27 ธ.ค. 2019 เวลา 23:14 • การศึกษา
"คุณมีแผนที่โลกในสมอง (Map of The World) แบบไหน?"
.....Trailer......
รู้มั๊ยครับว่า "ทุกคนมีแผนที่โลกในสมอง (Map of The World) ที่แตกต่างกัน"
Museum ใน Houston, USA
"ทำไมช้าจัง... รีบๆ หน่อยได้มั๊ย" หลายคนคงเคยพูดประโยคนี้กับคนอื่น และหลายคนก็คงเคยถูกคนอื่นพูดแบบนี้ใส่...
แล้วคุณว่า "ช้า หรือ เร็ว" อันไหนดีกว่ากัน??
ซึ่งจริงๆ แล้วก็คงตอบไม่ได้เพราะมันขึ้นกับหลายๆ อย่าง และแล้วแต่สถานการณ์
ในบางครั้งช้าๆ หน่อยหรือใจเย็นๆ หน่อยก็ทำให้สถานการณ์ดีกว่า แต่บางครั้งรวดเร็วก็ทำให้คุณได้ประโยชน์กว่า......
Great Ocean Road, Australia
นอกจากนี้หลายคนในหลายๆเรื่อง ก็ชอบวางแผน ชอบมีรายละเอียดเวลาจะทำอะไร ตัวอย่างเช่นการทำงาน การเดินทางหรือท่องเที่ยวก็ต้องมีแผนการชัดเจนว่าทำอย่างไร ทำเมื่อไร มีข้อมูลอะไรบ้าง..
ส่วนใหญ่คนประเภทนี้งานออกมาเป๊ะ ตรงเวลา และพอมีเรื่องสะดุดแผนที่ตั้งไว้ก็จะหงุดหงิดมากเช่นกัน...
...แต่หลายคนก็ชอบมองภาพใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดมากนัก ซึ่งคนประเภทนี้เจอเรื่อสะดุดก็มักปรับเปลี่ยนแผนอะไรได้ง่าย
แต่หลายครั้งก็มักจะเสร็จเมื่อใกล้ถึงเวลาที่กำหนด..
คนประเภทนี้ถ้าจะเดินทางหรือท่องเที่ยวละก็ตัดสินใจปึ๊ปปั๊ปแล้วไปเลย...ไม่วางแผนเท่าไหร่...แบบผม🤣🤣🤣
บ้านใน Denmark กับ สลัมใน South Africa
บางคนเวลาโมโหก็จะเกรี้ยวกราดแสดงอารมณ์ ส่วนบางคนเวลาโมโหอาจนั่งเงียบและน้อยใจอยู่คนเดียว..
บางคนอาจจะแคร์และให้ความสำคัญกับความรู้สึกคนรอบข้างมากๆ ส่วนบางคนอาจจะไม่ค่อยเท่าไหร่...
ภาพจาก British Association- Anger Management
บางคนได้เริ่มทำอะไรจะต้องทำให้สำเร็จและไม่ท้อถอย แต่บางคนอาจเห็นท่าไม่ดีก็เลิกกลางคัน
บางคนความสำคัญของการทำงานก็เพื่อตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น บางคนเพื่อรายได้ที่มากๆ บางคนเพื่อลองอะไรใหม่ๆ บางคนขอแค่มีเพื่อนร่วมงานดีๆ บางคนขอแค่มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว บางคนขอให้ได้ทำตามความฝัน....
และบางคนอาจไม่รู้เป้าหมายด้วยซ้ำไป...
คนเลี้นงอูฐใน Pakistan กับ แม่ค้าใน Bolivia
จะเห็นว่าผู้คนล้วนหลากหลายความคิด นิสัย และความคาดหวัง แม้แต่พี่น้องที่คลานตามกันมายังไม่เหมือนกันเลย..
