28 มี.ค. 2020 เวลา 11:01
อยากอ่านหนังสือให้ได้เยอะ ๆ
อยากทำงานให้ได้แยะ ๆ
แต่ทำไงดี สมาธิไม่มีเลย 🤔
pic : เป็นฉัน
👉 คนที่ทำงานได้เยอะ ทำงานได้รวดเร็ว ผลงานดีมีคุณภาพ เป็นเพราะเขาเก่ง เขามีพรสวรรค์อย่างนั้นเหรอ?!
มาไขความลับเขาเหล่านั้นกัน
👉 หากพูดถึงคำว่า “อำนาจจิต” คำว่า “พลังสมาธิ” จินตนาการแวบแรกในมโนภาพคือการนั่งหลับตาทำสมาธิใช่มั้ยล่ะ
👉 แต่วันนี้จะมาชวนทำความเข้าใจระบบกลไกของเจ้าที่มาของพลังสมาธิกันก่อน
👉 รู้หรือไม่ สมองกลีบหน้าของมนุษย์เรา มีหน้าที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ และยังมีความสามารถในการควบคุมความรู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์ของเราอีก หรือที่เรียกว่า “อำนาจจิต” เจ้านี่ล่ะที่เป็นจุดกำเนิดของ “พลังสมาธิ” ที่จะเป็นเสมือนพละกำลังที่ผลักดันให้เราสามารถคิดสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ออกมาได้
👉 หรือให้เห็นภาพชัด “อำนาจจิต” เปรียบเหมือนแบตเตอรี่ แบตอ่อนก็หมดแรง พลังสมาธิอ่อน พาลคิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ได้
แต่เมื่อแบตเต็ม สมาธิก็จดจ่อแน่วแน่ ทำอะไรก็ปัง
👉 เมื่อใช้พลังสมาธิมาก อำนาจจิตก็ลดมาก
พลังสมาธิไม่ได้หมดไปแต่กับการทำงานเท่านั้น
ทุกการตัดสินใจ ทุกการเลือกสรร
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสักแค่ไหน เช่น วันนี้จะใส่ชุดสีอะไรดี จะตอบอีเมลลูกค้าก่อนหรือเขียนงานก่อนดี ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่ใช้พลังสมาธิ ที่จะทำให้แบตของเราอ่อนลง ๆ
👉 แล้วเราจะชาร์จแบต จะเติมเต็มอำนาจจิตของเราอย่างไรล่ะ ให้เรามีพลังสมาธิคิดทำอะไรต่อมิอะไรให้ได้ดี
... นั่นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
🌿 1. ฝึกฝนเพิ่มอำนาจจิต มีสติกับสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น จะนั่ง/ยืนหลังตรงปรับบุคลิกภาพ เมื่อเผลอหลังค่อมเราจะเตือนสติตัวเอง เป็นต้น วิธีนี้จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้พลังสมาธิ (เหมือนการฝึกเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อร่างกาย)
🌿 2. ประหยัดอำนาจจิต
เคยมั้ยที่คิดจะทำแต่ไม่ทำสักที รู้สึกเหนื่อยกว่าทำจริง ๆ ซะอีก เช่น เย็นนี้จะออกกำลังกาย ถึงเวลาก็ไม่ทำไว้พรุ่งนี้ ๆๆ แต่กังวลและมุ่งมั่นที่อยากจะทำอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ลงมือ อันนี้เปลืองแบตมาก ๆ สูญเสียพลังสมาธิไปโดยไม่รู้ตัว
🌿 3. สร้างแผนการตัดสินใจ เอาสิ่งที่คิดอยู่ในสมอง เขียนลงในกระดาษหรือ To-do-list จัดหมวดหมู่ อะไรที่จัดการได้ทำให้เสร็จไปในคราวเดียว
อะไรที่ต้องมีระยะเวลา มีวันเวลากำกับไว้ แล้วจัดการตามนั้น
🌿 4. ฝึกการทำที่ต้องตัดสินใจให้เป็นกิจวัตร เช่น การตัดสินใจตอบอีเมลก่อนหรือเริ่มทำงานก่อนดี อาจกำหนดว่าเวลาตอบเมลคือบ่ายสามของทุกวัน หรือออกกำลังกายตอนเช้า วันละครึ่ง ชม. ทุกวัน
เมื่อเป็นกิจวัตรเหมือนการแปรงฟันตอนเช้า เราก็จะทำได้อัตโนมัติไม่ต้องตัดสินใจแล้ว
จากสมองกลีบหน้าจะเป็นหน้าที่ของสมองน้อยแทน ที่ไม่ต้องเปลืองพลังสมาธิอีกต่อไป
🌿 5. สลับโหมดการทำงาน
ตัดจบช่วงเวลาการทำงานสั้น ๆ เช่น 30 นาที ให้ได้เป้าหมายระยะสั้น แล้วลุกไปพัก อาจไปเข้าห้องน้ำ ไปดื่มกาแฟ พยายามไม่นึกถึงงาน (แต่ไม่ควรเข้า social ต่่าง ๆ เช่น FB) และระหว่างนั้นเราจะคิดถึงงานที่ยังค้างคาอยู่เอง แล้วอยากรีบกลับมาทำต่อ เป็นทฤษฎีพัฒนางานที่ช่วยกระตุ้นความคิด
🌿 6. ทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะบังคับ คือมีกำหนดระยะเวลาการเสร็จของงานนั้นให้ชัดเจน ไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่ในสภาวะอิสระ คือมีเวลาอีกเยอะ อีกนานกว่าจะส่งให้ลูกค้า/เจ้านาย หากเป็นอย่างนั้นเราจะสูญเสียพลังสมาธิไปกับการตัดสินใจในทางเลือกที่จะทำ ทางเลือกจะมาก เลือกไปเลือกมา พอสุดท้ายใกล้เวลาผลงานกลับออกมาคุณภาพไม่ดีเท่าตอนที่เราจำกัดเวลาตัวเอง ในเวลาที่มีขอบเขต พลังสมาธิเราจะเพิ่มขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น 2 - 3 เท่า
เช่น วันนี้จะต้องเลิกงาน 5 โมงเย็นให้ได้ จะไม่อยู่ล่วงเวลา (คืองานต้องเสร็จจึงจะได้กลับ) จะต่างกับการคิดว่าวันนี้ฉันไม่มีธุระอะไร นั่งทำงานต่อได้ยาว ๆ เป็นต้น
🌿 7. ปัจจัยแวดล้อม ทำให้พลังสมาธิเพิ่มขึ้นได้ สร้างสภาพแวดล้อมให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ เช่น เปิดหน้างานในโน้ตบุ้คพร้อมที่ต่องานได้ทันที
จัดมุม จัดสถานที่ให้เอื้อต่อการทำงาน
โดยเฉพาะช่วง work from home ดูเหมือนเวลาจะเยอะขึ้นแต่ระวังกับดักการสูญเสียพลังสมาธิไปแบบไม่รู้ตัวนะคะ
Reference :
Mentalist DaiGo
ดา เพจ 'เป็นฉัน'
ยินดีรับคำแนะนำและกำลังใจค่ะ ❤️
โฆษณา