29 มี.ค. 2020 เวลา 12:30 • ธุรกิจ
🔅แนวคิด Node Kitchen🔅
โครงการสร้างระบบเครือข่ายแบบกระจายของผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อยขนาดเล็ก (แบบคร่าว ๆ)
1
🔹ความเป็นมาของแนวคิด Node Kitchen🔹
การเติบโตของธุรกิจ Food Delivery ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2557 มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายให้การซื้ออาหารมารับประทาน
เมื่อจำนวนผู้สั่งมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการในการปรุงอาหารของร้านอาหารในรูปแบบเดิม ๆ กลายเป็นปัญหาคอขวด คือ
ร้านอาหารต้องปรุงอาหารให้กับลูกค้าที่อยู่ในร้านให้ทันไปพร้อมๆ กับต้องปรุงอาหารสำหรับ Food Delivery ด้วย
แน่นอนว่าจะเกิดความล่าช้าให้กับลูกค้าไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง
ซึ่งบางร้านก็เริ่มมีการปรับปรุงกระบวนการในการปรุงอาหารให้เร็วขึ้น
แต่เมื่อยอด Food Delivery ที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้คนขับที่มารอซื้ออาหารต่างต้องมารอเข้าคิวซื้อนานขึ้น ทำให้เกิดการยกเลิกคำสั่งจากลูกค้า เนื่องจากลูกค้าไม่สนใจว่าร้านนั้น ๆ มีคิวรอมากแค่ไหน แต่ในเมื่อมันใช้เวลานานเกินไป ก็ไม่มีใครสามารถรอได้ จึงสร้างความเสียหายให้แก่คนขับที่ไปซื้ออาหาร และบริษัทบริการรับ-ส่ง อย่างที่เคยตกเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ
จึงทำให้เกิดแนวคิดระบบเครือข่ายของการกระจายครัวสำหรับปรุงอาหารจากร้านที่มีชื่อเสียงให้ครอบคลุมในท้องที่นั้นๆ โดยผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเล็ก ที่ใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากใช้ครัวในบ้าน (ครัวปิด) หรือมีหน้าร้าน (ครัวเปิด) ทำให้ส่งอาหารได้รวดเร็วเสมือนเดินไปซื้ออาหารที่หน้าปากซอย หรือข้างบ้าน ขึ้นมา
โดยผมเรียกแนวคิดนี้ว่า “Node Kitchen”
1
🔹Node Kitchen คืออะไร🔹
แบบร่างแนวคิด Node Kitchen
* เนื่องจากภาพโครงสร้างของโปรเจคส่วนใหญ่เป็นความลับทางธุรกิจ ผมจึงนำมาลงไว้แค่แบบร่างเริ่มต้นนะครับ *
ระบบเครือข่ายแบบกระจายของผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อยขนาดเล็ก หรือ "Node Kitchen" เป็นระบบบริหารการคำสั่งซื้อของลูกค้า การจัดส่งอาหาร และกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดการในระบบแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ถูกย่อให้เล็กลง เพื่อให้มีการกระจายครัวปรุงอาหาร ในต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก และมีครัวที่ถูกทำให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ระบบนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความรวดเร็วในการสั่งซื้อและจัดส่งอาหาร ลดระยะทางและต้นทุนในการจัดส่งอาหารลง และสร้างงานให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจจะเปิดเป็นครัวเพื่อปรุงอาหารที่เป็นแฟรนไชส์ของร้านอาหารชื่อดัง สร้างเป็นอาชีพหรือเป็นรายได้เสริมได้
🔹แล้ว Cloud Kitchen ล่ะ แตกต่างจาก Node Kitchen ยังไง🔹
แนวคิดหลัก ๆ จะคล้ายๆ กันครับ แต่จะแตกต่างเรื่องการลงทุนในจุดต่าง ๆ ที่ทำเป็นครัวปรุงอาหาร และรูปแบบการเตรียมวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
"Cloud Kitchen" จะทำเสมือน Hub หรือพูดง่าย ๆ คือ ศูนย์อาหารที่ร้านค้าอาหารแบรนด์ต่าง ๆ ไปรวมอยู่ที่ ๆ เดียวกัน ถูกสร้างไว้ในพื้นที่ที่เจ้าของระบบไปสร้างตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อย่นระยะทางในการจัดส่ง และแก้ปัญหาคอขวดที่เกิดจากยอดคำสั่งซื้อจำนวนมากที่ไปออกันที่ร้านอาหารตามแบรนด์ต่าง ๆ
โดย "Cloud Kitchen" จะมีต้นทุนต่อสถานที่สูงมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ดิน และต้นทุนของสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นมาเป็น Hub รวมทั้งต้นทุนในการออกแบบและการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นอีกด้วย