นั่นก็เพราะ "เรามีแผนที่โลกในสมอง (Map of the world) ที่แตกต่างกัน"
และนี่เป็นทฤษฎีของ Richard Bandler และ John Grinder นักจิตบำบัด (Psychotherapist) ชาวอเมริกา ผู้ที่สร้างทฤษฎี NLP (Neuro-Lingiustic Programming)
ภาพจากกูเกิล
โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาในแต่ละคนจะแตกต่างกัน
ดั่งที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้นก็เพราะว่าเมื่อสมองได้รับข้อมูลใหม่เข้ามา
สมองเราก็จะทำหน้าที่ลบข้อมูล ปรับเปลี่ยนข้อมูล และประมวลผลข้อมูลขึ้นมาใหม่ในแบบของแต่ละคน..
ชายทะเลที่ Mozambique
คือทฤษฎีนี้บอกว่าเมื่อเราแต่ละคนรับข้อมูลดิบเข้าไปในสมอง ข้อมูลดิบเหล่านั้นจะถูกกรองและลบออกมากกว่า 90%.....
จากนั้นข้อมูลที่เหลืออยู่ก็จะถูกปรับเปลี่ยนและประมวลผลใหม่โดยผ่านตัวกรองที่เรียกว่า บุคลิกภาพ (Personality) คุณค่าการดำรงชีวิต (Value) ความเชื่อ (Belief) และประสบการณ์ (Exerience) ของแต่ละคน
จนกระทั่งกลายเป็นข้อมูลใหม่เฉพาะตัวของเเต่ละคน และข้อมูลนี้ก็คือ "แผนที่โลกในสมองของแต่ละคน (Map of the world)"
และนี่เองที่ทำให้คนทุกคนบนโลกนี้ไม่มีใครคิดเหมือนกันเป๊ะๆ เลยสักคน...คือแต่ละคนบนโลกนี้มีแผนที่โลกที่ต่างกัน
ที่เป็นปัจเจก หรือ Limited edition ของแต่ละคน..
ด้วยแผนที่โลกที่ต่างกันนี้ มาบวกกับสภาพร่างกายและจิตใจใน ณ เวลานั้นๆ....จะทำให้เราแสดงออกมาไม่เหมือนกันและนั่นแหละครับคือ "พฤติกรรมของคน" (Behaviour)
ลุงพายเรือใน Malta --ป้าๆ นั่งคุยกันที่ประเทศจีน- ผมกับชาวบ้านใน Zimbabwe -- สาวชาวเกาหลีที่กรุงโซล
บทความที่จะเขียนในบทต่อไป ผมจะกล่าวถึงก็คือสิ่งที่ทำให้ "แผนที่โลกในสมอง (Map of the world)" เราแตกต่างกันนั่นก็คือ บุคลิกภาพ (Personality) และ คุณค่าการดำรงชีวิต (Value)
เคยลองสำรวจดูตัวเองมั๊ยครับว่า "ทำไมเราถึงมีบุคลิกหรือนิสัยแบบนี้?" และคนอื่นเป็นแบบนั้น?? เราแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้อาจคล้ายบ้างในบางเรื่อง บางกรณี....
แล้วอะไรคือบุคลิก (personality) หรือนิสัย (Habit) ของคุณ?
นอกจากนี้คุณคุณค่า (Value) แบบไหน??...เคยถามตัวเองมั๊ย...
บทความที่จะเขียนครั้งหน้านี้จะมาไขปริศนาให้นะครับ...
บุคลิดภาพ แบบ Insight Colour จาก กูเกิล
โปรดติดตาม....บทความที่จะเขียนบทหน้าที่จะมาทำให้ทุกคนสำรวจตัวเองและคนรอบข้างครับว่า
คุณมีบุคลิกและคุณค่าแบบไหน....
รออ่านนะครับ....
กรุง Batriislava, Slovakia
บทความความนี้เป็นแค่ Trailler ครับ🤣🤣🤣🤣
#wornstory
โฆษณา