11 มี.ค. 2020 เวลา 12:40 • ธุรกิจ
เหตุผลสำคัญที่ต้องขายเทสโก้โลตัส เป็นมุมมองที่ไม่เคยพบจากที่ใดมาก่อน⚡⚡⚡
เทสโก้โลตัส ชื่อนี้มีในประเทศไทย🇹🇭เท่านั้น ส่วนเทสโก้มีในหลายประเทศรวมถึงประเทศมาเลย์เซียด้วย แต่ห้างโลตัสซูปเปอร์สโตร์ ปัจจุบันก็เห็นมีที่ประเทศจีน🇨🇳
"หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำเงินได้ดี เป็นเราเราจะขายไหม" แล้วถ้าหากขายเพราะว่าไม่มีปัญหาอะไร "จะขายไปเพื่ออะไร" นี่คือคำถามแบบพื้นๆไม่ได้ซับซ้อนอะไร🙄🙄🙄
เหตุผลในการขายในครั้งนี้คืออะไร ลองมาดูในมุมของ "ยุคใหม่ฯ" กันว่ามองเห็นอะไรที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งต้องออกตัวก่อนว่าไม่รวมปัจจัยที่นอกเหนือจากเรื่องปกติทั่วไป ที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องนั้นใด้🙁
หากเราต้องการรู้ว่าบริษัทหรือองค์กรนั้นเป็นเช่นไร ลองดูที่เจ้าของหรือผู้บริหารเป็นคนชาติอะไร
ถ้าเป็นคนไทย🇹🇭ก็จะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่มีปากมีเสียง คนญี่ปุ่น🇯🇵ก็จะมุ่งมั่นทุ่มเทสุด คนจีน🇨🇳ก็จะโผงผาง คนอินเดีย🇮🇳ก็จะเป็นคนที่เราต้องทำใจเมื่อเขารับปาก หรือคนฝรั่งเศส🇫🇷ก็ดูจะจริงจัง เป็นต้น
เทสโก้โลตัส เป็นของประเทศอังกฤษ🇬🇧 ที่เราจะคงเคยได้ยินว่าเป็นเมืองผู้ดี ที่ไม่ชอบความก้าวร้าว นั่นเป็นมุมปกติที่เห็นทั่วไป แต่ในการบริหารและการทำงานสิ่งที่ซ่อนอยู่ใน DNA หรือ Gene ของคนในประเทศนี้คือการทำให้เกิดการแบ่งพวก เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง และการที่ให้สิทธิ์คนของตนเองแบบพิเศษสุดๆ
นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องขายเทสโก้โลตัสออกไป
มาดูกันว่าข้อมูลข้างต้นจะเกี่ยวข้องอย่างไร
ที่มา: Medicine.swu.ac.th
สิ่งที่ผู้บริหารทำคือการสร้าง KPIs (Key Performance Indicators) เพื่อวัดผลของแต่ละฝ่าย ซึ่งในนั้นจะต้องมีเนื้องานที่สร้างให้เกิดความขัดเเย้งระหว่างหน่วยงาน เช่น แผนกขนส่งมี KPIs ในการลดค่าใช้จ่ายและส่งตรงเวลา ฝ่ายบริหารหน้าร้านมี KPIs ในการลดการสูญเสีย
หน้าร้านต้องการของเข้าทีละน้อยแต่ถี่ ส่วนฝ่ายขนส่งต้องการส่งสินค้าให้มากที่สุดเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย เท่านี้ความขัดเเย้งก็เกิดขึ้นแล้ว🚛🚚
แต่ที่สำคัญกว่าคือการสร้างความอึดอัดและเจ็บปวดให้กับคู่ค้าเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน รวมถึงคนไทยที่ปฏิบัติงาน เพราะผู้บริหารระดับสูงเกือบทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติที่มาจากอังกฤษและยุโรป จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาบริหารช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 3-5 ปี แล้วก็ย้ายประเทศ
