2 มี.ค. 2020 เวลา 01:00 • สุขภาพ
จากสถิติ ตอนนี้ คนเป็นเบาหวานทั่วโลก 400 ล้านคน
ในปี 1985 มีผู้ป่วยเบาหวานเพียง 30 ล้านคน 30 ปีผ่านไป กลายเป็น 400 ล้านคน เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า
คำถามสำคัญคือ วิธีการรักษาเบาหวาน ที่เรารักษากันอยู่ในตอนนี้ รักษาเบาหวานได้จริงหรือ??
ถ้ารักษาได้จริง ทำไมตัวเลข เพิ่มจาก 30 ล้านคน เป็น 400 คน ??
วงการแพทย์กำลังไปในทิศทางที่ถูกต้องจริงหรือเปล่า??
แพทย์ ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่ในโรงเรียนแพทย์
"ว่าโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง(กลุ่มโรค Chronic)"
หมายความว่า
"โรคที่รักษาไม่ได้ รักษาไม่หาย"
แต่ทุกวันนี้ เมื่อเราเป็นเบาหวาน เราทำอย่างไร ?
ไปหาหมอ?
"เรากำลัง เดินไปหา คนที่มีความเชื่อ ว่าเราไม่มีทางหายให้รักษาให้เราหายจากโรค"
"มันจะเป็นไปได้ไหม? "
ผม(ผู้บรรยาย)เองไม่ได้บอกว่าหมอผิด เพราะผมก็เป็นหมอ และเราก็เรียนกันมาแบบนี้
เพียงแต่สิ่งที่เราเรียน เราเรียนกันมา ด้วยทฤษฎีการรักษาที่ผ่านมาหลายสิบปีแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น
การรักษาโรค มีวิวัฒนาการยุคของมัน
ณ ยุคนี้ เราเกิดมาในยุคของการ
"ใช้ยาปฏิชีวนะ" หรือยาเคมี
แต่ถ้าย้อนไป อดีต ซักหน่อย
เป็นยุค ของสมุนไพร
แล้วก่อนสมุนไพรหละ?
ก่อนสมุนไพร ใครอยากรักษาโรคได้ ก็ต้องไปเรียนการเป็น แม่มด หมอผี
ในยุคที่เกิดโรค เชื้อ อหิวาตกโรคขึ้นมายุคนั้น คนยังรู้จักแค่ สมุนไพรต้ม ในการรักษาโรค แต่เมื่อเจอเชื้ออหิวาตกโรค คนตายเป็นจำนวนมาก สมุนไพร ไม่สามารถ ฆ่าเชื้ออหิวาได้
จน หลุย ปาสเตอร์ .. ค้นพบยา ที่ชื่อว่า เพนิซิลิน ในยุคนั้น คนก็ไม่ได้เชื่อว่า ยาเพนิซิลลิน จะมาฆ่าเชื้อได้ เพราะเขาใช้แต่ยาสมุนไพรกัน
แต่ก็มีผู้กล้ากลุ่มนึง เป็นกลุ่มแรก ที่ได้ใช้ ได้ลอง และ รอดตาย
(ยาเอง ก็เป็นเรื่องใหม่ ในอดีตเหมือนกัน)
แต่ ณ พศ. นี้ ยุคนี้ โรคที่คนตาย.. ยังตายด้วยโรค อหิวาตกโรคอยู่ไหม?
ไม่แล้ว เพราะยาคุมได้แล้ว มันหมดยุคนั้นแล้ว
แต่คนตายเพราะอะไร?
เบาหวาน มะเร็ง เรื้อรัง
และเราก็พยายามใช้เทคโนโลยี ความรู้เดิมๆ มาชนกับโรค แต่ข้อเท็จจริงคือ ถ้ามันคุมได้จริงคนต้องตายน้อยลง
สรุป
ถ้าคุณใช้เครื่องมือสำหรับสุขภาพไม่ถูกยุค สุดท้าย
"คุณก็จะตายด้วยโรคในยุคนั้น"
เหมือนยุคนั้นที่คนตายด้วย อหิวาตกโรค แล้วคุณจะไม่ยอมกินยาปฏิชีวนะเพราะมันใหม่กว่าที่คุณรู้จัก สุดท้าย
คุณก็จะตายด้วยโรคอหิวาตกโรค
แล้วยุคนี้โรคที่คนตาย ก็คือ เบาหวาน มะเร็ง ทุกคนก็เชื่อว่า รักษาไม่หาย
"แต่เราก็ยังดื้อ ที่จะรักษาด้วยวิธีการที่เชื่อว่า รักษาไม่หาย"
Credit: นายแพทย์ ธนศักดิ์ ยิ้มเกิด
โฆษณา