29 มี.ค. 2020 เวลา 14:58 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พ่อหลวงกับบุคคลากรการแพทย์
มันเริ่มมาจากคลิปวีดีโอที่เด็กนานาชาติรู้สึกว่าจะเรียนออนไลน์ให้กำลังใจคุณหมอและทีมงานน่าชื่นใจนะครับ
และอีกคริปที่ประทับใจคือคนในเมืองหลวงที่อาศัยอยู่บนคอนโดปรบมือโห่ร้องให้กำลังคุณหมอและทีมงานสู้ๆต่อไปนะครับในสภาวะที่พวกท่านขาดผู้นำ
เพจนี้เป็นเพจเล็กๆที่ทำได้ก็คือข้อยกตัวอย่างในหลวงหรือพ่อของเราที่ท่านมีคุณูปการต่อวงการแพทย์ของไทยเรา
คนไทยจะไม่ทิ้งกันครับ
ไทยไม่ทิ้งไทยเราจึงเป็นไทมาตราบเท่าทุกวันนี้..
พวกเราทราบหรือไม่ว่า
ค่านิยมองค์กรสาธารณสุข คือคำว่า “MOPH”
M : Mastery เป็นนายตนเอง บุคลากรต้องมีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำที่ดี เอาชนะโลภ โกรธ หลงให้ได้
O : Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่ ทั้งนโยบาย นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
P : People centered approach ใส่ใจประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน และ
H : Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม โดยการปฏิบัติตัว และใช้คำพูดที่ดี เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ
ค่านิยมทั้ง 4 ข้อเป็นไปตามพระราชดำรัส
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อครั้งที่ ร. 9
ประทับรักษาพระอาการประชวร
ณ โรงพยาบาลศิริราช
ช่วงนั้นทรงทราบว่ามีปัญหา
คนไข้ฟ้องแพทย์มากขึ้น รับสั่งว่า
“ให้พวกเราอ่อนน้อมถ่อมตน
ทุกคนมีดีอย่าไปดูถูกใคร
ให้เกียรติต่อทุกคน
ไมตรีจิตก็จะเกิดขึ้น”
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2550-2554 และหัวหน้าคณะแพทย์ผู้ถวายงานครั้งที่ประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช
ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งว่า“ถ้าคิดว่าดี ทำต่อไป”
พระองค์ท่านเคยรับสั่งไว้ครั้งหนึ่งว่า
สุขภาพพลเรือนเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าพลเรือนมีสุขภาพที่เสื่อมโทรมประเทศชาติก็พัฒนาไม่ได้”
ดังนั้นหน้าที่ของศิริราชคือดูแลสุขภาพคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ด้อยโอกาส ตราบใดที่ศิริราชยังอยู่คู่แผ่นดินไทย ยืนยันว่าพระราชปณิธานตั้งแต่รัชกาลที่ 5 สืบทอดมายังรัชกาลที่ 9 จะสืบทอดต่อไปไม่เลือนหายไปจากสังคมไทย
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
“เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ภายหลังจากที่ทำพระทนต์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านรับสั่งถามว่า “เวลาที่พระองค์ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน มีทันตแพทย์มาช่วยกันแลดูรักษา แล้วราษฎรที่อยู่ห่างไกลความเจริญมีหมอช่วยดูแลรักษาหรือเปล่า”
- ศ. (พิเศษ) ทพ.ญ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานและทันตแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
วันหนึ่งเสด็จเยี่ยมราษฎรที่จังหวัดขอนแก่น
มีราษฎรคนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ร่างกายซูบผอม ไม่สบาย พระองค์ท่านรับสั่งถาม “เป็นอะไร ไม่สบายหรือ ? ”
ราษฎรผู้นั้นทูลตอบว่า “ไม่สบาย ฟันไม่มี กินอะไรไม่ได้” พระองค์ท่านจึงบอกว่า “ไปใส่ฟันซะ แล้วจะเคี้ยวอะไรได้ ร่างกายจะได้แข็งแรง”
ในปีต่อมาเมื่อพระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมราษฎรที่จังหวัดขอนแก่นอีกครั้ง ราษฎรผู้นั้นได้มาเฝ้าและทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 ว่า
“ไปใส่ฟันมาแล้วตามที่ในหลวงแนะนำ
ตอนนี้กินอะไรได้สบายแล้ว”
พระบรมราโชวาท
“การเข้าถึงประชาชน ท่านจะต้องช่วยบำบัดบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นท้องที่ใดและกาลเวลาใด ขอให้เตรียมใจให้พร้อมเพื่อปฏิบัติหน้าที่นี้ และจงเชื่อมั่นว่าการทำประโยชน์และความเจริญแก่ส่วนรวมนั้นย่อมเป็นประโยชน์และความเจริญของตนด้วยเสมอ..”
บทความพิเศษฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ของสำนักข่าวไทย ประจำวันที่ ๑๓, ๑๖ มิถุนายนและวันที่ ๒๖, ๒๗, ๒๙ พฤศจิกายน๒๕๓๙
“...การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
เป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้นโดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นผู้แต่งสร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ...”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2522
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ธ สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
#ใครอ่านถึงตรงนี้ จะเข้าใจได้แล้วว่า
บุคคลากรการแพทย์นั้นต้องเหนื่อย
หนักหนาสาหัสแค่ไหน เพื่อพวกเรา
#ทำไมพ่อหลวงถึงทุ่มทั้งใจเพื่อทำให้
ระบบสาธารณสุขของไทยดีขึ้นถึงทุกวันนี้
ด้วยความเคารพและห่วงใย
ขอมอบทุกกำลังใจที่มีอยู่ให้
บุคคลากรการแพทย์
พวกเรารู้ว่าพวกคุณเหนื่อยหนักหนา
เราจะไม่สร้างปัญหาให้แน่นอน
ฝันดีครับพี่น้องชาวไทย❤️
โฆษณา