29 ธ.ค. 2019 เวลา 02:00 • การศึกษา
สรุปหนังสือ China 5.0
China 5.0 คืออะไร ?
ยุค 4.0 หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัล
ในขณะที่ยุค 5.0 คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
China 5.0 จึงหมายถึงว่า จีนมุ่งสู่ยุคแห่ง AI ซึ่ง AI จะกลายเป็นกุญแจที่กำลังชี้ทางของอนาคตจีน และอาจทำให้จีนเอาชนะกลายมาเป็นผู้นำของโลกได้
ในเล่มนี้จะบอกว่า ทำไมมันจึงมีความเป็นไปได้เช่นนั้น
เนื้อหาเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 Part หลัก คือ
1
การเมือง : จะพูดถึงประวัติโดยย่อของสีจิ้นผิง เส้นทางสู่อำนาจ กลไกต่างๆที่ใช้ในการรักษาความมั่นคงของรัฐบาลเผด็จการจีน รวมถึงมุมมองของชาวจีนที่มีต่อการเมืองในสมัยนี้
เศรษฐกิจ : เล่าถึงว่าจีนทำให้ธุรกิจยังโตวันโตคืนได้อย่าง แม้จะรัฐบาลจะลงทุนในโครงการต่างๆไปมหาศาลแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนสีจิ้นผิง, อธิบายแนวคิดของเขาและ สิ่งที่เรียกว่า Xiconomics คืออะไร จนถึงยุทธศาสตร์จีนต่างๆ ที่น่าเรียนรู้และน่าสนใจ
เทคโนโลยี : เน้นประเด็นหลักคือเรื่อง AI ว่ากลายมาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจีนได้อย่างไร AI จะมาทำอะไร และจะเปลี่ยนจีนและโลก ได้อย่างไร
อ่านแบบเต็มได้ดี https://www.theobservingmind.co/book/china-5-0-book-review/
Part 1 : การเมือง - ถึงเวลาของผู้นำรุ่นที่ 5
1. สีจิ้นผิง คือใคร ?
ตามประเพณีการเมืองจีน ประวัติส่วนตัวของผู้นำคือความลับระดับชาติ ตามเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสจีน จึงมีแค่ชื่อตำแหน่งในอดีต และปีที่ดำรงตำแหน่งเท่านั้น
1
ปูมหลังของสีจิ้นผิง จึงมาจากแหล่งข้อมูลอื่น หนึ่งในนั้นคือ Wikileaks
พ่อของสีจิ้นผิง คือ สีจงชุน อดีตรองนายกในยุคของเหมาเจ๋อตง ที่ภายหลังถูกกล่าวว่าเป็นพวกนิยมขวาในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม และถูกจับเข้าคุกเป็นเวลากว่า 10 ปี  ในขณะที่ตัวสีจิ้นผิงเอง ก็ถูกเนรเทศไปใช้แรงงานในชนบท
จนเมื่อเติ้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ได้รับการนิรโทษกรรมทั้งคู่
แต่บาดแผลทางจิตใจนี้ ก็ไม่ได้ทำให้สีจิ้นผิงหนีออกจากประเทศ ตรงกันข้าม เขาเลือกที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต่อไป
1
สีจิ้นผิง เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ทหารในกองบัญชาการทหารสูงสุด (โดยใช้เส้นพ่อ) ก่อนที่จะรู้สึกว่า อยู่ตำแหน่งนี้ไปก็ไม่โต
สีจิ้นผิงจึงลาออก แล้วอาสาไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พรรคในชนบทเล็กๆ แล้วค่อยๆเก็บประสบการณ์ เก็บสะสมบารมี จนได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้ว่าการมณฑล ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑล
จนได้มาเป็นผู้นำสูงสุดของจีน
1
ด้วยเพราะถูกมองว่าไม่น่ามีพิษสงมากนัก เพราะไม่ได้สังกัดค่ายการเมืองใดๆของอดีตประธานาธิบดีของจีน และไม่ได้มีพรรคพวกใดๆของตัวเอง และเป็นคนที่มีประสบการณ์ครบถ้วน เพราะเคยทำทั้งงานในพรรค และเคยลงพื้นที่ทำงานจริงๆ
จะเห็นได้ว่า สีจินผิงนั้น  ไม่ธรรมดา เขามีความทะเยอทะยาน มีการวางแผนอันแยบคาย มีความอดทน เพื่อที่จะได้ไปอยู่จุดที่สูงที่สุด
1
2. สีจิ้นผิง รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ได้อย่างไร?
