29 ธ.ค. 2019 เวลา 10:26 • ไลฟ์สไตล์
กระรอกใน กทม จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
กระรอกตัวเมีย
หลายครั้งที่เวลาไปวิ่งตามสวน หรือ มหาวิทยาลัย ทุกคนคงได้เจอเจ้ากระรอกวิ่งไปมา
วิ่งไปตามสายไฟ ตามต้นไม้ ตามเสาเหล็ก
วันนึง หลังจอดรถริมถนน ณ ใจกลางเมืองใหญ่บังเอิญได้ยินเสียงของเศษไม้ ที่กำลังหล่นเกลื่อนกลาดตามทางเดิน
กระรอกตัวน้อยขนเทาท้องสีเหลืองครีมเจ้าของเสียงกำลังแทะต้นไม้อย่างเพลิดเพลินในยามเช้าอันเงียบสงบ ไม่สนใจคนข้างล่าง
กระรอกที่พบตัวนี้ เป็นกระรอกหลากสี
กระรอกหลากสี
ที่จริงต้นไม้เหล่านี้ น่าจะเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารและที่พักอาศัยของกระรอก
ต้นไม้กลายเป็นบ้าน บ้านใคร ใครก็รัก โปรดอย่าทำลาย
จากข้อมูลกระรอกในประเทศไทย
กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กระรอกขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (R. affinis)
2. กระรอกขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ
3. กระรอกขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย
พญากระรอกดำ
กระรอก จัดเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากใครเลี้ยงกระรอก รบกวนตรวจสอบข้อมูลและขอทำใบอนุญาตเลี้ยงสัตว์ป่าคุ้มครองด้วยนะคะ ไม่งั้นผิดกฎหมายนะจ๊ะ
ที่สำคัญ เลี้ยงเค้าต้องดูแลจนแก่เฒ่านะคะ อย่าเลี้ยงแล้วทิ้งขว้าง
กระเล็น (กระถิก)
ขอกำลังใจด้วยนะคะ
ชอบกดไลค์ 👍
ใช่กดแชร์✌️✌️
ขอบคุณท่านที่แวะมาอ่านนะคะ🙏
โฆษณา