21 มี.ค. 2020 เวลา 03:05 • ธุรกิจ
9 มาตราการ ที่องค์กร ควรดำเนินการ “ทันที” เพื่ออยู่รอด ในวิกฤต COVID-19
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่วัน การระบาดส่วนใหญ่ที่จีน ถูกควบคุมได้
แต่ผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ลุกลาม ไปทั่วโลก นอกประเทศจีน ถึง 140 ประเทศ
วิกฤติ COVID-19 ได้มาถึงช่วงวิกฤตแล้ว ที่ระบบสาธารณสุขจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจาย กลายเป็นมหากาพย์ต่อไป
อ่านเพิ่มเติม ...
How long will it take for the U.S. coronavirus outbreak to start declining?
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จีงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และในไม่ช้า จะตัดสินว่า องค์กรไหน สามารถจัดการความท้าทายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่
หลายองค์กร ได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และหาวิธีการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่ หลายองค์กรยัง เพิกเฉย งงงวย ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะหวังว่า จะไม่กระทบกับ ธุรกิจของตน
วิกฤติ COVID-19 นี้ อาจจะกล่าวได้ว่า หนักหน่วง และวิกฤติ กว่าโรคระบาดทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่า SARS ไข้หวัดนก ฯลฯ
อย่าหวังว่า จะโชคดี จะไม่กระทบกับ ธุรกิจของตัวเอง เพราะอย่างไรก็ตาม หากพายุเข้า ทุกอย่างก็จะเปียก จะมากบ้าง หรือน้อยบ้าง ก็ตาม
การไม่เตรียมตัว คือ การเตรียมตัว สู่ความล้มเหลว (Fail to Prepare = Prepare to Fail)
9 มาตราการ รับมือ วิกฤติ COVID-19 มีดังนี้
1. ป้องกันพนักงาน (Protect Employee) ไว้ก่อน
หลายคนทักท้วงว่า หลักการตลาด ต้องคิดถึงลูกค้า เป็นอันดับแรก (Customer is King)
ซึ่งเป็นหลักการ ที่ถูกต้อง แต่ในช่วงวิกฤติ หากไม่ป้องกัน รักษาพนักงานไว้ก่อน ก็จะเกิดการขาดแคลนพนักงาน (Labor Shortage) แล้ว ใครจะไปผลิตสินค้า ขนส่งสินค้า รวมถึงการบริการลูกค้า
การป้องกันพนักงาน คือ ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อ โดย
- มีการประกาศ มีคู่มือ และการอบรม วิธีป้องกันตัวเอง ไม่ให้ติดเชื้อ
- มีการแจก อุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ฯลฯ
- นโยบายการเดินทาง มีความชัดเจนว่า พนักงานฝ่ายไหนบ้าง ที่สามารถเดินทางได้ ด้วยเหตุผลใด ที่จำเป็น เช่น พนักงานขาย ไปที่ไหนบ้าง ส่วนฝ่ายอื่นๆ ให้ระงับการเดินทาง เป็นต้น
- นโยบายการทำงานที่บ้าน อย่างชัดเจนว่า พนักงานคนไหน ฝ่ายไหนบ้าง จะสามารถทำงานที่บ้านได้ อย่างไร เมื่อใด และจะได้รับการตรวจสอบ อย่างไร หรือ จัดหาที่พัก ใกล้ที่ทำงานให้พนักงาน ฟรี
อ่านเพิ่มเติม ...
Communication guides for businesses
2. ช่วยเหลือลูกค้า (Customer Centric)
หลังจากที่องค์กรสามารถจะยืนหยัด รักษาสถานภาพทางธุรกิจได้แล้ว (มีคนทำงานเพียงพอ) ต้องคิดถึงลูกค้าว่า จะสามารถรักษา สถานภาพทางธุรกิจได้ หรือไม่ เพราะ ลูกค้า ก็จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเช่นกัน โดย
- แบ่งปันความรู้ ตามข้อ 1
- สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น
- ร่วมมือกันหาทางรักษา และพัฒนาธุรกิจ ต่อไป ไม่เช่นนั้น ลูกค้าก็จะตระหนก แล้วหยุดสั่งสินค้า (Cutting Down Inventory)
อ่านเพิ่มเติม ...
Roojai.com ส่งจดหมายยืนยันลูกค้า ประสิทธิภาพการบริการเต็มร้อย แม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ
#ปั๊มเชลล์ใจดี #พ่นฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 #ฟรี!
3. รักษาเสถียรภาพ ของห่วงโซ่อุปทาน (Stabilize Supply Chain)
ซัพพลายเออร์ ก็จะได้รับผลกระทบ วิกฤติ COVID-19 เช่นกัน
การทำงานกับ ซัพพลายเออร์ เพื่อช่วยเขาให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ พยายามรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทาน โดย
- แบ่งปันความรู้ ตามข้อ 1
- สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น
- แก้ปัญหาคอขวด ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยการใช้ ระดับคลังสินค้าที่ความปลอดภัย (Safety Stock) เตรียมแผน หากเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ การขนส่งล่าช้า
- ร่วมกันวางแผนแนวทางแก้ไขปัญหา (ที่อาจจะเกิดขึ้น) และสื่อสารแผนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
- สร้างแหล่งทางเลือก (Alternative Supplier -ระบบสำรอง) ไว้ หากเกิดปัญหา วัตถุดิบขาดแคลน หรือ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนการผลิต ระหว่างซัพพลายเออร์
4. สื่อสาร อย่างสม่ำเสมอ (Consistent Communication)
พนักงาน มีแนวโน้มที่จะได้รับข้อมูลที่ขัดแย้ง และสับสน จึงรู้สึกกังวล เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด คนส่วนใหญ่ ต้องการปกป้องตนเองและครอบครัว ก็จะจดจ่อ อยู่แต่หน้าจอ
องค์กร ควรช่วยแยกแยะให้ชัดเจนระหว่าง ข้อเท็จจริง (Fact) สมมติฐาน (Hypotheses) และการคาดเดา (Speculation)
ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจ และสื่อสารโดยทันที อย่างชัดเจน และอย่างสมเหตุผล อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ การสื่อสารข้อมูล และเหตุผลเบื้องหลัง นโยบายเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าใจตนเองได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสามารถริเริ่มวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และวิธีจัดการอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม ...