5 ปีก่อนนั้น สีจิ้นผิง ขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ในsetting ที่มีการคานอำนาจกันภายในอย่างซับซ้อน  มีการบริหารเป็นหมู่คณะ
คนมองกันว่า จีนเปลี่ยนผ่านมาจากยุคผู้นำโชเดี่ยวดังเช่นในอดีตแล้ว  และมองว่าการกลับมามีผู้นำเผด็จการเต็มใบ จะเป็นไปไม่ได้ เพราะขนาดเศรษฐกิจที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
หมดยุคแล้ว ที่จะมีผู้นำฉายเดี่ยว เพราะระบบต่างๆ มันซับซ้อนเกินไปที่คนๆเดียวจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
แต่ ... สีจิ้นผิง ทำได้ และไม่ทำให้ประเทศล่มจมเสียด้วย !
เขาได้กลายเป็นผู้นำที่มีอำนาจแบบฉายเดี่ยว เขาสามารถปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองได้มากมาย เขาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญจีน ให้เขาครองตำแหน่งประธานาธิบดีไปได้ อย่างไม่มีกำหนด
โดยที่ยังเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนส่วนใหญ่ และยังมีความปลอดภัยในพรรคคอมมิวนิสจีน
สีจิ้นผิง กลายมาเป็นผู้นำเดี่ยวที่มีอิทธิพลอย่างมาก ได้อย่างไร?
มีกลยุทธ์มากมายที่สีจิ้นผิงเลือกใช้ เช่น
1
2.1 กลยุทธ์ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
เมื่อเขารับตำแหน่ง ก็เริ่มมหกรรมปราบคนโกง จัดการกับระดับบิ๊กของแต่ละขั้วการเมืองภายใน จนหมดเกลี้ยง เหลือแต่ค่ายการเมืองของตัวเขาเอง
การปราบคอรับชั่นนี้ แม้มันจะทำให้ปัญญาชนจีนหวาดกลัว แต่ก็ได้ใจประชาชนไปมหาศาล
2.2 Marketing และ Market Research ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
Marketing คือ การที่รัฐบาลจีนสามารถคุมสื่อและสารที่ออกมาอย่างรัดกุม ได้เหมือนเช่นรัฐบาลเผด็จการอื่นๆ
ที่ต่างคือ รัฐบาลจีนจะเลือกจะวิจารณ์ตัวเองก่อน จะมีการแสดงให้ประชาชนรับรู้ว่า รัฐบาลตระหนักปัญหา วางแผนจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ที่ทำอยู่ขาดตกบกพร่องตรงไหน
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลและสีจิ้นผิง จึงดูเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง จริงจัง ใส่ใจชาวบ้าน ….โดยที่ไม่มีข่าวเชิงลบออกมาให้เห็นได้เลย (เพราะรัฐจัดการหมด โดยกองทัพนักโพสต์)
Market Research คือ การรวบรวมหาข้อมูลความต้องการและความนิยมของประชาชน คอยสำรวจว่าประชาชนกังวลอะไร ไม่พอใจรัฐบาลเรื่องอะไร
ซึ่งถือว่าแปลกใหม่ในระบบเผด็จการ เพราะปกติเมื่อผู้นำมีอำนาจอิทธิพลเบ็ดเสร็จ จะไม่มีใครกล้ารายงานปัญหาจากเบื้องล่าง เพราะกลัวนายจะไม่ชอบ ซึ่งสุดท้ายปัญหาก็จะเกิด Scenario ที่ปัญหาทับถมสะสมกันจนเป็นวิกฤติ ซึ่งปัญหานี้เองที่ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย
แต่กับรัฐบาลจีนที่มีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนสม่ำเสมอ ทั้งออฟไลและใน Social Media ทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้าช่วย เห็นความเสี่ยงได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ก่อนที่มันจะลามเป็นวิกฤติ
2.3 กองทัพนักโพสต์
ในยุคโซเชียล ที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
รัฐบาลจีนซึ่งเป็นเผด็จการ สามารถควบคุมข่าวสารได้อย่างไร ไม่ให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของตน ?