คนเหล่านี้ต่างก็จำเป็นต้องสร้างผลงานให้ผู้บริหารระดับสูงเห็น ซึ่งผลงานก็จะไม่ได้คำนึงภึงผลกระทบระยะยาว เห็นอะไรว่าสร้างผลงานได้ก็จะรีบสั่งการให้ทำเลย ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ทำงานแบบเร่งด่วนเป็นหลัก (Ad-Hoc)
ที่มา: Money2know
ผลงานที่ออกมาคือทำให้ทุกคนต้องพะวงกับงานที่ไม่รู้ว่าคืออะไร ในขณะที่งานเดิมที่สั่งการมาจากผู้บริหารคนเดิมก็ยังคงทำต่ออยู่ แต่งานใหม่ก็ต้องทำ ซ้ำร้ายบางครั้งไปทำให้คู่ค้าเดิมที่ทำงานด้วยเสียหายไปเป็นจำนวนมาก
ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ วัฒนธรรมองค์กรเป็นแบบลูบหน้าปะจมูก คนที่ทำงานเร่งด่วนแล้วเห็นผลงานเลยจะได้รับการยอมรับและสนับสนุน โดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเลย
แน่นอนว่าผลกระทบในอนาคตคือความเชื่อถือจากคู่ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง หากจะต้องทำงานร่วมกับผู้บริหารแต่ละคน จะพบว่าถ้าปฏิเสธิ์ได้ก็จะทำหรือถ้าทำต้นทุนก็สูง
ทุกผ่ายในองค์กรต่างก็ตั้งเงื่อนใขของตนเองขึ้นมา ทำให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน จนทำงานแทบไม่ได้เลย เพราะทุกคนกลัวความรับผิดชอบ
เหล่านี้เป็นสนิมเนื้อในที่เกาะกินเทสโก้โลตัสมายาวนานตั้งแต่เทสโก้เข้ามาบริหาร จนยากที่จะกอบกู้ได้ การทำกำไรแต่ละหน่วยเกิดขึ้นได้ยากมาก ใครที่เน้นในการสร้างผลตอบแทนให้องค์กรแต่อาจจะทำให้ KPIs ตนเองตกลง ก็จะกลายเป็นผู้ร้ายทันที
"เรื่องนี้เหมือนจะซับซ้อนแก้ไขได้ยาก แต่ที่จริงแล้วแก้ไขได้ง่ายมาก"
แต่เป็นเพราะว่าคนที่แก้ไขได้เขาไม่ได้คิดจะแก้ไข เพราะมองผลลัพธ์ระยะสั้น อีกอย่างคือเขาเหล่านั้นต่างคลุกอยู่ในบ่อโคลน การมองเห็นมุมต่างมีข้อจำกัด แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารมาหลายคน ผลลัพธ์ก็ยังเป็นไปในทางเดิม
การแก้ไขนี้เพียงแต่สร้างวัฒนธรรมที่ยึดมั่นผลประโยชน์ส่วนรวมหรือเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กร หรือจะใช้วิธีการง่ายๆคือ ชนะทุกฝ่าย (Win All) วิธีการที่ออกมาจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนจะไม่ไกลเกินเอื้อมเลย
ที่มา: 123rf.com
แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร มีการซื้อขายผ่านออนไลน์มากขึ้น รูปแบบเศรษฐกิจจะเป็นแบบ Lazy Economy ก็จริง แต่พื้นฐานความต้องการของมนุษย์ก็ยังคงเดิม เปลี่ยนเพียงช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งมอบเท่านั้น สิ่งนี้ใครๆก็เจอ การปรับตัวก็เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำอยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่มีผลกับเทสโก้โลตัสเลย
ปัญหาที่แท้จริงของเทสโก้โลตัสที่จำเป็นต้องขายคือ ศักยภาพขององค์กรที่จะทำกำไรได้ มีทิศทางที่ต่ำลง สาเหตุมาจากวัฒนธรรมองค์กรและวิธีคิดของผู้บริหารระดับสูงนั่นเอง
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา