30 ม.ค. 2020 เวลา 14:21 • ปรัชญา
ทฤษฎี "กฏแห่งกำ"
...กำไว้จะดีมั๊ย?...จะกำอะไรดี?...หรือไม่กำดีกว่า?
"กำหิน" ได้ก้อนหิน แต่หินไร้ค่าและหนัก.
1
"กำถ่าน" ได้ถ่าน มือเปื้อนดำเช็ดล้างยาก.
"กำขี้" ได้ขี้ มือสกปรก ติดเชื้อโรคและกลิ่นเหม็น.
"กำไฟ" ไม่ได้ไฟ ไฟมันร้อน แค่เข้าไกล้มือไหม้พอง.
1
"กำน้ำ" ไม่ได้น้ำมือก็เปียกต้องเช็ดให้แห้ง.
"กำทอง" ได้ทอง มีค่า มีราคาสูง แต่ถ้ากำนานๆหรือกำเยอะๆก็หนักและเมื่อยมืออยู่ดี.
.....จะเลือกกำอะไร..ก็คงต้องรู้เสียก่อนว่าสิ่งที่กำมันเป็นอะไรกันแน่
.....เป็นหิน เป็นถ่าน เป็นขี้ เป็นไฟ เป็นน้ำ หรือเป็นทอง ซึ่งกำอะไรก็จะได้ผลลัพท์แบบนั้น
.....ที่ยากที่สุดคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งต่างๆที่เราอยากได้อยากมีไว้ มันเป็นอะไรกันแน่ และมันมีค่าพอที่จะหวงแหนไว้หรือเปล่า..คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด...
.....บางคน..หลงคิดว่าหินมีค่า
.....บางคน..เข้าใจผิดคิดว่าถ่านไม่เปื้อนมือ
.....บางคน..ตาลายคิดว่าขี้เป็นทอง
.....บางคน..เห็นไฟสีสวยนึกว่าไม่ร้อน
.....บางคน..หลงคิดว่าตนเองกำน้ำได้
.....บางคน..คิดว่าเงินทองไม่หนัก
.....ถึงแม้เราจะรู้ว่าเนื้อแท้สิ่งที่เรากำนั้นมันมีค่ามาก
.....ถึงแม้ว่าสิ่งที่ครอบครองจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง แต่ถ้าเรากำไว้เยอะๆ กำไว้แน่นๆ หรือกำนานๆ มันก็เมื่อยทั้งหมด เพราะ"กฏแห่งกำ"เป็นสัจธรรม.
"คือไม่มีใครจะกำสิ่งใดได้นานตลอดชั่วชีวิต ยิ่งกำแน่น ยิ่งกำเยอะ ก็ยิ่งกำไว้ได้ไม่นาน"
.....หากอยากกำแล้วไม่เมื่อยและไม่เสียแรงเปล่าแล้วล่ะก็.......
.....เราคงต้องมองให้ออกว่าสิ่งใดมีคุณค่าจริงๆแล้วเลือกกำแต่สิ่งที่มีคุณค่า เลือกกำแต่พอดี ไม่กำไว้มากเกินไป หากเริ่มเมื่อยก็ให้รู้จักปล่อยและวางมันลง
อย่ากำไว้จนมือแข็ง มือเกร็งเป็นตะคริว.
...... หากทำดังนี้ได้จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้เข้าใจ.....
............"กฏแห่งกำ".............
ขอบคุณครับ.
โฆษณา