24 ก.พ. 2020 เวลา 11:13 • ท่องเที่ยว
ขันโตกนี้มีที่มา
แม้ว่าอาหารที่เห็นจะเป็นเพียงอาหารธรรมดา แต่วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบ ‘ขันโตก’ ก็ยังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเมื่อมาเยือนเมืองเหนือ
ความจริงแล้ว ‘ขันโตก’ เป็นเพียงภาชนะที่ใส่อาหารเท่านั้นเองค่ะ ลักษณะทรงกลมอาจจะทำด้วยไม้หรือหวายก็ได้
ขันโตก มีสามประเภทด้วยกัน ทั้งนี้การแบ่งจะแบ่งตามจำนวนอาหาร จำนวนคน และยศถาบรรดาศักดิ์
1. ขันโตกหลวง มีลักษณะเป็นไม้ หรือหวาย ขนาดใหญ่ สำหรับเจ้านาย หรือขุนนาง หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง คนสำคัญ
อาหารก็จะมีความหลากหลาย เนื่องจากพื้นที่เยอะ สามารถวางจาน ชาม ได้มากกว่า
2. ขันโตกฮาม เป็นขันโตกขนาดกลาง ในอดีตมีไว้ในครอบครัวของคหบดี หรือครอบครัวขนาดใหญ่
ขนาดที่เล็กลงมาอีกนิดทำให้ปริมาณอาหารลดลงมาอีกนิด
3. ขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก สำหรับครอบครัวเล็ก หรือจัดสำรับสำหรับรับประทานคนเดียว อาหารมีเพียง ด้วยพื้นที่จำกัดจึงสามารถวางอาหารได้เพียง 3-4 อย่างเท่านั้น
สรุป ขันโตกคือภาชนะสำหรับวางอาหาร
ส่วนความอร่อยของอาหารนั้นขึ้นกับฝีมือคนทำค่ะ
อาหารที่ขึ้นชื่อของทางภาคเหนือ จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก น้ำเงี้ยว
ร้านที่ปูเป้ไปชิมคือ ร้านต่อนยอน ใกล้ๆไร่ชาฉุยฟง
ปูเป้เลือกทานน้ำเงี้ยวคู่กับขนมจีนค่ะ
น้ำเงี้ยว ประกอบด้วย ดอกงิ้ว พริกแกงที่ทำด้วยพริกแห้ง และเต้าเจี้ยว (ซึ่งอดีตจะใช้ถั่วเน่าทำ) รสชาติกลมกล่อมใช้ได้เลยค่ะ
ไส้อั่ว ที่เราเจอขายทั่วทุกภาค แต่ที่นี่ไม่รู้สูตรไหน อร่อยไร้กลิ่นคาว ติดใจจนกระทั่งสั่งเพิ่มอีก 2 จานเลยแหนะ
ข้าวกั้นจิ้น ชื่อแปลกๆ แต่หน้าตาน่ารับประทาน เป็นข้าวที่เอามาคั้นกับเลือดหมูและตะไคร้นั่นเองค่ะ
เวลาที่รับประทานจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆของตะไคร้ ไม่มีกลิ่นคาวแน่นอนค่ะ
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ แคปหมู นั่นเองค่ะ
ซึ่งปูเป้เลือกกินคู่กับน้ำพริกอ่อง (ลืมถ่ายภาพมา)
รสชาติกลมกล่อมเข้ากันดีมาก
มีผักลวกหลายอย่างใส่มาในขันโตกนี้ด้วยนะคะ
ขันโตกมื้อนี้รับประทานกัน 4 คนค่ะ
อิ่มอร่อยกันถ้วนหน้า
รวมแล้วค่าใช้จ่ายเพียง 247.-
ถือว่าถูกและคุ้มค่ามากทีเดียวค่ะ
ใครผ่านไป แนะนำให้ลองแวะชิมกันดูนะคะ
เปิด Google map เสิร์ช ร้านต่อนยอน ใกล้ไร่ชาฉุยฟง
ดีจริงจึงบอกต่อ
การเดินทางของผีเสื้อ🦋
โฆษณา