9 ม.ค. 2020 เวลา 18:10 • ศิลปะ & ออกแบบ
สิ่งที่ "ต้องทำ" และ "อย่าทำ" ในช่วงต่อเติมหรือปรับปรุงบ้าน
1
Cr. Homebuilding& Renovation
การจัดการในช่วงปรับปรุงบ้านหรือที่เรียกกันว่า "renovate" สิ่งที่จะเกิดคือปัญหารอบตัวที่ไม่สามารถคาดเดาได้ สิ่งที่จำเป็นมากๆก่อนที่จะเริ่มโครงการคือ "การเตรียมพร้อม" เตรียมพร้อมเรื่องอะไรบ้าง ความเป็นจริงแล้วเจ้าของอาจจะไม่ต้องทำอะไรเลย ในกรณีที่จ้างสถาปนิกออกแบบ และคุมงาน ถูกต้อง แต่การใช้เงินแก้ปัญหา มันก็ไม่ใช่ทางออกไปทุกๆอย่างในชีวิต เอาเป็นว่าเรามาไล่ดูสิ่งที่สำคัญจริงละกัน
1
1. ต้องขออนุญาตต่อเติม
การต่อเติมหรือดัดแปลงบ้าน ตามพรบ.ควบคุมอาคาร จะมีอยู่ 6 กรณี ที่ไม่นับเป็นการต่อเติม นั่นหมายความว่า เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องทำแบบขออนุญาตเขตนั้นๆ คือสามารถต่อเติมได้เลย คือ
- การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
- การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร
- การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างอาคาร
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง ไม่เกิน 5 ตรม.
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่หลังคา ไม่เกิน 5 ตรม.
- การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร
*รายละเอียดในแต่ละข้อยังมีมากกว่านั้น
โดยการต่อเติมที่นอกเหนือจาก 6 ข้อด้านบน จำเป็นต้องทำแบบขออนุญาต
Cr. Bcarchitects
2. อย่ามองข้ามเรื่องรายละเอียดที่จะต่อเติมบ้าน
ข้อนี้หมายความว่าความใจร้อนไม่เคยทำให้ใครประหยัดมากขึ้น
ก่อนที่จะเริ่มต่อเติมบ้าน การตรวจสอบสภาพบ้าน ณ ตอนนั้นว่าอะไรควรซ่อมหรือปรับปรุง (จริงๆมั้ย) ให้ถี่ถ้วนว่ามีกี่จุด พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การระบุ requirement ของเจ้าของบ้านต่อสถาปนิก นั่นจะไม่ทำให้การออกแบบเป็นไปอย่างล่าช้าและ อาจจะทำให้เกิดการแก้แบบทีหลัง ซึ่งเจ้าของอาจโดนเรียกเก็บค่าแบบเพิ่ม ในกรณีที่การทำงานของสถาปนิกเป็นไปนอกเหนือสัญญาที่ระบุ
Cr. Studio1plaster
3. ต้องคำนึงถึงเพื่อนบ้าน
เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งเพื่อนบ้านข้างเคียงว่าจะมีการทำงานเกิดขึ้น ในกรณีที่การต่อเติมมีผลต่อโครงสร้างบ้านของเพื่อนบ้าน หรือโครงสร้างที่ใช้ร่วมกัน (เช่นตึกแถว หรือtownhome) หรือมีการไปลุกล้ำขอบเขตที่ดินเพื่อนบ้าน ถ้าเจอเพื่อนบ้านนิสัยดีหน่อย เจ้าของบ้านอาจจะโดนสั่งระงับการทำงานทันที
1
Cr. theirishtimes
4. อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัย
ในประเทศไทยเราจะไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องนี้เพราะคิดว่าไกลตัว แต่หารู้ไม่ ซึ่งในต่างประเทศเขาค่อนข้างจะเข้มงวดเรื่องนี้มาก ยกตัวอย่าง
ตึกแถวบ้านเราจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบันไดหนีไฟ ใช่ มันไม่มีพื้นที่สำหรับทำบันไดหนีไฟ แต่บันไดหนีไฟในกรณีนี้ เราสามารถใช้เป็นบันไดลิงได้ อาจจะยึดกับผนังหลังบ้าน และทำประตูกันไฟเปิดออกไป ซึ่งผนังด้านติดกับบันไดลิงก็ควรจะเป็นผนังกันไฟเหมือนกัน (บทความเกี่ยวกับความปลอดภัยจะเขียนมาให้ในบทต่อๆไป)
5. ต้องทำแบบก่อสร้าง
ข้อนี้สถาปนิกจะเป็นคนรับผิดชอบเอง
Cr. Archdaily
6. อย่าคาดหวังถึงรายจ่ายว่าจะ "เป๊ะ" ตามสัญญาที่ผู้รับเหมาทำ
classic case
ไม่ใช่ว่าผู้รับเหมาจะโกง แต่สถาปนิกหรือผู้รับเหมาสามารถคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในขณะก่อสร้างได้ประมาณหนึ่ง แต่เกือบจะทุกเคสที่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือที่เขาเรียกกันว่า "งานเพิ่ม" หมายถึงเพิ่มนอกเหนือจากแบบที่ทำไว้หรือนอกเหนือจาก BOQ (bill of quantity) ยกตัวอย่าง
การทุบผนังบ้านชั้น2เพื่อขยายพื้นที่บนพื้นอาคารเดิม โดยธรรมชาติแล้วต้องมีการเสริมคานเหล็กใต้พื้นชั้นนั้นเพื่อรองรับน้ำหนักต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเฟอร์นิเจอร์ หรือน้ำหนักคนใช้งานบริเวณนั้น ซึ่งสถาปนิกมือใหม่ อาจจะมองข้ามเรื่องนั้น ทำให้เกิดงานเพิ่ม
1
แนะนำให้เตรียมเงินมากกว่าค่าก่อสร้างที่ผู้รับเหมาทำมา 10% เพื่อเป็นแผนสำรอง
7. ต้องเก็บพื้นที่หรือบริเวณแห่งประวัติศาสตร์ไว้
บรรพบุรุษของเจ้าของบ้านซื้อบ้านหลังนี้เพราะชอบสวน หรือต้นมะม่วง หรือเพราะประตูไม้สักทางเข้าบ้าน ฉะนั้นเก็บมันไว้เพื่อเป็นความหลัง ของเหล่านี้มีมูลค่าและสามารถเล่าสู่ไปต่อรุ่นลูกรุ่นหลานได้
Cr. kimgasi
โฆษณา