ส่วน "Node Kitchen" จะเป็นการกระจายครัวออกเป็นส่วนเล็ก ๆ โดย
ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปจะมีการใช้ครัวภายในบ้านสำหรับปรุงอาหารส่งหรือในระบบเรียกว่า “ครัวปิด”
และเปิดเป็นร้านที่มีหน้าร้านขายเหมือนร้านขายอาหารทั่วไป หรือเรียกว่า “ครัวเปิด”
โดยครัวที่เป็น Node จะถูกตรวจสอบและทำการปรับปรุงให้เข้าหลักเกณฑ์ความสะอาดและความปลอดภัยก่อนที่จะได้รับสิทธิ์ในการเป็น Node
2
นอกนั้น ระบบโดยทั่วไปจะมีความคล้ายกันทั้งสองแบบ
แต่ในระยะยาว ครัวที่เป็นลักษณะ Node จะถูกกระจายออกไปครอบคลุมทั่วพื้นที่ โดยระบบจะลงทุนน้อยกว่า เนื่องจากใช้ทุนของผู้ที่ต้องการทำเป็น Node นั่นเอง
การที่ถูกทำให้กระจายออกเป็น Node แบบนี้ จะทำให้ลดระยะทางและค่าใช้จ่ายในการส่งอาหาร มีโอกาสเข้าใกล้ต้นทุนที่แท้จริงเข้าใกล้ 0 บาทมาก เหมือนมีร้านอาหารที่ชื่อดังอยู่หน้าปากซอย หรืออาจจะใกล้เพียงอยู่ข้างบ้านของผู้บริโภคเลยครับ
บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วมันต่างอะไรกับแฟรนไชส์อย่าง ชายสี่หมี่เกี๊ยว หรือก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นนายฮังเพ้ง
ผมจะขอตอบว่า ต่างกันตรงที่ คุณอาจจะมีชายสี่หมี่เกีียว หรือก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นนายฮังเพ้ง ในครัวของบ้านคุณเอง เพราะคุณก็สามารถเป็น Node ได้นะครับ
โดยการพัฒนาระบบที่เป็นแกนหลักของเครือข่ายนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 เฟส ในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2561-2563) ได้แก่
เฟสที่ 1 (ระหว่างปี พ.ศ. 2561-ต้นปี พ.ศ. 2563)
🔸ออกแบบและพัฒนาระบบปฏิบัติการที่บริหารเครือข่ายที่เป็นแกนหลักของระบบ
🔸พัฒนา Web App หน้าร้าน ระบบออเดอร์ ระบบบริหารหลังร้าน
🔸พัฒนา App ที่ทำหน้าที่เป็นหน้าออเดอร์สำหรับลูกค้า ใช้งานบน Smartphone และ Tablet
🔸พัฒนา App ที่ทำหน้าที่บริหารหลังร้าน ใช้งานบน Smartphone และ Tablet
🔸ทดสอบระบบกับผู้ประกอบการร้านอาหารหลักที่เป็นแบรนด์นำร่อง จำนวน 3 แบรนด์ โดยทำการช่วยปรับแต่งระบบบริหารร้านให้เข้ากับรูปแบบและวิธีการบริหารของผู้ประกอบการร้านอาหารหลักทั้ง 3 แบรนด์ และทำการโปรโมทแฟรนไชส์เพื่อขยาย Node แบบครัวปิด และครัวเปิด ให้ได้อย่างน้อย 10 Nodes
🔸ส่งเสริมให้ผู้ประกอบนำร่อง ทั้ง 3 แบรนด์ ทำการโปรโมทการใช้งานระบบนี้ให้แก่ลูกค้าตัวเอง ผ่านโปสเตอร์ที่ใส่ไปในถุงห่อกล่องบรรจุอาหารหรือพิมพ์ลงบนกล่องบรรจุอาหาร
เฟสที่ 2 (ภายในปี พ.ศ. 2563)
หลังจากการพัฒนาระบบเครือข่ายทั้งหมดเสร็จแล้ว และมีการเริ่มนำไปใช้กับผู้ประกอบการร้านอาหารหลัก 3 แบรนด์ที่ใช้เป็นแบรนด์นำร่องไปแล้ว 3 เดือน
หลังจากนั้นจะมีการทำประชาสัมพันธ์ โดยให้ฝ่ายการตลาดเข้าหาผู้ประกอบการร้านอาหารหลัก เพื่อแนะนำพวกเขาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ผ่านเครือข่ายนี้
โดยเข้าไปให้ความรู้ และปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เพื่อขยายจากธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการขยายสาขาด้วยทุนของตัวเองมาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์แบบ Node
และช่วยเหลือในเชิงการตลาดด้วยการสร้างแบรนด์ของตัวเองให้ด้วย
โดยตั้งเป้าไว้ที่ 100 แบรนด์หลัก ซึ่งครอบคลุมรายการอาหารให้ได้ประมาณ 200 รายการ และนำแบรนด์เหล่านี้ไปนำเสนอขายแฟรนไชส์ตาม Node ที่มีอยู่ในเครือข่ายนี้ และทยอยสร้าง Node ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ให้มีจำนวนครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด
ตอนนี้โครงการกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาไปแล้ว 72% ในเฟสแรก
ถ้าเพื่อน ๆ เห็นว่าโครงการนี้น่าสนใจและอยากสนับสนุน
โปรดติดต่อผมได้ โดยผ่าน
line id: sloth_holmes
ขอบคุณครับ
นายเฉื่อย
โฆษณา