คำตอบไม่ได้อยู่ที่การเซนเซอข้อมูล การปิดเว็บไซ การไล่ลบความคิดเห็นต่าง มันพอจะทำได้  แต่คงไม่มีทางไล่ทำได้หมดทั้งโลกอินเตอร์เน็ต
พรรคคอมมิวนิสจีนจึงเลือกใช้การจัดตั้ง กองทัพนักโพส มาทำหน้าที่ ควบคุม (Manipulate) ข้อมูลต่างๆแทน ซึ่งได้ผลกว่ามาก
หน้าที่ของกองทัพนี้ ไม่ใช่มาต่อล้อต่อเถียง ลากดราม่าให้เข้มข้นขึ้น
แต่คือ การมาโพสเปลี่ยนเรื่อง! โดยเน้นโพสแต่เรื่องดีๆของรัฐบาล โพสเชียรัฐบาล โดยไม่สนว่าชาวบ้านกำลังดราม่าอะไรกันอยู่
เพราะถ้ามัวแต่ด่า เถียง หรือชี้แจง คนก็จะถกเรื่องดราม่านี้กันไม่จบไม่สิ้น สู้โพสเรื่องอื่นใส่ไปเยอะๆ ให้เปลี่ยนเรื่องไปเลย work กว่า อาศัยเน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ
เช่น เมื่อถึงเหตุการณ์ครบรอบการสังหารที่จตุรัสเทียนอันเหมิน โลกโซเชียลจีนจะเต็มไปด้วยโพสต์โปรโมตความสำเร็จในรอบ20ปีของรัฐบาล
Part 2 : เศรษฐกิจ - ปฏิรูปแบบสีจิ้นผิง
40 ปีของการปฏิรูป จีนทำได้อย่างไร? อะไรทำให้หนึ่งปีในจีน เท่ากับเวลาหลายปีในประเทศอื่น?
มีเหตุผลหลัก 3 ข้อคือ
1. รัฐบาลจีนเป็นนักปฏิบัติและนักทดลอง ไม่บ้าทฏษฎีและลัทธิความเชื่อ
ตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิง การปฏิรูปจีนก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตอนเริ่มแรกนั้นเติ้งไม่ได้มีแผนอะไรเลย มีแค่ทิศทางใหญ่ คือ เดินหน้าเปิดและปฏิรูป วิธีการก็ค่อยๆทำไปปรับไป ทำไปแก้ไป มีการทดลอง เรียนรู้ ปรับปรุงต่อเนื่องอย่างยืดหยุ่น เดินทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเหมือนโซเวียต แต่ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆแบบเกาหลีเหนือ
2. จีนตอนเริ่มพัฒนา ยังไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ขัดขวาง
ปัญหาสำคัญหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา คือการปฏิรูปทำได้ยาก เพราะจะไปเหยียบขาใครเข้า ดังเช่น ในกรณีของฟิลิปปินที่มีปัญหาเรื่องชนชั้นทางสังคมตั้งแต่ยุคที่ยังเป็นอาณานิคมสเปน แม้จะได้ประชาธิปไตยภายหลัง ก็ยังมีชนชั้นทางสังคมอยู่
สุดท้ายพวกชนชั้นสูงก็ได้กลายไปเป็นนายทุนใหญ่ ที่รวยเอาๆ คนรวยมีไม่กี่ตระกูล ปฏิรูปอะไรก็ยากเย็น