5. เป็นส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหาสังคม (Help Community)
องค์กร เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะพลเมือง องค์กรควรสนับสนุนผู้อื่นในห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรม และ ชุมชน
พิจารณาว่า ธุรกิจ สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การสื่อสาร มุ่งเน้นไปที่ความต้องการทางสังคม และความสามารถเฉพาะขององค์กร
การสนับสนุนลูกค้าคู่ค้า การดูแลสุขภาพและระบบสังคม ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากอาจสร้างความนิยมและความไว้วางใจที่ยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม ...
เอาขวดไปปั๊ม “บางจาก” บริการเติมแอลกอฮอล์เจล ฟรี! 196 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ -ปริมณฑล
ห่างกันสักพัก... สารพัดแบรนด์ดังไอเดียเก๋ ร่วมรณรงค์ Social Distancing ผ่านโลโก้
6. การติดตามและการคาดการณ์ทางธุรกิจ (Business tracking and forecasting)
วิกฤติจะสร้างความผันผวนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ องค์กรจึงควรสามารถเข้าใจว่า ธุรกิจ ได้รับผลกระทบ มีการบรรเทาผลกระทบ และวิธีการกู้คืนการดำเนินงานที่รวดเร็ว ด้วยการการบริหารกระแสเงินสดให้เพียงพอ (Ensure Sufficient Financial Liquidity)
การวิเคราะห์และการคาดการณ์ผลกระทบตลาดที่อาจเกิดขึ้น (Potential Market Impact)
ไม่เพียง แต่สำหรับการอัปเดตข้อมูล รายวัน ข่าวสารล่าสุด แต่ยังสำหรับการปรับมุมมอง โดยรวมด้านกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุนอย่างต่อเนื่อง และการบริโภค
ขณะเดียวกัน ควรระวังระบบราชการในองค์กรว่า “ไม่มีปัญหา” เพราะ COVID-19 มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่“ คลื่นลูกที่สอง” ในไตรมาสที่สาม ปีนี้เมื่อเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว และการติดเชื้อ อาจสูงกว่า ช่วงที่ 1
อ่านเพิ่มเติม ...
สามยุทธศาสตร์ชาติ ในการรับมือกับ COVID-19
7. ทบทวน สิ่งที่ได้เรียนรู้ (Evaluation & Learning)
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์สงบลง ไม่ควรเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่มีค่า ผลกระทบควรได้รับการบันทึกไว้เพื่อตรวจสอบในภายหลังและกลั่นบทเรียนที่ได้ เช่น จุดอ่อนขององค์กร ผู้นำ คู่มือ กระบวนการ ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มีแนวโน้มที่จะผิด หรือล้าสมัย หรือไม่
ระบบสามารถสร้างขึ้นใหม่ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและ เพื่อการพัฒนา – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในแง่ของโอกาสใหม่ปัญหาหรือข้อมูล การตอบสนองต่อวิกฤตการณ์แบบไดนามิก
วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่บทเรียนจำนวนมากจะได้รับการเรียนรู้
อ่านเพิ่มเติม ...
ไทยพาณิชย์ ออกแบบประกัน COVID-19 ตอบโจทย์ผู้บริโภค ยอดขายทะยานกว่าแสนกรมธรรม์ภายใน 2 สัปดาห์
8. เตรียมพร้อม สำหรับวิกฤติครั้งต่อไป
องค์กร มีคู่มือรับวิกฤติ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม โรคระบาด มีความพร้อม หรือไม่
พร้อมกับการรับมือโรคระบาดร้ายแรงครั้งถัดไป หรือไม่
การเตรียมการ และมีการซักซ้อม อย่างสม่ำเสมอ สำหรับวิกฤตครั้งต่อไป (หรือช่วงต่อไปของวิกฤตการณ์ปัจจุบัน) มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพมากกว่า การทำแบบตอบสนองต่อปฏิกิริยาเฉพาะหน้า (Ad Hoc) เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นจริง
9. เตรียมพร้อม สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลง
มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีที่ องค์กร ดำเนินธุรกิจ (Reframe Business) รูปแบบของการทำธุรกิจ (Business Model) ระบบห่วงโซ่อุปทาน ถือโอกาสปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization)
และจัดทัพใหม่เพื่อสู้วิกฤติครั้งนี้ และเตรียมพร้อมสำหรับการฟื้นฟูกิจการหลังจากผ่านวิกฤตินี้ไป เช่น
Work from Home, Online Learning, Shopping online, E-payment, สั่งอาหาร Delivery เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม ...
Sharp จะเปลี่ยนโรงงานผลิตหน้าจอมาผลิต ‘หน้ากากอนามัย”
โฆษณา