7 มี.ค. 2020 เวลา 12:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เครื่องมือที่บริษัทจดทะเบียนใช้สับขาหลอกนักลงทุน
คิดจะลงทุนหุ้น ไม่รู้ไม่ได้!
1
ในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นนั้นเคยมีกลโกงเกิดขึ้นมากมาย
อย่างในช่วงแรกๆที่ประเทศใดตลาดหุ้นเกิดขึ้น ก็มักจะเป็นช่องทางในการหลอกลวง หรือที่เรียกกันว่า แชร์ลูกโซ่นั่นเอง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป วิวัฒนาการของตลาดหุ้น ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุนของประชาชนได้พัฒนาตามไปด้วย
กลโกงยุคหลังนี้จึงต้องมีความแยบยลตามประชาชนที่หลอกยากขึ้น
ต้องบอกก่อนว่าสิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ไม่ใช่กลโกงหรือการหลอกลวงเสียทีเดียว แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือดูผิวเผินมองผิดได้
และสิ่งที่ผมจะพูดถึง คือ Perpetual Bond ชื่อภาษาไทยในทางบัญชีจะเรียกว่า หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน
หรือภาษาบ้านๆจะถูกเรียกว่า หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ หรือ หุ้นกู้ตลอดชาติ นั่นเอง
Perpetual Bond คือ หุ้นกู้ที่มีลักษณะกึ่งเจ้าหนี้และกึ่งผู้ถือหุ้น
โดยปกติแล้วถ้าบริษัทเกิดต้องเลิกกิจการไป บริษัทจะต้องทำการขายทรัพย์สินทั้งหมดทอดตลาดเพื่อนำมาชำระเงินคืนตามลำดับ
โดยลำดับในการได้รับเงินคืนจะเป็นเจ้าหนี้อย่างหุ้นกู้มีประกัน, หุ้นกู้ด้อยสิทธิ, หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ที่มีลักษณะคล้ายทุน, ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ แล้วจึงเป็นผู้ถือหุ้นสามัญ
ด้วยความที่อยู่ตรงกลางระหว่างเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น ความเสี่ยงที่สูงขึ้นจึงทำให้ Perpetual Bond ได้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นกู้ทั่วไป
แต่ผลตอบแทนที่มากขึ้นนี้ยังมีความเสี่ยง อื่นๆอีก อย่างเช่น
ไม่มีกำหนดชำระคืนเงินต้น เพราะไม่มีอายุสัญญาระบุ จึงจะได้รับเงินคืนต่อเมื่อบริษัททำการไถ่ถอนหุ้นกู้คืน(หากมีระบุไว้ในสัญญา) หรือเลิกกิจการ
ถ้าในมุมกลับจะเสมือนว่าบริษัทได้สร้างหนี้ที่มีผลไปตลอดกาลนั่นเอง
บริษัทสามารถเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้ โดยบริษัทผู้ออกสามารถเลือกวันกำหนดชำระได้ และยังสามารถเลือกแบ่งจ่ายกี่งวดก็ได้ แต่เงินส่วนที่ไม่ได้ทำการจ่ายในปีนั้นๆจะไม่หายไปไหน จะถูกบันทึกในดอกเบี้ยสะสมแทน
บริษัทสามารถไม่ชำระดอกเบี้ยได้หาก บริษัทผิดนัดชำระหุ้นกู้อื่นๆ หรือ บริษัทไม่ทำการจ่ายปันผลในปีนั้น โดยผู้ถือ Perpetual Bond จะไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆในทั้ง 2 กรณีนี้
หลังจากเข้าใจแล้วว่า Perpetual Bond คืออะไร มีลักษณะยังไง ต่อไปเรามาดูกันว่าบริษัททำให้นักลงทุนมองผิดพลาดได้อย่างไร?
ถ้าพูดถึงอัตราส่วนยอดนิยมที่นักลงทุนใช้ประเมินความเสี่ยงคงหนีไม่พ้น อัตราส่วน หนี้สินต่อทุน หรือ D/E Ratio
ด้วยความที่ Perpetual Bond จะถูกบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น แทนที่จะเป็นหนี้สิน ใน 5 ปีแรกของการออกหุ้นกู้ชนิดนี้
บริษัทจึงใช้วิธีนี้ในการทำให้ D/E ของบริษัทดูตำกว่าความเป็นจริง
ยกตัวอย่างบริษัทที่มีการออก Perpetual Bond เช่น ANAN, CPALL, CPF, IVL, MINT, PF, PTTEP และ TTCL
1
และ ยังมีบริษัทที่มีแผนเตรียมออกหุ้นกู้ชนิดนี้อย่าง BCP, BGRIM และ TU
1
เราลองมาดูตัวอย่างกันว่า D/E ที่ถูกบิดเบือนนั้น ต่างจาก D/E ที่แท้จริงขนาดไหน
1
ANAN : D/E ใน set.or.th 1.82
D/E ที่แท้จริง 2.91
MINT : D/E ใน set.or.th 2.23
D/E ที่แท้จริง 3.09
PTTEP: D/E ใน set.or.th 0.87
D/E ที่แท้จริง 0.90
1
สังเกตว่าบางบริษัทหนี้มีผลมากมหาศาล แต่บางบริษัทเนื่องจากมีการทยอยชำระคืนหุ้นกู้ชนิดนี้จึงส่งผลไม่มาก
และเหตุผลที่บางบริษัททยอยชำระคืนหุ้นกู้ชนิดนี้เนื่องจากมีแนวโน้มที่มาตรฐานบัญชีใหม่ TAS32 จะทำให้หุ้นกู้ชนิดนี้ต้องเปลี่ยนมาบันทึกในช่องหนี้สินแทนก่อนถึงกำหนด 5 ปี
1
ต้องรอติดตามกันต่อไปนะครับ ว่าถ้าเกิดมาตรฐานทางบัญชีแบบใหม่ถูกบังคับใช้ บริษัทที่ใช้วิธีนี้ในการหลอก D/E Ratio จะมีมูลค่าลดลงไปเท่าไหร่
1
The Owner ลงทุนหุ้นอย่างเจ้าของกิจการ
สนับสนุนให้ทุกท่านลงทุนอย่าง รู้จริง ปลอดภัย และ ยั่งยืน
1
Reference
งบการเงินบริษัทที่มีการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ที่มีลักษณะคล้ายทุน
1
โฆษณา