ในทางกลับกัน ช่วงแรกของการเปิดและปฏิรูป จีนแทบไม่เหลือนายทุน หรือชนชั้นนำ ทุกคนจนแร้งแค้นกันหมด ด้วยเพราะการปฏิวัติวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแบบคอมมูน (แต่ไม่ใช่ว่าประธานเหมาทำถูก เพราะจีนปัจจุบันยอมรับว่านี่คือความผิดพลาด ล้มเหลว สร้างหายนะให้จีนอย่างใหญ่หลวง)
อีกอย่างคือ แปลว่า จีนในอนาคตนั้น ก็อาจมีกลุ่มผลประโยชน์ก่อตัวขึ้น ปฏิรูปในอนาคตจึงอาจไม่ง่ายนั่นเอง
3. การกระจายอำนาจการคลัง ให้รัฐบาลท้องถิ่น
จีนเป็นประเทศที่กระจายอำนาจการคลังมากที่สุดในโลก  รายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น คิดเป็น 85% ของรายจ่ายภาครัฐ ในขณะที่ครึ่งหนึ่งของรายได้ที่เข้ารัฐ จะไปยังรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง
การกระจายอำนาจด้านการคลังนี้เอง ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นของจีน ต้องกระตือรือร้นที่จะเดินหน้าพัฒนาและปฏิรูปเศรษฐกิจ และทดลองนโยบายใหม่ๆ เพราะถ้าเศรษฐกิจดี รัฐบาลท้องถื่นก็สามารถเก็บภาษีและรายรับได้มากขึ้น
ในขณะที่ส่วนกลาง ก็ยังมีอำนาจเหนือท้องถิ่น มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้นำท้องถิ่นตลอด เพื่อป้องกันระบบอุปถัมภ์
การกระจายอำนาจก็เป็นดาบสองคม เพราะทำให้มีหนี้เน่า และการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลท้องถื่นมากมาย เป็นเหตุให้ยุคสีจิ้นผิงต้องมีการเดินหน้าปราบคอรัปชั่น
อย่างไรก็ตาม ก็ถือว่ามันดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจช่วงเริ่มต้น
ทั้งนี้ต้องไม่สับสนการกระจายอำนาจการคลัง เข้ากับอำนาจการปกครอง
การกระจายอำนาจปกครองอย่างเดียวนั้น เป็นรูปแบบที่แย่ที่สุด เพราะรัฐบาลกลางคุมงบประมาณ ทำให้ผู้นำท้องถิ่นแข่งกันเอาใจผู้นำส่วนกลางเพื่อจะได้รับงบมากๆ โดยส่วนกลางไปสั่งอะไรท้องถิ่นมากไม่ได้
ยุทธศาสตร์จีน ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก
1.ยุทธศาสตร์ Jing-Jin-Ji : ภาพอนาคตของประเทศจีน
Jing-Jin-Ji ย่อมาจาก Beijing-Tianjin-Hebei 
(Ji เป็นชื่อย่อของมนฑลเหอเป่ย)
แนวคิดนี้ คือการเชื่อมโยง ปักกิ่ง เทียนจิน และเมืองใหญ่ 11 เมืองในมนฑลเหอเป่ยเข้าด้วยกัน ผ่านรถไฟความเร็วสูง โดยมุ่งให้การเดินจากเมืองใหญ่แต่ละแห่งในเหอเป่ย เข้าสู่ปักกิ่ง หรือ เทียนจิน ได้ในเวลาไม่ถึง1ชม.
เมื่อสามารถเดินทางไปมากันได้ด้วยความเร็วสูงเช่นนี้ แม้จะไกลแค่ไหน มันก็คงไม่ต่างอะไรกับเป็นเมืองเดียว
แผนการนี้จะทำให้เกิดอภิมหานคร ที่จะมีประชากรและพื้นที่มากสุดในโลก คือ 40% ของประเทศไทย และมีคนถึง 130ล้านคน
จากเดิมที่เมือง คือพื้นที่ ที่ประชากรอยู่กันอย่างแน่นหนาต่อเนื่อง การเชื่อมเมืองต่างๆด้วยรถไฟความเร็วสูงนี้ จะทำให้เสมือนว่าแต่ละเมืองก็รวมเป็นเมืองใหญ่เมืองเดียวกันในทันที
ยุทธศาสตร์นี้ มีเพื่อจะได้กระจายความเจริญจากปักกิ่ง และเมืองท่า เทียนจิน ไปยังมนฑลเหอเป่ย ที่ยากจนกว่า และเป็นพื้นที่ที่ยังทำอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง
โดยหวังว่าจะช่วยกระจายแรงงานทักษะสูงในเมืองใหญ่ มาช่วยอัพเกรตอุตสาหกรรมต่างๆในเหอเป่ย ลดความแออัดของปักกิ่ง
2.ยุทธศาสตร์ One Belt One Road (OBOR) : ภาพมหาอำนาจใหม่
เมื่อ Jin-Jin-Ji มาเปลี่ยนจีน... OBOR จะมาเปลี่ยนโลก
ยุทธศาสตร์ One Belt One Road คือการที่รัฐบาลจีนจะสนับสนุนและร่วมมือกับประเทศต่างๆในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียและยุโรป เหมือนแนวเส้นทางสายใหมในอดีต
เป็นการเชื่อม จีน เข้ากับโลก ผ่านเส้นทางสองสาย คือ
เส้นทางสายใหมบก (Silk Road Economic Belt) หรือชื่อย่อคือ One Belt เชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลาง รัสเซีย ยุโรปตันออก ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตก
เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) หรือก็คือ One Road ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมไปถึงแอฟริกา
Part 3 : เทคโนโลยี - แผนการใหญ่ AI และเทรนใหม่
แผน AI 2030 : เมื่อหุ่นยนต์กุมอนาคตจีน
ทำไมจีนต้องการก้าวเป็นผู้นำโลกในด้าน AI ให้ได้ ภายในปี 2030
AI จะไปได้ดี ต้องมี สามพลัง คือ พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์(Computational power) พลังข้อมูล (Big data) และ พลังของ Algorithm
จีนนั้นยังล้าหลังสหรัฐ ในเรื่องพลังการประมวลผล (เพราะ microship ที่ดีสุดเป็นของสหรัฐ) และ Algorithm (นักวิทยาศาสตร์เก่งๆอยู่ที่สหรัฐมากกว่า)
แต่ที่จีนชนะใสๆ คือ Big data
เพราะปัจจุบัน จีนเป็นประเทศออนไลน์เต็มตัว มีข้อมูลในรูปแบบ digital มหาศาล ด้วยประชากรที่มากที่สุดในโลก
ที่สำคัญ เป็นประเทศที่ไม่มีกฏเกณฑ์เรื่อง privacy ที่รัดกุมเข้มงวดเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
จีนจึงมี Big data ที่ทำให้ AI สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
แล้วจีนต้องการอะไรจาก AI?
จีนมองว่า AI เป็นกุญแจที่จะตัดสินอนาคตในทุกๆเรื่องของจีน
ในด้านเศรษฐกิจ -  AI จะลดต้นทุนธุรกรรม สร้างสรร Model ใหม่ๆ เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจให้จีนอย่างมหาศาล
เรื่องความมั่นคง - AI ก็มีที่ใช้มากมาย เช่น ใช้ในการคำนวณ social credit score , ใช้ในการ censor ความเห็นต้านรัฐบาลใน Social media ระบบตรวจสอบใบหน้า
นอกจากนี้ AI ยังสามารถใช้โน้วน้าวพฤติกรรมคนได้
ดังเช่นในกรณีของ Facebook , Google ที่มันรู้หมดว่าเราชอบอะไร สนอะไร มันก็จะเสนอแต่สิ่งที่เราสนใจ และสิ่งที่เราชอบ
แต่บริษัทพวกนี้เป็นเอกชน ที่เอาข้อมูลไว้หากำไร อันตรายกับเราก็อาจจะแค่สูญทรัพย์
ในกรณีของจีน ข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือรัฐบาล และบริษัทเอกชนที่พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
ซึ่งคงน่ากลัวหากข้อมูล และระบบ AI จะถูกนำไปใช้ในการโน้วน้าวพฤติกรรม ความคิดประชาชน และสามารถกำจัดคนเห็นต่างทางการเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายแล้ว AI จึงอาจนำไปสู่จุดจบของโลกเสรีธิปไตย
โฆษณา