15 เม.ย. 2020 เวลา 03:54 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์อาหารกระป๋องกับสงครามนโปเลียน
การถนอมอาหารเป็นเรื่องสำคัญมากๆ บรรพบุรุษเรารู้จักการตากแห้ง การรมควัน การใช้เกลือ ทำให้สะสมอาหารไว้ได้นานพอจนสามารถอยู่รอดผ่านฤดูแล้งและฤดูหนาวกันมมาได้ เป็นพันๆ ปี เรื่องพวกนี้ถือเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการมนุษย์ที่สำคัญมากพอ ๆ กับการที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูกเลยก็ว่าได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
อย่างไรก็ตาม วิธีการตากแห้ง รมควัน หรือใช้เกลือหมักดองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เนื่องจาก การใช้เกลือหมักดองนั้นก็ทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไป อาหารบางอย่างตากแห้งไม่ได้ และเอาเข้าจริงวิธีการพวกนี้ก็เก็บรักษาอาหารไม่ได้นานมากเท่าที่เราคาดหวัง ประเภทเป็นปีๆ ก็ยังกินได้ ซึ่งเรื่องแบบนี้อาหารกระป๋องทำได้ คือนอกจากจะเก็บได้นานสุดๆ แล้ว ยังสามารถนำอาหารเกือบทุกชนิดมาใส่กระป๋องได้อีกด้วย
ในปี 1974 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันทำการทดลองโดยนำอาหารกระป๋องอายุ109 ปี ที่ค้นพบในซากเรือขนสินค้าที่อับปางอยู่ในแม่น้ำมิสซูรี่ ซึ่งประกอบไปด้วยพีชกระป๋อง หอยกระป๋อง มะเขือเทศกระป๋อง นักวิทยาศาสตร์ทดสอบหาเชื้อโรคแล้วก็พบว่าอาหารกระป๋องอายุร้อยปีพวกนี้ ยังไม่เสียและสามารถใช้รับประทานได้!!! ถึงแม้ว่าสารอาหารและวิตามินจะเสื่อมสลายไปบ้างแล้วก็ตาม
จุดเริ่มต้นของอาหารกระป๋องนั้นต้องย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 ช่วงที่ยุโรปกำลังเกิดสงครามนโปเลียน ซึ่งก็คือสงครามระหว่างฝรั่งเศสที่นำโดยจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กับพันธมิตรชาติอื่นๆ ทั่วทั้งยุโรป เป็นมหาสงครามที่กินเวลายาวนานถึง12 ปีเลยทีเดียว
การสงครามสมัยโบราณในศตวรรษที่ 18 หรือ 19 เรื่องเสบียงสำคัญมาก อาจจะมากกว่าตอนรบกันจริงๆ เสียอีก เช่นกองทัพของนโปเลียน ยกทัพทีนึงก็ขนคนไปมากถึง3-4 แสนคน เพื่อพากันไปรุกรานประเทศอื่นที่อยู่ไกลสุดขอบทวีป เช่นรัสเซีย แล้วที่แย่ก็คือศัตรูที่ไปรุกรานก็มักจะใช้วิธีเผาไร่นาทิ้งก่อนที่จะล่าถอย เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายที่มารุกรานนำไปใช้ประโยชน์ได้ แถมพอบุกไปถึงที่มั่นแล้วก็ต้องปิดล้อมเมือง ปิดล้อมป้อมปราการ ของศัตรูอีก กินเวลาเป็นเดือนๆ ปีๆ เรียกได้ว่าเป็นงานออแกไนซ์ที่ต้องยิ่งใหญ่จัดเต็มมากจริงๆ ถึงจะหาอาหารให้คนสามสี่แสนคน ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากบ้านเป็นพัน ๆ กิโลเมตรได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในปีค.ศ. 1810 รัฐบาลของจักรพรรดินโปเลียน ณ ก็ปวดหัวมากกับปัญหาเรื่องเสบียงมาก จึงตั้งรางวัลขึ้นมา 12,000 ฟรังก์ ให้ใครก็ได้ที่สามารถคิดค้นวิธีแก้ปัญหาเรื่องเสบียงได้สำเร็จ
รางวัลก็ตกเป็นของคุณคนหนึ่งชื่อ นิโคล่า อัปแปร์ (Nicolas Appert) ซึ่งแกเป็นคนที่เคยมีอาชีพอันหลากหลาย รวมทั้งเคยเป็นพ่อครัวด้วย คุณอัปแปร์ได้ค้นพบว่า ถ้าเอาอาหารใส่ขวดโหล ปิดปากขวดด้วยจุกก๊อกให้สนิทแล้วซีลอีกรอบด้วยขี้ผึ้ง แล้วนำไปต้มในน้ำร้อนจนกว่าอาหารในขวดจะสุก วิธีนี้จะทำให้สามารถถนอมอาหารไว้ได้เป็นปี ๆ แต่อาหารจะเสียถ้าฝามีรอยรั่วให้อากาศเข้าไปได้
2
วิธีของอัปแปร์นั้นได้ผลเนื่องจาก ความร้อนทำให้เชื้อโรคตายหมด ส่วนการใส่ในภาชนะที่ปิดสนิท ก็ทำให้ไม่มีเชื้อทั้งแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ที่มากับอากาศเข้าไปได้ ในตอนนั้น จะเป็นนายอัปแปร์ หรือ นโปเลียน ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะอะไรมันถึงได้ผล เพราะกว่าที่มนุษย์เราจะรู้จักกับเชื้อโรคก็ต้องรออีกประมาณ50 ปี หลังจากนั้น เมื่อหมอที่ชื่อว่า หลุยส์ ปาสเตอร์ พิสูจน์และยืนยันได้ว่าเชื้อโรคมีอยู่จริง และจุลินทรีย์เป็นตัวการที่ทำให้อาหารเกิดการหมักหรือเน่าเสียได้
