
เกาะหางแม่
30 ปีหลังจากนั้น ทางข้ามเขื่อมต่อเขตอนุระกษ์2ที่ สำหรับตัวpangolins ก็ถือกำเนิดขึ้น มีความยาวกว่า62 เมตร ให้ได้ข้ามกันสบายๆ อนุรักษ์ได้เยอะเลยทีเดียว
3 อุโมงค์เต่าลอดใต้รางรถไฟ
Turtle tanel under raiway
The suma aqua lufe park in kobe,Japan
เต่าติดระหว่างช่องรางรถไฟ
ประสบปัญหาบ่อยครั้ง เต่าตะมุตะมิ ต้วมเตี้ยมน่ารักติดอยู่ตามร่องรถไฟ วัดดวงกันว่าจะข้ามได้อย่างปลอดภัยไหม ด้วยเกตุนี้จึวมีการสร้างคอนกรีตรูปตัวยู ใต้รางรถไฟ ข้ามกันสบายๆชิวๆไปเลย
4 อุโมงค์ช้างรอด Elephant underpass in kenya
มาถึงพี่เบิ้มแห่งพงไพร ถือว่าทางลอดสำหรับช้างแห่งแรกของเคนย่าเลยก็ว่าได้ เชื่อมต่อระหว่าง Kenya mountain
ไม่อยากจะจินตนาการเลยจริงๆว่ารถบรรทุก(ของจริง)กับรถบรรทุก(แห่งพงไพร) ประสานกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น มีสะพานนี้ลดความสูญเสีย ความเสียหายได้เยอะเลย
5 สะพานกระรอกข้าม squirrel bridge in Netherlands
ถือว่าออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับวิถีธรรมชาติของสัตว์จริงๆ สะพานกระรอกข้าม เนเธอร์แลนด์ สำหรับคนที่ขับผ่านถนนสายนี้ผ่านไปผ่านมา ก็จะเห็นกระรอกทักทาย หยอกล้อ วิ่งไล่กัน ถือว่าก็ได้ดูเพลิดเพลินๆกระรอกก็ได้ข้ามถนนอย่างปลอดภัยด้วย
6 Salamander tunnel in New England
อุโมงค์ข้ามซาลาแมนเดอร์
ทุกชีวิตมีคุณค่า ถนนเฮนรี่ แมสซาชูเซตส์ อาจดูเหมือนถนนธรรมดาทั่วไป แต่ความจริงแล้วไม่ ในคืนวันฝนตก ซาลาแมนเดอร์ลายจุดน่ารักเหล่านี้จะทำการอพยพจากป่าข้ามถนนมาอีกฟากหนึ่ง
"ตามรายงานแล้วไม่มีการระบุแน่ชัดว่า ซาลาแมนเดอร์ลายจุดเหล่านี้อยู่ในขั้นวิกฤตเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์แค่ไหน แต่พวกมันเป็นสัตว์ที่เปราะบางมาก ดังนั้นเราจึงต้องการทำทุกอย่างเพื่อให้พวกมันปลอดภันมากที่สุด" โนอาร์ จากมหาวิทยาลัยแฮมเชียร์
สวัสดีมนุษย์เราคือซาลาแมนเดอร์ลายจุด
อุโมงค์คอนกรีตนี้มีการปรับสภาพพื้นที่ความชื้น ให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพื่อดึงดูดให้ซาลาแมนเดอร์ใช้อุโมงค์นี้เพื่อข้ามถนน
น่ารักมุ้งมิ้งมากก
7 อุโมงค์เพนกวิน
Blue penguin underpass New Zealand
,Blue feather penguin
ลองจินตนาการ เพนกวินตัวน้อยเดินตุ้งติ้งเอียงซ้ายเอียงขวาข้ามอุโมงค์ บอกได้คำเดียวมันน่ารักมากก
Oamaru Penguin 🐧เพนกวินขนสีฟ้า นกชนิดหนึ่ง พวกมันจะทำรังอยู่ในป่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องอพยพขึ้นบกกลับรัง ไม่ว่าจะเป็นสุนัข นักท่องเที่ยวที่คอยเก็บภาพรบกวนพวกมัน หรือว่าจะเป็นรถยนต์ที่ขับผ่านไปมาบนท้องถนน กว่าจะรอดกลับถึงรังได้ เจ้าเพนกวินน้อยต้องผ่านด่านอันตราย และหลายตัวก็ไม่รอดกลับถึงรังมากาลูกๆของพวกมัน
ด้วยตำนวนที่ลดต่ำลง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หลายฝ่านไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนกลุ่มนักท่องเที่ยว จึงได้ระดมรวมทุนร่วมมือกันทำอุโมงค์ลอดให้กับเจ้าเพนกวินนี้ เพื่อให้ปลอดภัยจากสายตาสุนัข และรอดต่อการเขมือบของล้อรถยนต์ด้วย
เดินทางกลับถึงรังโดยสวัสดิภาพนะเจ้าเพนกวินตัวน้อย 😊
น่ารักไหมล่ะ ☺️ 🐧
8 อุโมงค์สัตว์ลอด-รอด หมีกริซลี่
Grizzly bear emerging from an underpass after crossing The Trans-canada highway in banff national
ชื่ออังกฤษยาวเหยียด จริงๆคือมันไม่มีอะไรมาก อุโมงค์นี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหมีกริซลี่ปลอดภัยจากการข้ามถนนแต่อย่างใด แต่เพื่อให้พวกได้ขยายพันธุ์ ให้หมีตัวผู้ตัวเมียได้พบปะกัน
การสร้างถนนตัดแบ่งดินแดนเขตที่อยู่อาศัยของพวกมัน ทำให้พวกมันไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้ และนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการลดการขยายพันธุ์ของหมีกริซลี่ คือมีงานวิจัยิอกมาแล้วว่า การทำทางลอดให้พวกมันไปมาหากันได้ มีผลต่อการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นของประชากรจริง
นอกจากนี้อุโมงค์ยังเป็นที่หลบภัยจากสัตว์นักล่าอีกด้วย
....
จบไปแล้วสำหรับอุโมงค์ทางลอดทางข้าม สำหรับสัตว์ต่างๆแต่ละชนิดทั่วโลก นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดูแล้วประทับใจ เป็นการอยู่ร่วมกัน พัฒนาความเจริญทางด้านวัตถุ ควบคู่กับการอนุรักษ์สัตว์ ช่วยเหลือไม่ให้กระทบความเป็นอยู่ของพวกเขาจนเกินไป
สำหรับในประเทศไทยเอง มีนาคมที่ผ่านมาก็เปิดให้บริการไปแล้วสำหรับสะพานข้าม-อุโมงค์ลอดสำหรับสัตว์ในเขตอนุรักษ์เขาใหญ่ ซึ่งก็ใช้งานได้จริง ซึ่งแน่นอนว่ายังมีอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่เป็นเขตชุกชุมสัตว์ป่า ข้ามถนนบ่อย มีความจำเป็นต้องสร้างสะพานข้ามให้ปลอดภัย
ยังไงก็ตามกิ๊ฟก็จะติดตามไปเรื่อยๆ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่เราใส่ใจ ให้คุณค่าในชีวิตอื่นมากขึ้น
กดไลค์ กดแชร์ ติดตาม เป็นกำลังใจ แล้วเจอกันบทความหน้าค่ะ
โฆษณา