28 เม.ย. 2020 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
แผ่นดินไทยแตกเป็น 5 ก๊ก ตอนที่ 5
ว่าด้วยการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่ง
เมื่อเสร็จศึกทางภาคใต้ กรุงธนธนบุรี มีอาณาเขตครอบคลุมภูมิภาคตะวันออก ภาคใต้ ขึ้นเหนือไปจนชนแดนนครสวรรค์
เวลานั้น แผ่นดินสยามเหลือกองกำลังที่เข้าชิงแผ่น 2 ก๊ก คือ กรุงธนธนบุรี และ กองกำลังเจ้าพระฝาง
กล่าวถึง กองกำลังเจ้าพระฝาง พระพากุลเถระ (เรือน) มีศูนย์กลางอยู่เมืองสวางคบุรีมีอาณาเขตเหนือเมืองพิชัยขึ้นไปเมืองแพร่และเมืองน่าน
ภายหลังสามารถเข้ายึดดินแดนของ พระอินทร์อากร ที่ขึ้นเป็นเจ้าพิษณุโลกต่อจากพี่ชาย
จึงเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ
เจ้าพระฝาง เดิมเป็นพระสังฆราชาเจ้าคณะ จำวัดอยู่ที่วัดพระฝาง ณ เมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง)
หลังกรุงศรีอยุธยาแตก ท่านจึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ในสมณเพศ แต่ผู้คนก็พานับถือเรียกกันว่า เจ้าพระฝาง หรือ พระเจ้าฝาง เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประชุมหารือกับเหล่าขุนนางในการยกทัพขึ้นเหนือเพื่อรวมแผ่นดิน ข่าวจากภาคเหนือก็ส่งมาถึงกรุงธนบุรีว่า
เจ้าพระฝาง ส่งกำลังเข้ามาลาดตระเวนถึงเมืองอุทัยธานี เมืองชัยนาท เหมือนจะเข้ามาตีกรุงธนบุรี
1
ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า เจ้าพระฝางเองก็ต้องกำลังมากพอควร จึงคิดจะชิงยกทัพลงมาตีกรุงธนบุรีเช่นกัน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำริให้จัดเป็น 3 ทัพ
1
ทัพที่ 1 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นำทัพหลวงด้วงพระองค์เอง ถือพล 12,000 เสด็จโดยเรือ
ทัพที่ 2 นำทัพโดย พระยาอนุชิตราชา ( กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งแทน พระยายมราชที่ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชถึงอสัญกรรม ) ถือพล 5,000 ยกไปทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทัพที่ 3 นำทัพโดย พระยาพิไชยราชา ถือพล 5,000 ยกไปทางฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
รวมพลทั้ง 3 ทัพแล้ว มีกำลังพล 22,000 นาย
ซึ่งมากกว่าตอนที่ยกทัพขึ้นไปตีกองกำลังของเจ้าพิษณุโลกครั้งแรก ครั้งนั้นถือพลไม่เกิน 15,000 นาย
ฝ่ายเจ้าพระฝาง ได้ข่าวศึก จึงให้หลวงโกษา(ยัง) นายทหารที่มีฝีมือและเป็นผู้ต้านกองทัพกรุงธนบุรี คราวยกมาตีพิษณุโลกครั้งแรก
หลวงโกษา(ยัง) ตั้งทัพรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
ทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกมาถึงรับสั่งให้เข้าปล้นเมือง จะด้วยว่ากองกำลังของเจ้าพระฝางไม่เป็นใจสู้รบ หรือกองทัพของกรุงธนบุรีผ่านศึกมาเยอะ ทำให้ทัพกรุงธนบุรีเข้ายึดเมืองได้ในคืนนั้น
หลวงโกษา(ยัง) นำกำลังที่เหลือ ยกกลับเมืองสวางคบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งรอทัพอยู่พิษณุโลก 9 วัน รอทัพของ 2 พระยาตามมาสมทบ
1
เมื่อทั้ง 2 พระยาตามมาถึง ก็รับสั่งให้จัดทัพขึ้นไปตีเมืองสวางคบุรี พระองค์จะเสด็จตามไปขึ้นไป
เมื่อกองทัพกรุงธนบุรี ไปถึงเมืองสวางคบุรี ก็เข้าล้อมเมืองทุกทิศ พวกชาวเมืองเห็นกองทัพกรุงธนบุรีรบพุ่งเข้มแข็ง ก็ถอดใจ เจ้าพระฝางจึงเอาแต่รักษาเมืองตั้งมั่นไม่ออกรบ
ขณะนั้นช้างของเจ้าพระฝากตกลูกเป็นช้างเผือก เจ้าพระฝางคิดว่าช้างเผือกเกิดขณะข้าศึกล้อมเมือง เป็นมงคลแก่ข้าศึกก็ยิ่งท้อใจ
ต่อสู้ได้ 3 วัน ก็นำกำลังตีหักไปทางทิศเหนือ
กองทัพกรุงธนบุรีก็ไม่ได้ตามตี เพียงแต่นำช้างเผือกเข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แต่ศึกยังไม่จบแค่นี้
เจ้าพระฝางและพวกหนีขึ้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของ โปมะยุง่วน นายทัพพม่า
โปมะยุง่วน เห็นว่าได้กำลังจากเมืองสวางคบุรีมาเข้าร่วม จึงคิดจะขยายอาณาเขต
ยกทัพเข้าตีเมืองสวรรคโลก
ขณะนั้นพระพิไชยราชา รักษาเมืองอยู่แต่กำลังมีน้อย อาศัยกำแพงป้อมค่ายเมืองสวรรคโลก ตั้งรับศึกและส่งใบบอกไปเมืองใกล้เคียงส่งกำลังมาช่วยรบ
ทัพเมืองเชียงใหม่ที่ยกมา ก็เป็นคนพื้นเมือง ก็ไม่เต็มใจสู้รบ จึงได้แต่ตั้งล้อมเมืองไว้
ภายหลังทัพหนุนยกขึ้นมาตีกระหนาบ ก็ชนะศึกได้โดยง่าย ไม่ต้องให้ทัพจากกรุงธนบุรียกขึ้นมา
หลังจากนั้นก็ไม่ได้ยินข่าวคราวของเจ้าพระฝางอีกเลย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถรวบรวมแผ่นดินไทยให้กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้งได้สำเร็จ
สิ่งที่พระองค์ทำจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศชาติอย่างยิ่ง
จึงควรถูกยกย่องให้เป็น มหาราช
อ้างอิงจากหนังสือ พงศาวดาร ไทยรบพม่า
พระนิพนธ์ใน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านมาถึงตรงนี้
กดไลค์กดแชร์กดติดตามกัน เพื่อไม่พลาดตอนต่อไปกันนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา