24 ม.ค. 2020 เวลา 01:23 • ไลฟ์สไตล์
ตรุษจีน
บ้านนอก
บอกอะไรเรา?
พูดถึง เทศกาลตรุษจีน ไหว้เจ้า
ไหว้บรรพบุรุษ เราก็จะนึกถึง
ย่านการค้าเช่น เยาวราช สำเพ็ง
นครสวรรค์ หาดใหญ่ แบบนี้
cr.unsplash
สาเหตุเพราะคนไทยเชื้อสายจีน มักจะทำกิจการค้าขายเป็นส่วนใหญ่
ทำให้จะอยู่อาศัยในบริเวณที่ทำมาค้าขายได้สะดวก
พื้นที่ตลาด ตัวอำเภอ หรือตัวเมือง
น้อยนักที่จะมาอาศัยอยู่นอกเมือง โดยเฉพาะชนบท หรือที่เราเรียกกันว่า
"บ้านนอก"
แต่ก็มีบ้าง
บรรพบุรุษผมก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนจำนวนนั้น ที่ไม่ได้ค้าขายอยู่ในเขตตลาด แต่เลือกมาหักร้าง ถางพง บุกเบิกทำการเกษตร ในชนบทแทน
ความจริง ผมมีแซ่นะครับผมแซ่ตั้งเพราะผมเรียกคุณตาว่า ก๋ง แต่จะว่าไปบรรพบุรุษของก๋งผมไม่ใช่คนเชื้อสายจีนจากแผ่นดินใหญ่ แต่เป็นคนเชื้อสายจีน จากแผ่นดินญวน คาดว่าอพยพมาตอนไซง่อนแตก
ด้วยความที่เรามีเชื้อจีน ถึงเราจะอยู่ชนบท เราก็ยังทำตามประเพณีอยู่
คือ เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน เราก็ต้อง
ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เหมือนคนจีน
บ้านอื่น
ในความทรงจำของผม อะไรคือสิ่งที่นึกถึงในวันตรุษจีนแบบเด็กๆ งั้นหรือ?
ไก่ต้ม
หมูต้ม
ขนมเปี๊ยะ
ส้ม
ขนมเทียน
ขนมเข่ง
เหล้า
จับฉ่าย
ต้มหน่อไม้
ปะทัด
และ......อั่งเปา
อะไรกัน มีแค่นี้เหรอ?
ขอบคุณภาพจาก fb:arnon.thai
ใช่ครับ ย้ำว่า ผมกำลังพูดถึง ความคิดแบบเด็กๆ กับวันตรุษจีน และที่สำคัญ
ผมกำลังพูดถึง ตรุษจีนบ้านนอกในอดีต ...แม้แต่ไก่ ก็ไม่มีสำเร็จรูปต้องไปสั่งจากบ้านที่เลี้ยงไก่ ให้เขาเชือดให้ แล้วเราเอามาต้มเอง
cr.unsplash
ในตอนนั้น ของไหว้ มีไม่มากมายหลายชนิด ไม่ใช่ว่าที่บ้านยากจนนะ
ครับ ฐานะทางบ้านผม ในตอนนั้นก็
ถือว่า เกือบรวยเชียวแหละ555
เพราะครอบครัวก๋งผม มีที่ดินเยอะ ญาติพี่น้องรวมกันมีเป็นพันไร่ได้
แต่สมัยนั้น หาซื้อของไหว้เจ้าได้เท่านี้จริงๆ จึงมีเท่าที่เล่าให้ฟังนี่แหละครับ
เอาล่ะ มาถึงเรื่องที่อยากจะพูดถึงตามหัวข้อที่ตั้งไว้ว่า "ตรุษจีน บ้านนอก บอกอะไรเรา"
สิ่งที่ผมกำลังจะเล่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ ในวันตรุษจีน ตามบ้านนอก
แถวบ้านผมนะครับ ผมไม่ทราบว่าในเมือง ในตลาด ในกรุงเทพ เป็นแบบนี้ไหม
1
เมื่อเราไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษเสร็จสิ้นตามประเพณีแล้ว ก่อนที่เจ้าของบ้านจะกินอาหารที่บอกลาเจ้าที่เรียบร้อยแล้วนั้น เราจะต้อง...
"ทำทานก่อนครับ"
เราจะต้อง จัดสำรับบอาหารไหว้ให้พร้อมสรรพ เพื่อเลี้ยงชาวบ้านที่มา
รอเราเรียก เพื่อเข้ามากินอาหารที่
เราจัดไว้ให้
สิ่งที่ผมจำได้คือ มันเป็นอะไรที่พิเศษสุดๆสำหรับอาหารมื้อนั้น ผมดูได้จากแววตา กิริยาอาการของพวกเขา ดูมีความสุขมาก สำหรับชาวบ้าน ที่ค่อนข้างยากจน หาเช้ากินค่ำ
ไม่เพียงเราจะจัดอาหารเลี้ยงเขาเท่านั้น พ่อ แม่ จะบอกให้พวกผมคอยดูแล อย่าให้อาหารบกพร่อง น้ำท่าอย่าให้ขาด ขนมต่างๆ อย่าให้หมด
คือดูแลเหมือนเป็นแขกพิเศษเลยครับ
cr.unsplash
ตอนนั้นผมยังเด็ก ก็รู้สึกไม่ชอบใจนัก เพราะเราก็หิว เราก็นึกอยากกินไก่ กิน
หมู กินขนมเทียน ขนมเข่ง เหมือนกัน
นี่ถ้าชาวบ้านไม่มารอกิน เราคงได้กิน
ไปแล้ว...
ตอนนั้นคิดแบบนี้
แม้แต่จาน ชาม กินเสร็จ ชาวบ้านจะล้างให้เราก็ไม่ได้ แม่จะห้ามเลย บอกเราต้องล้างกันเอง
เป็นแบบนี้ทุกปี มานานมาก
แม่เคยสอนว่า หลังจากเราทำบุญด้วยการไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษแล้ว เราต้องทำทานด้วย เราจึงต้องนำอาหาร
มาเลี้ยงชาวบ้านที่เขาไม่ได้ไหว้ ที่เขา
ลำบากยากจน
ถึงเดี๋ยวนี้ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะชาวบ้านต่างพอมีเงินซื้อของไหว้ได้เอง ต่อให้เราเอาไปให้เขา เขาก็คงไม่รับเหมือนแต่ก่อน
บ้านเมืองเรา ไม่ว่าในเมือง หรือบ้านนอก เปลี่ยนแปลงไปเยอะ ความสัมพันธ์ ฉันเพื่อนบ้าน ไม่เหมือนเดิม
แกงแลกใจ สมัยนี้ก็ไม่มีแล้ว
cr.unsplash
ตรุษจีนที่ไรผมนึกถึงเรื่องนี้ทุกที
ทำให้ทุกวันนี้ เวลาผมทำบุญผม
จะนึกถึงคำสอนของแม่เสมอว่า...
"ทำบุญแล้วอย่าลืมทำทานด้วยนะลูก"
สวัสดีปีใหม่ครับ ทุกคน
เฮงๆรวยๆ กันน๊าา🙏🐁💴
ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่
โฆษณา