13 ม.ค. 2020 เวลา 12:00 • สุขภาพ
🍀ตำลึงตัวผู้ตำลึงตัวเมีย🍀
 
หมอยาท่าBD
เป็นที่ถกเถียงกันครับ ว่ากินได้หรือไม่ได้ แล้วตำลึงมันมีเพศหรือปล่าว นักวิชาการว่าไม่มี ชาวบ้านบอกว่ามีเพศ
ในเถาเดียวกันมีใบที่แปลผันเป็นตัวผู้
ที่จริงแล้วมันไม่มีเพศหรอกครับ
แต่คนโบราณเขาหมายถึงว่า "ตัวผู้แรงกว่าตัวเมียเท่านั่นครับ" เป็นการแบ่งด้วยสายตาแบบง่ายๆ ว่า
และพืชตัวไหนที่ต่างกันความแรงต่างกันก็ชอบเอาเพศมาแบ่งเสมอ
เช่น เกลือตัวผู้ เกลือตัวเมีย เสลดพังพอนตัวผู้ เสลดพังพอนตัวเมีย
"ถ้าเป็นตำลึงใบหยักเว้าลึกๆเรียกตัวผู้" นั่นกินแล้วจะบิดไส้ ไซร้ท้องมาก..." ส่วนตัวเมียนั่นใบออกไม่มีเว้า" ก็ทานได้สบายกว่าท้องกว่า
ตำลึงเป็นพืชที่ใบใช้กินได้อร่อยครับ แต่แรกๆขึ้นใบส่วนใหญ่ก็จะปกติ แต่พอคนเริ่มเด็ดกินบ่อยๆ ใบจากบางเถาก็เริ่มแปลผัน
กลไกนี้เกิดจาก ตำลึงมันไม่มีขา และไม่มีมือชก
เขาสร้างพิษมาป้องกัน ตัวเพื่ออยู่รอด(อ่านบทความโหมดฉุกเฉินแล้วจะเข้าใจ) เพราะเขาหนีไม่ได้ ก็สู้ด้วย "พิษ"โดยแปลผันใบ
ให้ใบมีความเป็นพิษ สำหรับเพื่อเอาไว้ป้องกันตัวเอง
สรุปว่าเพศผู้เพศเมีย ในความหมายของคนสมัยก่อน ก็แค่เอามาจำแนกความแรงความอ่อนเท่านั้น
ส่วนตัวแล้วชอบที่ ตำลึง มาจากธรรมชาติ และปราศจากยาฆ่าแมลง
เขียนรับใช้แต่เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณสำหรับการติดตาม
อยู่ดีมีสุขทุกท่าน
สวัสดีครับ
โฆษณา