1
แต่อาหารขวดของนิโคล่า อัปแปร์ ช่วยกองทัพของนโปเลียนได้จริงหรือเปล่า? เราก็ไม่มีวันได้รู้ เพราะว่าอีกแค่ 2 ปีต่อมา ในปีค.ศ. 1812 นโปเลียนก็ถอนทัพกลับจากรัสเซียเพราะสู้ความหนาวเย็นไม่ไหว ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บัลลังก์ของนโปเลียนเริ่มพังลงมาและแพ้สงครามในที่สุด ไม่มีโอกาสให้อาหารใส่ขวดโหลของ นิโคล่า อัปแปร์ ได้โอกาสผลิตอย่างเต็มที่หรือพิสูจน์คุณค่าของตัวเองเลย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
2
ในปี 1813 ที่ประเทศอังกฤษก็มีการเปิดโรงงานอาหารกระป๋องขึ้นเป็นแห่งแรกในลอนดอน มีการนำดีบุกมาใช้แทนขวดแก้ว ซึ่งมีความทนทานกว่าและราคาถูกกว่า
แต่ด้วยความที่อาหารกระป๋องในยุคแรกผลิตได้ยาก ทุกอย่างต้องทำมือ กระป๋องแต่ละกระป๋องผลิตด้วยมือ แถมยังไม่มีหม้ออัดแรงดันระดับอุตสหกรรม กว่าจะเอากระป๋องไปผ่านความร้อนเสร็จก็ใช้เวลาตั้ง 6 ชม. ทำให้อาหารกระป๋องในยุคแรกๆ มีราคาแพง คนทั่วไปเข้าไม่ถึง ลูกค้ารายแรกๆ ก็คือกองทัพเรือของอังกฤษที่ลองสั่งมาเป็นเสบียงให้ลูกเรือ ได้แก่เนื้อวัว และ ถั่วกระป๋อง
**กว่าอาหารกระป๋องจะพัฒนามาเป็นอาหารที่ใครๆ ก็กินได้นี้ก็นานเหมือนกัน นานขนาดที่ว่า กว่าที่เปิดกระป๋องจะถูกคิดค้นขึ้นก็ปาเข้าไปค.ศ. 1855 หรือประมาณ 30 - 40 ปี หลังมีโรงงานอาหารกระป๋องโรงงานแรก ก่อนจะมีที่เปิดกระป๋อง คนที่จะกินก็ต้องใช้มีดที่แข็งแรงมากๆ** มีดที่เปิดได้ซึ่งก็คือมีดดาบปลายปืนนั่นแหละ มีดทำครัวเปิดไม่ไหว
**อีกสิ่งที่พลิกโลกของกระป๋องก็คือการผลิตโดยการปิดฝากระป๋องเข้ากับตัวกระป๋องด้วยกระบวนการ “ตะเข็บสองชั้น”(double seams) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในต้นปี ค.ศ. 1900 คือรีดเหล็กให้ติดกันโดยไม่ต้องเชื่อมเหล็ก** ทำให้การผลิตสามารถทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก ส่วนก่อนหน้านั้นกระป๋องถูกผลิตด้วยการเชื่อมเหล็กด้วยบัดกรีฝาเข้ากับกระป๋อง ทำให้มีสารตะกั่วตกค้างในอาหารเยอะมาก ไม่รู้ว่าคนสมัยนั้นกินเข้าไปได้อย่างไรเหมือนกัน?
**อาหารกระป๋องถึงจุดที่บูมที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 1 นี่เอง** เนื่องจากเป็นสงครามขนาดใหญ่ แต่ละประเทศต้องการเสบียงสำหรับทหารจำนวนมาก นอกจากเยอะแล้ว ยังต้องขนส่งง่ายและเก็บรักษาได้นานด้วย สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามสนามเพลาะ ซึ่งเป็นลักษณะการสู้รบที่ยืดเยื้อสุด ๆ ด้วย ทหารต้องอยู่กันในหลุมของสนามเพลาะเป็นเดือนเป็นปี จะมีอะไรเหมาะสำหรับกินมากไปกว่าอาหารกระป๋อง? อาหารกระป๋องจึงถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง และยังคงเป็นอาหารราคาถูกจนถึงปัจจุบัน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
**ตัวอย่างที่น่าสนใจของผู้ผลิตอาหารกระป๋องเลื่องชื่อก็คือประเทศโปรตุเกส ด้วยความที่ทำเลดีอยู่ติดมหาสมุทร ทำให้จับปลาซาร์ดีนได้มาก ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โปรตุเกสเป็นจึงกลายเป็นผู้ส่งออกอาหารกระป๋องอันดับต้นๆ ทุกวันนี้ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารโปรตุเกส กลายเป็นของฝากที่ขายอยู่เต็มไปหมด**
**ทุกวันนี้การถนอมอาหารในขวดแบบที่ นิโคล่า อัปแปร์ คิดค้นขึ้นมา ก็ยังแพร่หลายอยู่ ชาวตะวันตกยังคงทำอยู่ในครัวเรือน ที่เห็นบ่อยก็จะเป็นขวดที่เรียกว่า “เมสันจาร์” เก็บพวกซอสหรือผักต่างๆ** เช่นมะเขือเทศ หรือเก็บแตงกวาดอง แล้วเอาไปต้มน้ำเดือดอีกที และในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าวิธีการบรรจุกระป๋องตามชื่อของนาย นิโคล่า อัปแปร์ ผู้คิดค้น (Appertisation)
ประวัติศาสตร์อาหารกระป๋องกับสงครามนโปเลียน
โฆษณา